26 ส.ค. 2023 เวลา 11:10 • การเมือง

#หนังสือที่อ่านจบวันนี้ รวมเรื่องสั้น "ฟ้าบ่กั้น" ของลาว คำหอม

ฉบับครบรอบ 40 ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ มีคำนำโดนเสนีย์ เสาวพงศ์
พิมพ์ครั้งที่ 13 โดยแพรวสำนักพิมพ์ มิถุนายน ๒๕๔๓
------------------------------------------------------------------
17 เรื่องสั้นในเล่มเดียว 257 หน้าเขียนในช่วงพ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๑๖ เรื่องของชาวบ้านในชนบทกับคนในเมือง ชวนให้แอบนึกถึงนวนิยาย "ซันชิโร" ของนัตสึเมะ โซเซกิอยู่พอสมควร เพราะเป็นงานเขียนสะท้อนสังคมเหมือนกัน อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านของสังคมเมืองกับชนบท ความขัดแย้งทางจิตใจ และคุณค่าของความเป็นมนุษย์
.....
ถามว่าเป็นวรรณกรรมฝ่ายซ้ายที่วิพากษ์วิจารณ์สังคมตนเองอย่างกล้าหาญหรือไม่ ก็ยังไม่ชัดเท่ากับการเป็นบันทึกทางสังคมชนชั้นมากกว่า ลำพังแค่นี้ผู้เขียนก็ต้องอัปเปหิตนเองไปไกลถึงสวีเดน ในช่วงที่สฤษดิ์ไล่จับ ไล่อุ้ม นักเขียนและเผาทำลายวรรณกรรมเพื่อสังคม หนังสือกลายเป็นหนังสือต้องห้าม และก็กลายเป็น 100 หนังสือที่คนไทยควรอ่านในเวลาต่อมา สังคมไทยนี่ก็แปลกๆ อยู่เหมือนกัน ราวกับฟ้าเปลี่ยนสีได้จากขาวเป็นดำ จากดำก็ถูกทำให้เป็นขาว
.....
ที่ชอบที่สุดคงเป็นเรื่องของ "ไพร่ฟ้า" ออกแนวดราม่า-โรแมนติคได้เหมือนกัน แต่เพราะด้วยเล่าเรื่องแถวๆ ภาคเหนือ การทำป่าไม้ เรื่องช้าง ผมเลยรู้สึกอินเป็นพิเศษ
.
คุณลุงมีวิธีเปิดเรื่องที่งดงามบรรยายฉากได้โคตรถึง แต่ติดใจตอนเปลี่ยนฉาก หรือปิดเรื่อง เหมือนเป็นการเปิดให้ก่อกวนความคิดของเราเองมากกว่าการจบเรื่อง บางเรื่องก็จบซะดื้อๆ ถ้าเป็นนักเรียนหัดเขียนหน้าใหม่คงถูกแขวนไปแล้ว แต่เพราะคุณลุงตั้งใจไว้อย่างนั้น รวมเรื่องสั้น "ฟ้าบ่กั้น" เลยยังไม่ตาย ยังไม่จบ 'เขียดขาคำ' ก็ยังคงมีให้เห็นในชีวิตจริงจนถึงทุกวันนี้ ก่อให้เกิดคำถาม เกิดบทสนทนา เพื่อให้คนรุ่นต่อมาได้อ่าน ได้คิดถึง 'โลกอื่นที่เป็นไปได้'
.....
ถ้าถามผมตอนนี้ในฐานะที่อ่านรวดเดียวจนจบว่า "ฟ้าบ่กั้น" แปลว่าอิหยัง ? ในฐานะที่คนเขียนก็ยังอยู่แล้วผมก็ถามลุงผ่านกูเกิ้ลก็ได้คำตอบว่า “ฟ้าบ่กั้นหยั่งว่าให้ห่างกัน” หมายความว่า “ฟ้าไม่ได้กั้นเรา แต่ทำไมเราจึงช่างห่างกันนัก” เป็นการส่งเสียงถึงชาวกรุงอย่างมีนัยสำคัญ
.....
แต่นั่นไม่สำคัญเท่าที่ทำให้ผมกลับมาคิดนึกและรู้สึกอีกครั้งอย่างจำเจว่า สิ่งเดียวที่ทำให้ผมยังอยากมีชีวิตอยู่ ไม่ด่วนฆ่าตัวตายไปแบบตัวละครของโซเซกิ แม้ผมจะมีความคิดฆ่าตัวตายซ้้ำๆ ซากๆ จากไอ้โรคเวรตะไลที่ยังต้องแดกยาแพงๆ ซึ่งเบียดเบียนมากว่าสามสี่ปีนั้นคือเรื่องของ ..."ชนชั้น"
.
ในฐานะที่เป็นอุดมการณ์ทางการเมืองที่สำคัญที่ถูกผลิตซ้ำ ทำให้การเลื่อนสถานะทางสังคมเป็นไปไม่ได้ ไม่ว่าเราจะพัฒนาตัวเองมากมายแค่ไหน คำว่า "คนจน-คนไร้ความสามารถ-คนไร้เสียง-และไร้การศึกษาที่ดีพอ" ก็จะติดอยู่ที่ใดสักแห่งหนหนึ่งในยีนส์ของเรา ฟังดูโรแมนติคและเพ้อฝันนะเสียงในหัวของผมบอก แต่นั่นเป็นเสียงของใครกันล่ะ? เป็นเสียงของเราเองหรือเป็นเสียงที่มีใครบางคนมาฝากไว้กันแน่(false consciousness)
.
ทำไมประเทศของเราถึงติดแหง็กอยู่ที่เก่าวนเวียนซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่ไปไหนสักที เพราะประเทศเหี้ยนี้ถูกสะกดจิตรวมหมู่ การกระทำความดีแบบ Kantian แบบเหตุผลเชิงปฏิบัติบริสุทธิ์ (pure practical reason) เลยเป็นไปแทบไม่ได้เลย เพราะเราไม่มีเสรีภาพแม้กระทั่งการคิด-อ่าน-เขียนและพูด เป็นฟ้าที่แม่ง Realism เหี้ยๆ ถ้าพูดตามภาษาของ Mark Fisher และปวงชน อุนจะนำ
.
มันทำให้คนบางคนซึ่งดันมีอำนาจในประเทศนี้มองไม่ออกเลยว่า "โลกนี้มีทางเลือกแบบอื่นที่เป็นไปได้" แต่มันเข้าใจได้นะสำหรับผม เพียงแต่พวกเขาพวกมันไม่เข้าใจ ถึงสาเหตุที่เป็นไปได้มากที่สุดของความรู้สึกว่าตนเองช่างต่ำต้อย สู้เขาไม่ได้ แม้กระทั่งชนะการเลือกตั้งมาแล้วแท้ๆ นั่นก็คืออำนาจทางสังคม อำนาจทางชนชั้น
แถมยังมีหน้ามาขายฝันให้พวกกูสมัครใจกันเชื่ออย่างโง่เง่าว่า เราทุกคนเป็นอะไรที่อยากเป็นได้ด้วยพลังของตัวเอง แม่งเป็นอุดมการณ์ครอบงำและเป็นศาสนาอย่างไม่เป็นทางการของสังคมเหี้ยนี่ มันถูกเล่าซ้ำๆ ผ่านทีวี ผ่านสารคดี ผ่านเกมโชว์ ผ่านละคร หรือแม้กระทั่งในนิยาย
.
พอแล้วกูพอกันที กับการเป็นคนที่ถูกบอกมาทั้งชีวิตว่าไร้ค่า ขณะเดียวกันก็กำลังถูกบอกไปพร้อมๆ กันว่าสามารถทำอะไรก็ได้ที่ตัวเองอยากจะทำ... ขนาดจะเลือกนายกฯ เอง กูยังทำไม่ได้เลย "ก็ไสว่าฟ้าบ่กั้น แต่ทำไมเราจึงช่างห่างกันนัก."
บรรณานุกรม
สนทนากับคำหอม ศรีนอก https://shorturl.asia/fx64B
บทสัมภาษณ์ Mark Fisher ที่เคาะกะโหลกผมมา 7 ปีแล้ว https://shorturl.asia/dS2bj
โฆษณา