Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mr.Strategist
•
ติดตาม
26 ส.ค. 2023 เวลา 13:00 • การเมือง
ทำไมโควต้ากระทรวงต้องมีการแบ่งเกรด A B C ?
เห็นคนชอบถามกันว่าการจัดโควต้ากระทรวงเกรด A เกรด B เกรด C นี้เขาแบ่งกันอย่างไร บางคนก็ถามเลยไปถึงขั้นว่าแล้วกระทรวงการต่างประเทศที่มีบทบาทสูงในการเป็นหน้าเป็นตาของประเทศ ทำไมถึงถูกจัดให้เป็นกระทรวงที่ไม่มีใครอยากได้ เป็นสินค้าเกรด C ไป?
เอาเป็นว่าขอเขียนถึงประเด็นหลัก คือ เรื่อง เกณฑ์แบ่งเกรดของแต่ละกระทรวงก่อนละกัน จริงๆมันก็มีเกณฑ์อยู่หลายมิตินะ ง่ายสุด ขอเริ่มในแง่ของหลักการก่อนก็ได้ การแบ่งเกรดกระทรวงนั้น มันขึ้นอยู่กับงบประมาณ และอำนาจการจัดสรรโปรเจคครับ กระทรวงไหนมี 2 อย่างนี้ครบถ้วน ใครก็ต้องอยากได้เป็นธรรมดา
อย่างกระทรวงคมนาคมเนี่ย มันเป็นของเกรด A ที่เขายื้อยุดกันอยู่บ่อยๆ เพราะมันเกี่ยวพันกับการบังคับใช้งบประมาณ มีการประมูลงาน มีอนุมัติการก่อสร้างได้ แล้วเกมการเมืองมันมักมาคู่กับนายทุน การคุมกระทรวงคมนาคมไว้มันก็จะง่ายต่อการตอบแทนบริษัทของนายทุนที่คอยสนับสนุนพรรคการเมืองอยู่ข้างหลัง อันนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในทุกรัฐบาลไม่ว่าจะฝั่งไหน แดง เหลือง ทหาร มีนายทุนหมด
1
ส่วนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนี่ ผมก็ว่าควรอยู่เกรด A ได้เหมือนกัน เพราะเวลาจะก่อสร้างตึก จะทำโครงการอะไร มันต้องมีระบบการขออนุมัติเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม EIA EHIA อะไรพวกนี้ ซึ่งก็ต้องผ่านกระทรวงดังกล่าวนี้อยู่ดี ใครคุมไว้มันก็ง่ายต่อการดีลกับภาคเอกชน และนายทุน
อีกกรณีหนึ่งที่จะเล่าถึงคือ การแบ่งเกรดกระทรวงในทางยุทธศาสตร์ และผลประโยชน์ทางการเมือง (เพราะอันนี้ไม่ค่อยมีใครพูดถึงสักเท่าไร) การแบ่งเกรดลักษณะนี้ ส่วนใหญ่มักเป็นไปเพื่อหวังผลในการเลือกตั้งครั้งถัดไป เขาจะมีการแบ่งเกรด A ให้กระทรวงที่ถึงแม้งบจะไม่มากนัก แต่ก็มีบทบาทสำคัญ
เช่น กระทรวงมหาดไทย พรรคไหนคุมมหาดไทยได้เท่ากับสามารถเห็นภาพ และความเคลื่อนไหวของระบบความมั่นคงภายในของประเทศทั้งประเทศได้ เพราะมีปลัด มีนายอำเภอ มีผู้ว่าราชการจังหวัดอยู่ในมือ สามารถสั่งการทำโครงการ ทำกิจกรรมอะไรในจังหวัดที่พรรคต้องการได้คะแนนเสียงเพิ่มก็ได้
ถ้าสังเกตกัน ก่อนหน้านี้ก็มีกรณีที่คนในพรรคพลังประชารัฐทะเลาะกันเรื่อง พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ตอนเป็นรัฐมนตรีมหาดไทย มีบุคลิกเข้าถึงได้ยาก ติดต่อยาก ทำให้การสร้างและบริหารเครือข่ายข้าราชการในบังคับบัญชามันไม่ค่อยราบรื่นเท่าไร
ส่วนกระทรวงพาณิชย์ เป็นเกรด A เพราะคุมเศรษฐกิจประเทศทั้งหมด ข้าวยากหมากแพงยังไงก็ต้องให้กระทรวงพาณิชย์มีบทบาท ถ้าพรรคไหนคุมไว้แล้วแก้ปัญหาเศรษฐกิจ มีมาตรการช่วยเหลือประชาชนจนเป็นที่ยอมรับก็เอาใส่พอร์ตฟอลิโอไว้ใช้หาเสียงในการเลือกตั้งครั้งถัดไปได้
1
อีกกระทรวงนึงที่มีบทบาทสร้างเครือข่ายภาคประชาชน คือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพราะมีชาวบ้าน ชาวนาจากต่างจังหวัดต้องเดินทางเข้ามายื่นหนังสือบ่อย เป็นโอกาสที่เปิดให้ภาครัฐได้แสดงบทบาทช่วยเหลือ แล้วก็คบค้าสมาคมแกนนำม็อบไว้ใช้เป็นหัวคะแนนช่วงเลือกตั้งได้ (ในกรณีที่แก้ปัญหาให้พวกเขาได้)
สำหรับกระทรวงงบเยอะๆบางกระทรวง เช่น กระทรวงศึกษาธิการนี้ผมไม่ค่อยอยากนับรวมเป็นเกรด A สักเท่าไร งบส่วนใหญ่มันเป็นงบด้านบุคลากร ไม่ได้มีบทบาทหรือมีอะไรที่พรรคการเมืองอยากได้เท่าใดนัก กระทรวงกลาโหมก็เหมือนกัน ได้ไปก็ไม่ได้แปลว่าจะคุมกำลังทหารทั้งประเทศได้ซะทีเดียว เพราะตัวละครที่มีอำนาจคุมกำลังพลจริงๆก็ยังเป็น ผบ. เหล่าทัพอยู่ดี
ประเด็นสุดท้าย ทำไมกระทรวงการต่างประเทศเป็นแค่กระทรวงเกรด C ไม่มีใครอยากได้ อันนี้ตอบตรงๆว่า มันเป็นเพราะประเทศไทยเป็นประเทศเล็กๆ และไม่ได้ให้ความสำคัญกับนโยบายต่างประเทศในฐานะ priority หลักมาหลายปีแล้ว อีกอย่างประเทศไทยเรามีระบบการบริหารบ้านเมืองที่ค่อนข้างจะออกแนวอนุรักษ์นิยมด้วยซ้ำ
แน่นอน ประเทศอนุรักษ์นิยม บางประเทศจนถึงหลายๆประเทศเขาไม่ก็ค่อยให้บทบาทรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศในการริเริ่ม คิดค้นนโยบาย แผนทางการทูตอะไรมากหรอก อย่างจีน ยักษ์ใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียเราเนี่ย ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศอะไรนัก เพราะนโยบายหลักมาจากประธานาธิบดี และคณะ Politburo ครับ
#เพื่อไทย #ก้าวไกล #รัฐบาล #ข่าวการเมือง #ข่าว #นายก
การเมือง
ประวัติศาสตร์
ธุรกิจ
14 บันทึก
22
2
18
14
22
2
18
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย