25 ส.ค. 2023 เวลา 14:26 • ข่าวรอบโลก

จีนฝากถึงญี่ปุ่น "หากน้ำเสียโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะปลอดภัย ทำไมปล่อยลงทะเล"

ยังคงเป็นประเด็นร้อนแรงในจีน สำหรับการต่อต้านแผนปล่อยน้ำเสียปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี-นิวเคลียร์จากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิจิ จังหวัดฟุกุชิมะของญี่ปุ่น ลงสู่มหาสมุทร โดยเริ่มตั้งแต่ 24 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา
จีนต่อต้านมาตั้งแต่ญี่ปุ่นเสนอแผนนี้แล้ว โดยจีนต่อต้านทั้งในเวทีโลก และในแผ่นดินจีนเอง เช่น จัดทำสกู๊ปผ่านสื่อต่างๆที่แสดงถึงผลกระทบของโครงการนี้ของญี่ปุ่น
ทำไมจีนถึงต่อต้านขนาดนี้?
ในมุมมองของจีน จีนยังคงกังวลผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นวงกว้าง เพราะปล่อยลงสู้น้ำทะเล-มหาสมุทร ที่เลื่อมโยงไปยังเพื่อนบ้าน ประเทศอิ่นๆ นอกเหนือจากญี่ปุ่นเอง รวมทั้งจีนด้วย
2
จีนเลยยกประเด็น "ผลกระทบต่อมนุษยชาติ"
แม้ทางญี่ปุ่นจะยืนยันถึงความปลอดภัยของน้ำเสียปนเปื้อนนิวเคลียร์จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิที่เสียหายหนักในครั้งแผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 ว่า "บำบัดแล้ว" และเป็นไปตามการควบคุมของ IAEA รวมทั้งยังเก็บตัวอย่างน้ำทะเลบริเวณที่ปล่อยน้ำเสียมาตรวจสอบ
เท่าที่ผมอ่านแถลงการณ์ของคณะผู้แทนจีนประจำ IAEA (หน่วยงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ)
ใจความสำคัญหลักๆ คือ
1. จีนมองว่า
"หากน้ำเสียจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะของญี่ปุ่น ปลอดภัย ก็ไม่มีความจำเป็นต้องปล่อยสู่ทะเล"
2. จีนมองว่า ยังไม่มีการศึกษาผลกระทบระยะยาวจริงๆว่าปลอดภัยจริงไหม
3. จีนเปรียบเทียบน้ำเสียจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิว่า แตกต่างจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์พลังงานสะอาดทั่วไป ในแง่ของแหล่งที่มา (Original source) โดยขีนระบุว่า ของโรงไฟฟ้าฟุกุชืมะไดอิจินี้ น้ำปนเปื้อนมาจากแกนเตาปฏิกรณ์ที่หลอมละลาย และยังมีปนจากน้ำฝนที่เข้าไปยังแกนเตาปฏิกรณ์ที่เสียหายของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ดังกล่าว คือไม่เหมือนแบบเคสปกติทั่วไป
และจีนยังยกประเด็น มีนิวไคลด์กัมมันตภาพรังสีที่มาจากแกนเตาปฏึที่หลอมละลาย แตกต่างจากเคยปกติเช่นกัน
ในข้อ 3) ผมเองก็ไม่มีความรู้ทางสายนี้โดยตรงนะครับ แต่อันนี้คือจากที่ทางจีนได้ระบุมา ดูตามภาพที่สื่อจีนทำออกมาได้เลยครับ
4) จีนมองว่า โรงไฟฟ้าแห่งนี้ที่ได้รับผลกระทบหนักจากปี 2554 ก็มีปัญหาการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีลงสู่น้ำทะเลอยู่แล้ว ดังนั้น ญี่ปุ่นไม่ควรทำแผนปล่อยน้ำเสียสู่ทะเล ที่เหมือนเป็นการสร้างผลกระทบครั้งสอง
ทั้งนี้ หนึ่งในมาตรการต่อต้านของจีน ที่ทำออกมาแบบรูปธรรม ที่น่าจะส่งผลต่อญี่ปุ่นไม่น้อย คือ การห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ทางทะเลทั้งหมดจากญี่ปุ่นเข้าสู่จีนแผ่นดินใหญ่
3
และที่ฮ่องกง ก็ออกมาตรการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ทางทะเลจากญี่ปุ่นเช่นกัน โดยห้ามจาก 10 จังหวัดของญี่ปุ่น ได้แก่ 1) โตเกียว 2) ฟุกุชิมะ 3) อิบะระกิ 4) กุมมะ 5) มิยากิ 6) นีงาตะ 7) ชิบะ 8)โทชิกิ 9) นากาโน่ และ 10) ไซตามะ โดยไม่มีกำหนดว่าจะแบนเป็นระยะเวลานานเท่าใดครับ
1
อ้ายจงเล่าเรื่องจาก
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน
โฆษณา