22 ส.ค. 2023 เวลา 23:45 • ท่องเที่ยว

Gealior : Jai Vilas Mahal .. Jayajairaop Scindia Museum

พระราชวัง Jai Vilas Mahal หรือที่รู้จักกันในชื่อ Jai Vilas Palace เป็นพระราชวังสมัยศตวรรษที่ 19 ในเมือง Gwalior ประเทศอินเดีย สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2417 โดย Jayajirao Scindia มหาราชาแห่ง Gwalior ในราชวงศ์อังกฤษ
พระราชวัง Jai Vilas ซึ่งเป็นที่ประทับในปัจจุบันของราชวงศ์มารัทธา 'สซินเดีย' เป็นโครงสร้างแบบอิตาลีที่ผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมทัสคานีและโครินเธียน
ห้องประมาณ 35 ห้องของพระราชวังแห่งนี้ ได้รับการดัดแปลงเป็นพิพิธภัณฑ์ "พิพิธภัณฑ์จิวาจิราโอะ ซินเดีย" (Jayajairaop Scindia Museum) ซึ่งเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 ... แต่ส่วนหนึ่งยังคงเป็นที่ประทับของลูกหลานของพระองค์บางส่วน
ภาพทางเดินตรงกลางระหว่างสวน และส่วนการจัดแสดงภายนอก เป็นพื้นที่พื้นสวนประมาณหนึ่งตารางไมล์ มีน้ำตกหลายแห่งและน้ำพุหลายแห่งอยู่ในนั้น .. ทางเดินนำสายตาไปสู่ประตูทางเข้าที่น่าประทับใจ
เมื่อผ่านประตูทางเข้าหลัก มาสู่พื้นที่ด้านใน .. สิ่งแรกที่สร้างความตื่นตา ตื่นใจให้กับผู้มาเยือนคือ พื้นที่สวนและสนามหญ้าสีเขียวสด ซึ่งมีสระน้ำพุ และประติมากรรมที่โดดเด่น จัดวางอย่างประณีตอยู่ตรงกลางของ Courtyard
อาคารพระราชวัง Jai Vilas สีขาวที่อยู่ตรงหน้าของเรา เป็นโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่มีการผสมผสาน ระหว่างรูปแบบสถาปัตยกรรม โดยชั้นแรกคือทัสคานี .. ชั้นที่สองเป็นสไตล์อิตาเลียน-ดอริก .. และชั้นที่สามคือโครินเธียน
พระราชวังแห่งนี้ออกแบบโดย พันโท เซอร์ไมเคิล ฟิโลส และสร้างขึ้นในปี 1809 .. เพียงแค่เห็นสถาปัตยกรรมภายนอก ก็ชวนให้นึกถึงวิถีชีวิตอันหรูหรา จินตนาการได้ไม่ยากว่า ในยามที่อดีตมีชีวิตชีวานั้น ที่นี่จะใกล้เคียงกับสวรรค์เพียงใด
ว่ากันว่า .. พื้นที่ของพระราชวังกว้างขวาง ครอบคลุมเนื้อที่ถึง 124,771 ตารางฟุต และมีชื่อเสียงจากโถง Durbar ขนาดใหญ่ ภายใน Durbar Hall ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ทองและเงิน ประดับด้วยพรมขนาดใหญ่และโคมไฟระย้าขนาดยักษ์ มีความยาว 30 เมตร กว้าง 15 เมตร และสูง 12 เมตร .. ซึ่งเราจะตามไปดูกันค่ะ
ทางเข้าของพิพิธภัณฑ์อยู่ทางด้านขวามือ .. มีโบราณวัตถุหลายชิ้นจัดวางแสดง รวมถึงภาพชีวประวัติของเจ้าของวัง
ห้องแสดงเครื่องแต่งกาย เสื้อผ้า และรองเท้าที่เป็นของราชวงศ์
ภาพถ่ายเก่าของบุคคลสำคัญ ซึ่งมีทั้งเจ้าของวัง ราชนิกูล และคนต่างชาติที่บทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อินเดีย
ราชพาหนะ .. รถม้าที่ส่วนของที่ยานทำด้วยเงินแข็ง ถูกใช้ในงานพิธีเมื่อปี 1923 ในงานรำลึกถึงพระมารดา
เกี้ยวที่จักรพรรดิโมกุลชาห์อาลัมที่ 2 มอบให้ .. เป็นการจัดแสดงสิ่งของทางประวัติศาสตร์ที่โดดเด่น ซึ่งเกี้ยวอันนี้ได้รับการบูรณะ ในโอกาสขึ้นสู่บัลลังก์โดยมหาดาจิ ซินเดียในปี พ.ศ. 2330
กูบที่ใช้เป็นที่นั่งบนหลังช้าง .. ส่วนใหญ่เพื่อการล่าสัตว์ที่มหาราชาจัดขึ้น
Madhavrao Scindia room
ห้องที่สองในอาคารชั้นแรก .. เป็นห้องขนาดใหญ่ และแกลเลอรี่
จัดแสดงเรื่องราวความเป็นมา การต่อสู้ ในอาณาจักร
ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆในราชวงศ์
โต๊ะและรูปถ่ายของ Madhavrao Scindia ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการรถไฟของอินเดีย
เฟอร์นิเจอร์ต่างๆที่สมาชิกในราชวงศ์เคยใช้ รวมถึงเอกสารสำคัญต่างๆ หลากหลายประเภท .. มีจัดแสดงไว้ให้ผู้มาเยี่ยมชม และผู้ที่สนใจที่สนใจได้ศึกษา
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เก็บรักษาความทรงจำเกี่ยวกับต้นกำเนิดอันเรียบง่ายของ Scindia (สะกดเป็นภาษาฮินดี/Marathi Shinde) จากหมู่บ้าน Kanherkhed ในรัฐมหาราษฏระ ครอบครัวนี้ละทิ้งหมู่บ้านบรรพบุรุษในปี 1726
.. อย่างไรก็ตาม ยังคงรักษามรดกทางวัฒนธรรมมารัทธาไว้ต่อไป ในโอกาสพิเศษ สมาชิกในครอบครัว Scindia ยังคงสวมผ้าโพกศีรษะสไตล์ Maratha (Shineshahi pagdi) ซึ่งใช้ผ้าไหม Chanderi ยาว 60 เมตร (200 ฟุต) โดยมีปลายแหลม นิทรรศการที่พิพิธภัณฑ์จะอธิบายขั้นตอนที่ซับซ้อนในการพันผ้าโพกหัวแบบพิเศษ
ชั้นที่สอง .. แบ่งการจัดแสดงเป็นหลายห้อง
The Victorian Reception Hall .. พันโท เซอร์ไมเคิล ฟิโลส เป็นผู้จัดหาเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องตกแต่งต่างๆ สไตล์ยุโรปในศตวรรษที่ 19 สมัยวิคตอเรียน มาใช้ในการตกแต่งห้องนี้ เพื่อโชว์รสนิยมอันวิไลของเจ้าของพระราชวัง
Neo Classic Room .. เราชอบส่วนหนึ่งของประติมากรรมที่จัดแสดงมากมาย ประติมากรรมส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากรูปปั้นของกรีกที่สร้างสรรค์จากหินอ่อน และบรอนซ์ ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในช่วงศตวรรษที่ 18-19
The Breakfast Room
.. จัดแสดงเครื่องใช้ในการรับประทานอาหารของสมาชิกราชวงศ์ สิ่งที่พิเศษ คือเครื่องกระเบื้องคุณภาพดีจากอังกฤษที่สั่งทำเป็นพิเศษ .. ตรงกลางมีตัวอักษณย่อชื่อของมหาราช และคำว่า “Heaven’s Light be our guide” ซึ่งเป็นคติของ The star of India .. และเป็นเกียรติประวัติที่มหาราชาได้รับแต่งตั้งจากพระราชินีแห่งอังกฤษให้เป็น อัศวิน
Maharaja Madhaverao Study Room
มหาราชา Madhaverao ได้ชื่อว่าเป็น “บิดาของอินเดียสมัยใหม่” ในยุคนั้น พระองค์ใช้เวลายาวในแต่ละวันเพื่อศึกษาวิทยาการต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุง Gwalior ให้ทันสมัยในรัชสมัยของพระองค์ .. พระองค์ก่อตั้ง การรถไฟแห่งกวาเลีย โรงงานผลิตเครื่องถ้วย โรงงานเครื่องหนัง รวมถึงงาน engineering works มากมาย
พระองค์ดำริให้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย โรงเรียน โรงพยาบาล โรงแรมที่พัก .. ความสนใจของพระองค์ยังครอบคลุมไปถึงเรื่อง World Affairs อีกด้วย ซึ่งรวมถึงการให้การสนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
The Royal Nursery
The Royal Suit
Arms & Amour Room .. จัดแสดงอาวุธประเภทต่างๆในหลายยุคสมัย
The Crystal Furniture Room .. จัดแสดงเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้ที่ทำจากแก้ว ที่อยู่ในการครองครองของราชวงศ์ ซึ่งในสมัยนั้นเป็นที่นิยมมากในยุโรป
Maharani Gajra Raje’s Drawing Room .. ห้องวาดรูปอันยิ่งใหญ่ หนึ่งในห้องรับแขกที่ดีที่สุดในโลก ของมหารานีองค์ที่สอง ของมหาราชา Madhavrao Scindia เป็นบุคคลสำคัญในการทำหน้าที่ให้ความบันเทิงกับแขกผู้มีเกียรติของพระราชวัง
ห้องนี้เป็นที่พระนางใช้ในการวางแผนเตรียมงานต่างๆ รวมถึงการต้อนรับแขกสุภาพสตรี ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ต้นศตวรรษที่ 20 .. ห้องนี้มีความสำคัญ จึงตกแต่งอย่างหรูหรา แขวนไว้ด้วยโคมไฟระย้าอันวิจิตรงดงาม และตกแต่งด้วยกระจกบานใหญ่
ห้องหลายห้องในพระราชวังแห่งนี้ .. รวมทั้งห้องรับแขก ห้องนอน และห้องน้ำ ได้รับการอนุรักษ์ไว้เช่นเดียวกับที่ได้รับการตกแต่งอย่างหรูหราสำหรับราชวงศ์
The Oriental Collection … จัดแสดงสิ่งของสะสม งานศิลปะ ที่มาจากพื้นที่ทางตะวันออก เช่น จีน ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ เช่น Lacquerware เครื่องพอรซเลน ผ้าไหม ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยนั้น รวมถึงในราชสำนักของมหาราชาหลายพระองค์
เราเดินลงมาจากอาคารแรก .. ณ ลานเชื่อมของอาคาร มองเห็น Glass sculpture เหมือนน้ำพุ
อาคารหลังที่สองที่เราไปเยือน
ห้อง Grand Staircase .. ด้านหน้าห้องโถงบันได ประดับประดาด้วยโคมไฟแบบ แขนดาเลียขนาดใหญ่สีชมพูเข้มอมแดง อลังการมาก จนเราต้องร้อง ว๊าววว หลายๆครั้งในใจ ..
ความโค้งของบันไดไม้ที่นำขึ้นไปสู่ชั้นบน ก็สวยอลังการด้วยการประดับด้วยภาพวาด และ Wall Art
กลางโถง มีรูปปั้นของมหาราชา .. รายล้อมด้วยรูปวาดแบบคลาสสิกเช่นเดียวกัน
Grand Dining Hall .. ห้องรับประทานอาหารอันงดงาม ที่มีโพรงจัดแสดง pièce de résistance ซึ่งเป็นรถไฟจำลองสีเงิน ที่บรรทุกบรั่นดีและซิการ์ หลังอาหารค่ำไว้รอบโต๊ะรับประทานอาหาร ตรงกันข้ามกับห้องรับประทานอาหารสไตล์ตะวันตก
ชั้นที่สอง .. ห้องรับประทานอาหารสไตล์อินเดียทั้งหมดยังคงได้รับการเก็บรักษาไว้ ซึ่งใช้เมื่อขุนนางมารัทธาได้รับเชิญ น่าประทับใจมาก
The Scindia’s Maharanis ..
ห้องโถง Durbar หลักนั้นน่าประทับใจ .. เพดานห้องโถงดูร์บาร์ (ราชสำนัก) โดดเด่นด้วยโคมระย้าสูง 12.5 เมตร หนัก 3.5 ตัน พร้อมหลอดไฟ 250 ดวง ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นคู่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก .. เสียดายมากที่เราไม่มีเวลาพอที่จะเข้าไปดู เนื่องจากถึงเวลาที่พิพิธภัณฑ์จะปิด
ห้องครัวของราชวงศ์ซึ่งมีเตาเผา หม้อ เครื่องลายคราม และสิ่งของอื่นๆ ก็ได้รับการอนุรักษ์ไว้เช่นกัน
โฆษณา