21 ส.ค. 2023 เวลา 11:57 • ไลฟ์สไตล์

เราต่างมีฤดูกาลที่ผลิบานเป็นของตัวเอง🌻

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ที่ผ่านมานั้น เราได้ไปงาน คิมรันโด Talk ในหัวข้อ ‘เราต่างมีฤดูการที่ผลิบานเป็นของตัวเอง’
.
ก่อนอื่นต้องบอกว่าค่อนข้างดีใจมากๆ ที่ได้เจอกับคุณ คิมรันโด ถือว่าเป็นการได้เจอนักเขียนต่างชาติที่ชื่นชอบคนแรกเลยก็ว่าได้ และอีกอย่างเลยหนังสือเล่มแรกที่ได้อ่านคือ เพราะเป็นวันรุ่นจึงเจ็บปวด การได้อ่านเล่มแรกของคุณคิมรันโด หรือ อาจารย์คิมรันโด เขียนตั้งแต่ตอนนั้น(หลายปีก่อน)ถึงตอนนี้ต้องของคุณหนังสือของอาจารย์ ที่ทำให้เรากลายเป็นคนชอบและรู้สึกสนุกเวลาได้อ่านหนังสือ
.
อีกหนึ่งสิ่งที่ได้รู้เกี่ยวกับ จุดเริ่มต้นของการเขียนหนังสือ ‘เพราะเป็นวันรุ่นจึงเจ็บปวด’ ในตอนนั้นคุณคิมรันโด หรือ อาจารย์คิมรันโด ต่อจากนี้เราจะเรียกว่า อาจารย์แล้วกัน ซึ่งตอนนั้นอาจารย์ตั้งใจเขียนให้กับลูกชายของตัวเอง ที่กำลังจะเข้าเรียนมหาวิทยาลัย แต่ท้ายที่สุดหนังสือเล่มนี้ กลับเป็นหนังสือที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ทั้งขายดีและได้รับการแปลมากกว่า 10 ภาษา (ประมาณ 17 ภาษาได้)
.
เรามาเข้าสู่เนื้อหาที่อาจารย์ได้พูดไว้กันดีกว่า ในหัวข้อเราต่างมีฤดูการที่ผลิบานเป็นของตัวเอง ในส่วนนี้จะเป็นการบอกเล่า ตีความ หรือขยายความในแบบของเรา ตามที่เราได้เข้าใจและบางส่วนตัวเราเองก็มีความคิด รวมถึงมุมมองที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่อาจารย์ได้บรรยาย
.
มาเริ่มกันเลยดีกว่า… อะไรที่ทำให้สนุกมากที่สุด? คำตอบคือ ‘การเติบโต’ แล้วทำไมสิ่งนี้ถึงทำให้เราสนุกมากที่สุด หลายคนอาจจะเห็นต่าง ก่อนหน้านี้เราเองก็มองว่าความสนุกมาจากการ อ่านหนังสือ ดูซีรีส์ สังสรรค์ ฯลฯ ง่ายๆเลยเรามองว่าความสนุกมันก็ต้องเป้นการได้อะไรเล็กๆน้อยๆ ตามที่ชอบตามที่อยากทำสิมันถึงจะเป็นความสนุก
.
ซึ่งในส่วนนี้อาจารย์ก็ได้ยกตัวอย่างเหมือนกัน แต่ ‘ความสนุก’ ที่แท้จริงมันกลับเป็น ‘การเติบโต’ อาจจะยังเห็นภาพไม่ชัดเจน อาจารย์ยกตัวอย่างการเล่นเกม ใช่แล้ว เพราะอะไรน่ะเหรอการเติบโตถึงเหมือนกับการเล่นเกม เพราะว่าเกมมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของตัวละคร ฉาก ดนตรี ฯลฯ ซึ่งก็จริง
.
การจะประสบความสำเร็จ อาจารย์ได้ยกตัวอย่างระหว่าง บันไดเลื่อน และ บันปกติ เปรียบเทียบให้เห็นว่าบันไดเลื่อน เป็นเส้นทางสู่อาชีพที่ผู้คนสนใจ-ได้รับความนิยมในช่วงเวลานั้น แต่บันไดปกตินั้นคือการที่เรา ได้เลือกทำอาซีพที่เราสนใจจริงๆ ไม่ใช่ทำเพราะกระแสหรือความต้องการของคนอื่น(ครอบครัว/สังคม) การจะประสบความสำเร็จนั้นคือ การค่อยๆทำทีละขั้นตอน หรือก้าวไปทีละก้าว
.
อย่าทำตัวเป็นเป็ด เชื่อว่าหลายๆคนก็เป็นแบบนี้ เราเองก็เคยมีช่วงที่เป็นเป็ดเหมือนกัน หรือบางคนอาจจะตั้งคำถามว่า “อ้าว… ก็ยังไม่รู้นี่ว่าชอบอะไร” “เป็นอย่างงี่ก็แย่แล้วดิ” แล้วจะทำยังไง? ต้องสร้างแบรนด์ให้ตัวเอง สร้างสิ่งที่เป็นตัวเอง(ก็สิ่งที่ชอบนั้นแหละ) และต้องเป็นสิ่งที่มีเราที่ทำได้-ทำได้ดี เป็ดอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบกก็จริง แต่หากต้องทำอะไรที่โดดเด่น เช่น บินอยู่บนฟ้า เป็ดทำไม่ได้ แต่ ‘เหยี่ยว’ ทำได้
.
ใครจะเป็นตัวอย่าง หรือ เป็นครูที่ดีให้กับเราได้? คำตอบนั้นคือ… คนในกระจก นั้นสิเนอะ อันนี้เราว่าก็จริงอย่างคำตอบของอาจารย์ เพราะตัวเราเองเชื่อว่าประสบการณ์ของคนอื่น ไม่ได้เป็นตัวอย่างหรือสอนเราได้ตลอดเวลา บางอย่างหรือหลายอย่าง เราจำเป็นต้องเรียนรู้จากตัวเอง จากสิ่งที่เคยทำพลาดทำสำเร็จในอดีต มาปรับใช้กับช่วงเวลาในปัจจุบัน
.
ถ้าเป็นคนที่ทำอะไรแล้วยังไม่สำเร็จ อย่าเพิ่งหมดกำลังใจหรือหมดแรงที่จะทำต่อ ดูอย่าง ‘ต้นไผ่ (hairy Bamboo)’ เป็นไผ่ที่ใช้เวลา 5 ปี กว่าจะเติบโตและสูงได้ถึง 25 เมตร ช้าก่อน… รู้ไหมว่าไผ่ชนิดนี้ 4 ปี แรกนั้นเป็นแค่ ‘ต้นอ่อน’ ซึ่งนานมากๆ แต่ว่า เมื่อเข้าสู่ปีที่ 5 มันกลับเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
.
อาจารย์ได้บอกไว้ประมาณว่า ให้มองชีวิตในช่วงแรกที่กำลังทำสิ่งหนึ่งเพื่อความสำเร็จ เหมือนกับไผ่ชนิดนี้ เราไม่จำเป็นต้องเร่งรีบตลอดเวลา เราช้าบางก็ได้ เมื่อถีงเวลาที่ใช้หรือเราเข้าสู่ปีที่ 5 หรืออาจเร็วกว่า ชีวิตส่วนตัว หน้าที่การงาน ฯลฯ จะเติบโตอย่างสูงส่งและสง่างาม ไม่ต่างจากไผ่ชนิดนี้
.
อีกหนึ่งตัวอย่างที่เปรียบการไปสู่ความสำเร็จนั้นคือ เรือกระดาษ กับ ลูกธนู เราว่าเห็นภาพได้ชัดเจนเลยนะ ลูกธนูเมื่อถูกยิงออกจากคันธนูแล้ว มันจะพุ่งไปที่เป้าอย่างรวดเร็ว แต่ในทางกลับกันเรือกระดาษนั้น จำเป็นต้องใช้เวลามากกว่าจะไปถึงอีกฝากฝั่งได้
.
การเดินทางสู่ความสำเร็จเร็วก็เป็นสิ่งที่ดีแหละว่าไม่ได้ แต่มันย่อมมีข้อเสีย ใช่แล้ว ข้อเสียของลูกธนูคือเราไม่ได้เรียนรู้อะไรระหว่างทาง ลูกธนูมันพุ่งเข้าเป้ารวดเร็ว นั้นเท่ากับว่าเราจะโฟกัสแต่ความสำเร็จ ต้องทำให้สำเร็จ โดยลืมๆการเก็บเกี่ยวข้อมูลหรือประสบการณ์ระหว่างทาง ลูกธนูให้สิ่งนี้กับเราไม่ได้แต่… เรือกระดาษให้เราได้ เราลองทำอะไรแบบค่อยเป็นค่อยไป เหมืรอเรือกระดาษที่มันค่อยๆลอยโครงเครงไปอีกฝากดูสิ
.
“Better me tomorrow” สิ่งที่อาจารย์ทิ้งท้ายเอาไว้ก่อนจบการบรรยาย นั้นสิ เราไม่ต้องเก่งที่สุดหรือเก่งกว่าคนอื่นก็ได้นิ เราแค่เก่งกว่าตัวเองในเมื่อวานก็พอแล้ว
โฆษณา