22 ส.ค. 2023 เวลา 06:19 • ท่องเที่ยว

Gwalior Fort (4) : วัดแวด Sas Bahu Temple

กวาลิออร์ เมืองที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และความมหัศจรรย์ทางสถาปัตยกรรม .. หนึ่งในนั้น คือ วิหาร Sas-Bahu ซึ่งยืนหยัดเป็นศูนย์รวมอันน่าทึ่งของความยิ่งใหญ่ทางสถาปัตยกรรมและนิทานพื้นบ้านโบราณ ด้วยงานฝีมืออันประณีต การออกแบบที่หรูหรา และเรื่องราวที่น่าทึ่ง .. วัดแห่งนี้จึงดึงดูดผู้มาเยือนจากทั่วทุกมุมโลก
วัด Sasbahu หรือที่เรียกว่า Sas-Bahu Mandir .. เป็นวัดที่ประกอบไปด้วย 2 วัด หรือ วัดแฝด ของศตวรรษที่ 11 ในเมือง Gwalior รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย เป็นอัญมณีทางสถาปัตยกรรม และตั้งอยู่ทางใต้ของพระราชวัง Man Mandir ป้อมกวาลิเออร์ ..
เดิมชื่อวัด Shahastra Bahu เป็นวัดที่อุทิศให้กับพระวิษณุ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1098 โดยกษัตริย์มหิปาละ (Kachhwaha Mahipal) แห่งราชวงศ์คัชฌะปะฆะตะ ในช่วงต้นศตวรรษที่ 11 อาจเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดภายในกลุ่มป้อม มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดสหัสตรา บาฮู”
วัดนี้สร้างอุทิศให้กับพระวิษณุในรูปแบบปัทมานาภา .. ซึ่งตามคติชาวบ้าน “สหัสตรา บาฮู” แปลว่า "แม่สามีเจ้าสาว" หรือ "แม่กับลูกสะใภ้" ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงถึงการอยู่ร่วมกันและพึ่งพากัน
ตำนานหนึ่งเล่าว่าวัดที่ใหญ่กว่านั้นเรียกว่าวัด Sas เป็นตัวแทนของแม่สามี (Sas) ในขณะที่วัดที่เล็กกว่าคือวัด Bahu เป็นตัวแทนของลูกสะใภ้ (bahu) .. การตีความนี้เป็นสัญลักษณ์ของความผูกพันชั่วนิรันดร์ระหว่างคนทั้งสอง และเน้นถึงความสำคัญของความสามัคคีในความสัมพันธ์
มเหสีของกษัตริย์ มหิปาล เป็นผู้นับถือบูชา “พระวิษณุ” และลูกสะใภ้ของพระองค์นับถือ “พระศิวะ” จึงมีการสร้างวัดใหม่ให้กับนาง
.. อย่างไรก็ตาม มานูเอล โจเซฟ ผู้ช่วยหัวหน้านักโบราณคดีกล่าวว่า วัดนี้ถูกเรียกว่า สหัสรา บาฮู ซึ่งแปลว่า “พันแขน” (อีกชื่อหนึ่งของพระวิษณุ) ต่อมาได้แปรสภาพเป็น ซาส บาฮู
ด้วยเหตุนี้ .. จึงมีการสร้างวัดอีกวัดหนึ่งเพื่อถวายแด่ พระศิวะ อยู่ข้างๆวิหาร พระวิษณุ .. จากนั้น วัดทั้งสองจึงได้ชื่อร่วมกันว่า วัด วาส บาฮู (Sas Bahu Mandir) หมายถึงวัดของแม่สามีและลูกสะใภ้ ซึ่งวัดทั้งสองสร้างด้วยหินทรายสีแดง มีคานและเสาหลายชั้น ไม่มีซุ้มประตู
วัดที่สร้างจากหินทรายให้ความรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่และสง่างาม ดึงดูดทุกคนที่ก้าวเข้ามาภายในกำแพงอันศักดิ์สิทธิ์ ..
การแกะสลักและการตกแต่ง
วัด Sas .. วัดนี้มีสามชั้น ซึ่งเป็นหนึ่งในลักษณะเด่นและความซับซ้อนของวัด ตามแนวคิดของคลัสเตอร์ส่วนกลาง แผนผังสามชั้นที่มีฐานในรูปแบบไม้กางเขนและระเบียงแสดงให้เห็นว่ามีสถาปัตยกรรมแบบภูมิจาแบบอินเดียเหนือ .. โครงสร้างส่วนบนที่เห็น ได้สัดส่วนดีมากๆ
วิหารทั้งหลังปกคลุมไปด้วยงานแกะสลัก ประดับประดาด้วยประติมากรรมอันน่าทึ่งซึ่งแสดงถึงฉากต่างๆ จากเทพนิยายฮินดู .. โดยเฉพาะรูปเคารพทั้ง 4 ของพระพรหม พระวิษณุ และพระสรัสวดีเหนือประตูทางเข้า
.. การแกะสลักเสา แสดงงานแกะสลักที่เกี่ยวข้องกับไวษณพนิกาย ลัทธิไศวะ และนิกายเชกติ การตกแต่งวิหารขนาดใหญ่ครอบคลุมผนังด้านนอกทั้งหมดและพื้นผิวภายในที่ยังหลงเหลืออยู่ทั้งหมด
.. ผนังและเสาแสดงเรื่องราวจากรามเกียรติ์ มหาภารตะ และนิทานโบราณอื่นๆ มากมาย .. แม้เราจะไม่มีความรู้เรื่องงานศิลปะมากมาย แต่สัมผัสได้ด้วยตาว่า เป็นศิลปะอันละเอียดอ่อน มีรายละเอียดอันประณีต และงานฝีมืออันเชี่ยวชาญ
ฉันรู้สึกทึ่งในทักษะและความทุ่มเทของศิลปินในยุคนั้น ที่ประติมากรรมแต่ละชิ้นบอกเล่าเรื่องราว เพิ่มเสน่ห์และความลึกลับของวัด
.. ขณะที่เดินดู ก็อดไม่ได้ที่จะนึกถึงประติมากรรมต่างๆของ ปราสาทสัจจธรรม ที่พัทยา .. มีส่วนที่คล้ายกันมากกับวิหารแห่งนี้ จะต่างก็แค่วัสดุที่ใช้เป็นหิน กับงานไม้ รวมถึงซุ้มทางเข้า ซึ่งปราสาทสัจจธรรมมีงานไม้ที่อลังการมาก แต่วิหารแห่งนี้ไม่มีซุ้ม
1
วัดสาสน์ มีวิหารสี่เหลี่ยมติดอยู่กับพระทวาราลารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2 ชั้น และมณฑปปิด 3 ชั้น .. ที่มีทางเข้าสามทาง ระเบียงทางเข้าหลักของพระวิหารมีเสารูป ฤชุกะคต ปัลลวะ แกะสลัก 4 ต้นซึ่งรับน้ำหนักได้
ผนังและทับหลังแกะสลักอย่างประณีต บนทับหลังของทางเข้า สลักเสลาภาพพระกฤษณะลีลาไว้ด้านใน ขณะที่ด้านนอกบรรยายตำนานจากตำราอื่นๆ ของฮินดู เหนือทับหลังเป็นรูปพญาครุฑซึ่งเป็นปางของพระนารายณ์
วัด Sas Bahu เป็นตัวอย่างที่น่าทึ่งของประติมากรรมฮินดูในยุคกลาง โดดเด่นด้วยเสาแกะสลักและเขาวงกตที่มีเสาแกะสลักมากมาย ซึ่งตกแต่งอยู่ภายในโครงสร้างขนาดใหญ่ ซึ่งให้ความรู้สีกและสัมผัสสิ่งที่มาจากยุคแห่งความฉลาดทางศิลปะได้ไม่ยาก
งานฝีมือที่เป็นแบบอย่างของความประณีตทางสถาปัตยกรรมของศตวรรษที่ 11 ประติมากรรมอันวิจิตรบรรจง ลวดลายอันละเอียดอ่อน และเสาอันวิจิตรงดงามดึงดูดผู้มาเยี่ยมชม
อาคารเหล่านี้อุทิศให้กับพระวิษณุ .. มีจารึกภาษาสันสกฤตยาว โดยระบุว่าสร้างเสร็จโดยเจ้าชายราชปุตแห่งกวาลิออร์ในปีคริสตศักราช 1098
วิหาร Bahu เป็นโครงสร้างที่เหลือของอาคารชั้นเดียวดั้งเดิม .. เป็นวิหารสี่เหลี่ยมที่มีแต่ละด้านยาว 2.84 ม. โดยมีมีกรอบประตูที่หรูหรา .. เสาหลักสี่เสา
มหามณฑปยังเป็นสี่เหลี่ยมด้านเท่ายางด้นละ 7.11 ม. .. มีเสา 12 ต้น
หลังคาประกอบด้วยสี่เหลี่ยมหมุนสองอันที่ตัดกันเป็นรูปแปดเหลี่ยมที่ครอบด้วยวงกลมที่ทับซ้อนกันต่อเนื่องกัน
เสามีฐานแปดเหลี่ยมเช่นกัน แต่เสาเหล่านี้ได้ชำรุดทรุดโทรมไปบ้างแล้ว
ภายในได้รับแสงสว่างอย่างเพียงพอสำหรับสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู
เราสามารถมองเห็นเพดานอันงดงาม รวยมถึงการแกะสลักอันวิจิตรงดงามได้โดยไม่ต้องอาศัยแสงอื่นมาช่วย
บริเวณด้านนอกของวัด Bahu .. เป็นบริเวณชมทิวทัศน์ด้านหนึ่งของ Gwalior Fort และวิวของเมืองด้านล่างได้อย่างสวยงาม
วัดแฝด Sas Bahu .. ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอนุสรณ์สถานที่สวยงามของอินเดีย เป็นความมหัศจรรย์ทางสถาปัตยกรรมที่มีเสาประดับด้วยประติมากรรมและรูปปั้นบนผนัง
สถานที่นี้ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีและดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมาก
นอกเหนือจากความงดงามทางสถาปัตยกรรมแล้ว .. วัด Sas-Bahu ยังมีบรรยากาศอันเงียบสงบ ผู้เยี่ยมชมสามารถดื่มด่ำกับกลิ่นอายอันศักดิ์สิทธิ์ แสวงหาการปลอบใจ และเชื่อมต่อกับพลังงานศักดิ์สิทธิ์ที่แผ่ซ่านไปทั่วบริเวณวัด
โฆษณา