22 ส.ค. 2023 เวลา 04:24 • ครอบครัว & เด็ก

📌ไซโคพาธ (Psychopaths) บุคลิกภาพผิดปกติ

ไซโคพาธนั้นอาจจะเป็นคำที่พวกเราไม่คุ้นชินหรือรู้จักซักเท่าไหร่ แต่เมื่อไม่นานมานี้ คำ ๆ นี้ได้นำมาใช้ในสื่อมากยิ่งขึ้น เมื่อมีข่าวสะเทือนขวัญเกี่ยวกับการฆาตกรรมต่าง ๆ เราได้เห็นการวิเคราะห์อาการนี้จากหลากหลายนักวิชาการถึงความสำคัญในการให้ความเข้าใจ และรับมือกับอาการรูปแบบนี้
จากเว็บไซต์ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขของไทย ระบุว่าไซโคพาธ (Psychopaths) เป็นบุคคลที่มีอาการของโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder) ขาดความเห็นใจจากผู้อื่น ไม่สำนึกผิด ไม่เกรงกลัวต่อความผิด
ในบางครั้งผู้ปกครองหลายคนมักจะตั้งคำถามว่า การที่เด็กไม่สำนึกผิด หรือไม่เห็นอกเห็นใจนั้น อาจเป็นสัญญาณของปัญหาที่จะตามมาหรือเปล่า แต่ไม่มีผู้ปกครองคนไหนอยากจินตนาการว่าลูกของพวกเขาเป็นไซโคพาธ แน่นอนว่าผู้ปกครองหลายท่านคงอยากทราบถึงสาเหตุที่ทำให้ลูกของเราเป็นไซโคพาธ
👉วันนี้เราจะมาทำความรู้จัก ข้อสังเกต และแนะนำวิธีการรับมือเมื่อพบว่าลูกของท่านเป็นไซโคพาธ
🔸หลัก ๆ แล้วไซโคพาธนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จาก 3 สาเหตุ ดังนี้
1. เกิดจากพันธุกรรม ซึ่งทุกคนมีโอกาสเป็นได้
2. เกิดจากการเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อมของสังคม การเลี้ยงดูในวัยเด็กจะเป็นสิ่งกระตุ้นพันธุกรรมนี้ให้เกิดขึ้นได้ มากไปกว่านั้น หากบุคคลนั้นมีพันธุกรรมในลักษณะนี้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และยังถูกกระทำ เลี้ยงดูไปในทางที่ผิดตั้งแต่เด็ก โอกาสที่คน ๆ นั้นจะกลายเป็นไซโคพาธ หรือ อาชญากรยิ่งมีโอกาสเป็นไปได้สูงมาก
3. ด้านชีวภาพ ผู้ที่มีความผิดปกติของสมองส่วน “อมิกดะลา (Amygdala)” หรือ การทำงานของสารเคมีในสมองที่ผิดปกติ นั้นสามารถพัฒนาในบุคคลเหล่านี้ให้เกิดโรคบุคลิกภาพผิดปกติได้
🔸ลองสังเกตดูสิว่า ลูกของคุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่ ?
✔️ไม่รู้สึกผิด หลังจากทำตัวไม่เหมาะสม
✔️การลงโทษไม่ได้เปลี่ยนพฤติกรรมของลูกคุณ หรือบางครั้งอาจแย่กว่าเดิม
✔️เห็นแก่ตัว และไม่แบ่งปัน
✔️โกหก ไม่ยอมพูดความจริง
✔️ชอบทำอะไรลับหลัง หลบ ซ่อน
✔️ขาดความเห็นใจผู้อื่น
✔️ความรู้สึกด้านชาไม่เกรงกลัว
✔️ขาดความยับยั้งชั่งใจ
✔️เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง หรือเอาแต่ใจ
🔸ไซโคพาธอันตรายไหม?
กล่าวคือ ทุกคนมีโอกาสเป็นไซโคพาธ และถึงแม้ว่าคนที่เป็นไซโคพาธจะมี ความรู้สึกเห็นแก่ตัว หรือขาดความรู้สึก ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นคนไม่ดี เป็นบุคคลอันตราย หรือเป็นไซโคพาธเสมอไป หากแต่ว่าความเห็นแก่ตัว และขาดความรู้สึกผิดเมื่อทำผิดเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจจะต้องเข้าปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุกรรม และการเลี้ยงดูที่จะส่งผลให้เด็กหันหน้าไปในทางไหนเมื่อเติบโตขึ้น
🔸หากลูกมีอาการเบื้องต้นต้องทำอย่างไร ?
หากคุณเห็นสัญญาณที่ทำให้คุณสงสัยว่าลูกของคุณอาจเป็นโรคไซโคพาธหรือไม่ สิ่งสำคัญคือ ต้องสังเกตพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด รูปแบบการรับมือในการปรับความคิดควรถูกคิดขึ้นมาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เพราะบางทีการใช้ไม้แข็งเกินไปอาจทำให้เด็กไม่เข้าใจแล้วยิ่งแสดงอาการหนักมากขึ้น
ดังนั้นควรมีการปรับพฤติกรรมเน้นการพัฒนาสิ่งที่สนใจในแง่ดี ควรสอดแทรกวิธีการพัฒนาให้เด็กสามารถควบคุมบริหารอารมณ์โกรธได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อที่จะสามารถช่วยประเมิน วินิจฉัย และพัฒนาบุตรหลานของคุณได้
📌ร่วมแบ่งปันข้อมูล แลกเปลี่ยนความรู้ เกี่ยวกับการดูแลเด็กสมาธิสั้น ออทิสติก พัฒนาการช้า แบบไม่ใช้ยา ได้ที่กลุ่ม>> https://bit.ly/3pIxKbg
#Neurobalanceasia #Neurofeedback #Biofeedback #Brain #Healthwellness #Family #Parenting #Kid #Autism #hyperactivity #LD #LearningDisabilities #ParentsPartner #psychopaths #antisocialpersonalitydisorder #นูโรบาลานซ์ #นิวโรบาลานซ์ #นูโรฟีดแบค #นิวโรฟีดแบค #ไบโอฟีดแบค #ครอบครัว #การเลี้ยงดู #เด็ก #พัฒนาการเด็ก #พัฒนาการช้า #สมาธิสั้น #ไฮเปอร์ #ออทิสติก #อารมณ์รุนแรง #บกพร่องทางการเรียนรู้ #พูดช้า #ไซโคพาธ #บุคลิกภาพผิดปกติ
​อย่าลืมกด Like👍 กด Share และ [กด See First ⭐️]
เพื่อ #ติดตามสาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพสมองได้ก่อนใคร
[ช่องทางติดตามอื่นๆ]
💫Facebook : https://bit.ly/3znzs1C
🌈Instagram : https://bit.ly/3ktARxn
โฆษณา