Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
26 ส.ค. 2023 เวลา 00:03 • ธุรกิจ
ย่านนี้มีที่มา รวมชื่อย่านธุรกิจในกรุงเทพ ทำไมถึงชื่อนี้?
หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า Central Business District (CBD) หรือย่านธุรกิจสำคัญใจกลางกรุงเทพ
ซึ่งพื้นที่ที่ถูกระบุให้เป็น CBD คือบริเวณตั้งแต่บางรัก - สาทร และปทุมวัน - ราชเทวี ซึ่งมีถนนย่านสำคัญมากมาย เช่น ถนนสีลม ถนนสาทร ถนนพระรามที่ 4 ถนนวิทยุ ถนนเพลินจิตร สยามแสควร์ ราชประสงค์ และประตูน้ำ
1
จึงเป็นที่มาของความสงสัยใคร่รู้ว่าแล้วชื่อในแต่ละย่านมีที่มาอย่างไร? จึงหยิบยกบางถนนที่น่าสนใจขึ้นมากล่าวในบทความชิ้นนี้
3
📍 ถนนสีลม
1
หากพูดถึงย่านการค้าธุรกิจที่เจริญเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศคงไม่พูดถึงสีลมไม่ได้ ความเจริญทันสมัยเต็มไปด้วยอาคารสูงจนได้รับฉายา “Wall Street” แห่งเมืองไทย
แล้วทำไมถึงต้องเรียกสีลม? จริงๆ แล้วสมัยก่อนชาวบ้านละแวกนั้นเรียกว่า “ถนนขวาง” ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4
จนกระทั่งเข้าสู่รัชกาลที่ 5 มีชาวต่างชาตินำเครื่องสีลมสำหรับวิดน้ำมาใช้บนถนนเส้นนี้ และด้วยความโดดเด่นของเจ้าเครื่องสีลมท่ามกลางทุ่งนากว้างโล่ง (สมัยนั้นยังไม่มีตึกสูงมากนัก) จึงเรียกกันว่า “ถนนสีลม”
5
📍ถนนสาทร
ถนนสาทรคืออีกหนึ่งย่านธุรกิจชั้นนำสำคัญ ย้อนไปเมื่อปี 2438 สมัยรัชกาลที่ 5 มีการพัฒนาคมนาคมและการขนส่งเพื่อพัฒนาที่ดิน จึงมีความต้องการขุดคลองเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ขณะนั้น ยม พิศลยบุตร หรือเจ้าสัวยม เป็นหุ้นส่วนของบริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม จึงมีการเรียกคลองตามชื่อผู้ขุดว่า “คลองเจ้าสัวยม” จนกระทั่งได้รับพระราชทานยศใหม่ว่า หลวงสาทรราชายุกต์ จึงมีการนำเอาคำว่าสาทรมาเรียกเป็นชื่อ “คลองสาทร” และ “ถนนสาทร”
3
📍ถนนพระรามที่ 4
หากพูดถึงถนนพระรามก็มีตั้งแต่พระรามที่ 1 จนถึงพระราม 9 เยอะแยะเสียเหลือเกิน ซึ่งคำว่าพระราม (Rama) หมายถึงลำดับรัชกาลของพระมหากษัตริย์ไทยซึ่งจุดเริ่มต้นมาจากรัชกาลที่ 6 มีพระราชประสงค์เฉลิมพระเกียรติกษัตริย์องค์ก่อนจึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อถนนเช่นนี้
1
โดยถนนพระรามที่ 4 ถูกสร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 4 แต่เดิมเรียกว่า “ถนนตรง” ซึ่งวิ่งเลียบกับรางรถไฟสายปากน้ำ (สถานีหัวลำโพง กรุงเทพ - สถานีรถไฟปากน้ำ สมุทรปราการ) ภายหลังรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นถนนพระรามที่ 4 เพื่อเฉลิมพระเกียรติและใช้มาจนถึงทุกวันนี้
2
(เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย: ถนนพระราม 9 ไม่มีคำว่า “ที่” เหมือนกับถนนพระรามที่ 1 - พระรามที่ 6 เนื่องจากรัชกาลที่ 9 ไม่ประสงค์ให้ใช้คำว่าที่ต่อท้าย)
2
📍 ถนนวิทยุ
พอมีคำว่าวิทยุก็ต้องพอเดากลาย ๆ ได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับวิทยุอย่างแน่นอน เพราะถนนเส้นนี้ถูกสร้างขึ้นและพระราชทานนามโดยรัชกาลที่ 6 เพื่อเชื่อมกับถนนเพลินจิตและพระรามที่ 4 และเนื่องด้วยเป็นถนนเส้นตัดผ่านสถานีวิทยุแห่งแรกของประเทศไทยจึงพระราชทานนามให้ว่า “ถนนวิทยุ”
1
📍 สยามสแควร์
สยามสแควร์แหล่งงรวมความหลากหลายของร้านค้ามากมายทั้งไทยและต่างประเทศ เรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางแฟชั่นจนมีคำว่าเรียก “วัยรุ่นสยาม” มาไม่รู้ต่อกี่รุ่น แต่เดิมพื้นที่บริเวณสยามเป็นสวนผักและชุมชนแออัด
จนกระทั่งจุฬาลงกรณ์เข้ามาเป็นเจ้าของที่ดินจึงมีการสร้างศูนย์กลางค้า อาคารพาณิชย์สูง 3-4 ชั้น โรงภาพยนตร์ โบว์ลิ่ง ไอซ์สเก็ต สร้างเสร็จในปี 2507 โดยตอนแรกจะใช้ชื่อ “ปทุมวันสแควร์” แต่มีการเปลี่ยนเป็นสยามสแควร์ และมีการตั้งชื่อ “สยาม” ให้สอดคล้องกันในบริเวณนั้นอย่างสยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์
2
ผู้เรียบเรียง : ขัตติยาภรณ์ ด้วงแก้ว Political Analyst, Bnomics
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
กรุงเทพฯ
ที่ดิน
ธุรกิจ
58 บันทึก
70
5
81
58
70
5
81
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย