21 ส.ค. 2023 เวลา 14:15 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

แบคทีเรียเข้ามาอยู่ในตัวเราตอนไหน?

เราต่างรู้กันดีว่าในลำไส้ของเราจำเป็นต้องพึ่งพาแบคทีเรียในการย่อยอาหารบางประเภทที่ร่างกายทำหน้าที่แทนไม่ได้ แต่คำภามที่น่าสนใจคือแล้วแบคทีเรียผู้พิทักษ์เหล่านี้เข้ามาอยู่ในลำไส้ ในร่างกายของเราได้อย่างไรกัน?
คำตอบก็คือจาก ‘แม่’ ของเรานั้นเอง เมื่อเริ่มท้องเชื้อในลำไส้ของแม่ก็จะค่อยๆ เกิดการเปลี่ยนแปลง นักวิทยาศาสตร์พบว่าคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์มีลักษณะของการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศแบคทีเรียไปในทิศทางเดียวกันการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญเพื่อรองรับการคลอดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่เพียงแต่ระบบนิเวศในลำไส้ของแม่เท่านัั้นที่เปลี่ยนแปลงแต่ยังรวมไปถึงแบคทีเรียในช่องคลอดของแม่อีกด้วย
เมื่อคุณแม่เริ่มมีขนาดท้องที่โตขึ้นเข้าเดือนที่ 4 จะมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนส่งผลทำให้มีสารจำพวกน้ำตาลมากขึ้นนำไปสู่การเพิ่มจำนวนของ Lactobacillus ซึ่งถือเป็นแบคทีเรียองครักษ์พิทักษ์ช่องคลอดที่จะปกป้องไม่ให้แบคทีเรียอื่นๆเข้ามารุกราน Lactobacillus นี้เมื่อย่อยน้ำตาลแล้วจะได้สารที่เป็นกรดออกมาทำให้เชื้อแบคทีเรียอื่นๆที่ไม่สามารถทนกรดได้ล้มหายตายจากไปหรืออพยพย้ายถิ่นฐานไปค่ะ
1
และสิ่งที่น่าสนใจคือแบคทีเรียที่ทนกรดไม่ได้เหล่านั้นอาจมีอันตรายต่อทารกในครรภ์ขณะคลอด เช่น แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคหนองในที่อาจทำให้เด็กตาอักเสบหรือตาบอด นั่นอาจเป็นเหคุผลที่ว่าทำไมเด็กที่คลอดโดยธรรมชาติ (ผ่านช่องคลอด) กับเด็กที่ผ่าคลอด (คุณแม่โดนกรีดท้อง) อาจมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคแตกต่างกันก็เป็นได้เนื่องจากเด็กที่คลอดธรรมชาติจะได้รับแบคทีเรียจากแม่ไปเต็มๆ
เมื่อคุณแม่เจ็บท้องคลอด ฮอร์โมนจะไปกระตุ้นให้มดลูกบีบตัวแล้วส่งผลทำให้ลำไส้บีบตัวไปด้วย มักทำให้มีกากใยอาหารจากลำไส้ใหญ่ปนเปื้อนมาด้วยเล็กน้อย ร่างกายของเจ้าทารกน้อยจึงถูกเคลือบไปด้วยแบคทีเรียจากช่องคลอดและแบคทีเรียจากทางเดินอาหารของแม่ แล้วถ้าเราลองมาคิดกันต่ออีกสักนิดต่อยอดจากบทความที่แล้ว
ประชากรแบคทีเรียในลำไส้หรือทางเดินอาหารของเรามีส่วนช่วยให้เราชอบอาหารสุขภาพดี พืช ผักหรือ รักการขบเคี้ยวเฟรนฟรายอาหารไขมันสูง ถ้าเป็นแบบนั้นก็แสดงว่าการมีประชากรแบคทีเรียที่ดีได้อาจขึ้นอยู่กับการเลือกรับประทานอาหารของคุณแม่ในขณะตั้งครรภ์ด้วยก็เป็นได้
มาถึงตรงนี้พอจะเข้าใจแล้วใช่ไหมคะว่าแบคทีเรียเข้ามาอยู่ในตัวเราได้อย่างไรบ้าง แต่ผู้พิทักษ์เหล่านี้ยังไม่หมดหน้าที่และยังมีแบคทีเรียชนิดอื่นๆ อีกที่คอยปกป้องพวกเราในส่วนที่คุณแม่ทำไม่ได้ ในตอนถัดไปเราจะพูดถึงพวกตัวจิ๋วเหล่านั้น การดูดน้ำนมและการคัดเลือกแบคทีเรียเข้าร่างกายผ่านการหายใจครั้งแรก ใน ‘แบคทีเรียเข้ามาอยู่ในตัวเราตอนไหน Ep.2’ ฝากติดตามด้วยนะคะ
1
ของคุณหนังสือดีๆ : Microbiota อวัยวะที่ถูกลืม โดย หมอผิง และเพื่อนเก่าที่หายสาบสูญ โดย นพ.ชัชพล เกียรติขจรธาดา
โฆษณา