26 ส.ค. 2023 เวลา 04:45

รู้ ครบ จบ! วางแผนเรื่องเงินให้พร้อม ก่อน-หลังซื้อบ้าน

รู้ ครบ จบ! วางแผนเรื่องเงินให้พร้อม ก่อน-หลังซื้อบ้าน
การมีบ้านสักหลังหนึ่งเป็นความฝันของใครหลายคน วันนี้ KKP Advice center รวบรวมสิ่งที่ควรรู้ก่อนและหลังมีบ้าน ทั้งการเตรียมพร้อมก่อนยื่นขอสินเชื่อบ้าน รวมถึงสิทธิประโยชน์ และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นหลังซื้อบ้านแล้ว เพื่อให้คุณสามารถวางแผนและบริหารจัดการได้ครบ จบในทุกด้าน รายละเอียดเป็นอย่างไรไปติดตามกันครับ
- วางแผนก่อนมีบ้าน
1. ศึกษาและเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย จากธนาคารหรือสถาบันการเงิน โดยคำนึงถึงระยะเวลากู้และอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับคุณ ประเมินความพร้อมในการมีบ้านของคุณได้ ที่นี่
2. พิจารณาค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าดาวน์บ้าน ค่าตกแต่งบ้าน ค่าเครื่องใช้ไฟฟ้าและเฟอร์นิเจอร์ ค่าเบี้ยประกันภัย ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย นอกจากได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว ยังสามารถช่วยลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปีแรกได้ค่าจดจำนอง ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ ค่าปิดสัญญากู้ เป็นต้น ซึ่งต้องคำนวณให้เพียงพอกับความสามารถในการผ่อนชำระของคุณ
3. ตรวจสอบความสามารถในการผ่อนชำระ พิจารณาความสามารถในการผ่อนชำระว่ามีสภาพคล่องทางการเงินเพียงพอหรือไม่ สามารถผ่อนชำระได้อย่างสบายใจหรือเปล่า ซึ่งสัดส่วนภาระหนี้สินที่มีไม่ควรเกิน 35-40% ของรายได้
4. ตรวจสอบประวัติเครดิต เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีข้อมูลผิดปกติหรือหนี้ค้างชำระ ซึ่งอาจส่งผลต่อการอนุมัติเงินกู้เพื่อการซื้อบ้านของคุณได้ สนใจตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโรของคุณได้ ที่นี่
5. จัดเตรียมเอกสาร เพื่อใช้ประกอบการยื่นขอสินเชื่อบ้าน เช่น สำเนาบัตรประชาชน สลิปเงินเดือน หรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และควรจัดเรียงเอกสารแยกเป็นชุดเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน
- วางแผนหลังมีบ้าน
1. พิจารณาดอกเบี้ยบ้าน หลังผ่อนบ้านครบ 3 ปี สามารถทำรีไฟแนนซ์หรือรีเทนชั่นเพื่อปรับลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน ซึ่งจะช่วยให้ภาระบ้านของคุณหมดไวขึ้น หรือหากมีโครงการใช้เงินก้อนก็สามารถขอกู้เพิ่มได้ ทดลองประเมินยอดรีไฟแนนซ์บ้านได้ ที่นี่
(สนใจสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน คลิก)
2. พิจารณาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับ ทั้งในส่วนการลดหย่อนภาษีดอกเบี้ยบ้าน (อ่านต่อ คลิก) และในส่วนการลดหย่อนภาษีจากค่าเบี้ยประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ (MRTA) ซึ่งสามารถลดหย่อนได้เมื่อมีระยะเวลาเอาประกันตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
3. ศึกษาเรื่องค่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งภาษีที่ดินแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ส่วนสิ่งปลูกสร้างแบ่งเป็น บ้าน อาคารตึกแถว และห้องชุด เป็นต้น
4. ศึกษาราคาประเมินบ้าน หากต้องการขายบ้านควรเข้าใจเรื่องการตั้งราคา เช่น ราคาประเมิน ราคาตลาด ฯลฯ รวมถึงช่องทางการขาย เช่น ซื้อขายด้วยเงินสด ซื้อขายผ่านการขอสินเชื่อธนาคาร หรือซื้อขายผ่านคนกลาง (นายหน้าอสังหาริมทรัพย์) ซึ่งคุณสามารถสร้างผลกำไรจากบ้านที่คุณอยู่อาศัยได้เช่นกัน
5. ประเมินค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาบ้าน ซึ่งมักเกิดขึ้นจากการเสื่อมสภาพของบ้านตามระยะเวลา เช่น ค่าทาสี ค่าเปลี่ยนท่อน้ำ ค่าตกแต่งสวน ค่าทำพื้น เป็นต้น เพื่อช่วยปรับปรุงภูมิทัศน์ของบ้านและสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่ขึ้น โดยคุณอาจวางแผนเก็บเงินก้อนหรือใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลสำหรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ สนใจสินเชื่อส่วนบุคคล คลิก
อย่าลืม ลองไปวางแผนด้านการเงินทั้งก่อนและหลังมีบ้านของคุณกันนะครับ เพราะการมีบ้านสักหนึ่งหลัง นอกจากจะเป็นที่พักพิง เป็นความสุขของคุณและคนที่คุณรักแล้ว ยังอาจเป็นการลงทุนทางการเงินที่สร้างรายได้ในอนาคตให้กับคุณได้เช่นกันครับ และสำหรับใครที่กำลังกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มต่างๆ ที่กล่าวมานั้น สามารถพิจารณาสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจากธนาคารเกียรตินาคินภัทร ที่ให้วงเงินกู้สูงสุดได้ถึง 110% ของราคาบ้าน* ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
หรือปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่สาขาของธนาคารใกล้บ้านท่าน
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
#วางแผนซื้อบ้าน
#ก่อนและหลังมีบ้าน
#สินเชื่อกู้ซื้อบ้าน
#สินเชื่อรีไฟแนนซ์
#KKP
#KIATNAKINPHATRA
โฆษณา