Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bigmama ชวนอ่าน
•
ติดตาม
26 ส.ค. 2023 เวลา 17:44 • ข่าวรอบโลก
รัสเซียสบช่องหวังส่งออกปลา-อาหารทะเลให้จีน หลังแบนญี่ปุ่น
รัสเซียหวังจะเพิ่มการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลไปยังจีน ภายหลังจีนสั่งห้ามนำเข้าอาหารทะเลของญี่ปุ่น หลังจากญี่ปุ่นเริ่มปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงสู่ทะเล
Rosselkhoznadzor สำนักงานกำกับดูแลความปลอดภัยด้านอาหารของรัสเซียเปิดเผยในเดือนก.ค.ว่า รัสเซียเป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์ผลิตภัณฑ์ทางทะเลรายใหญ่ที่สุดของจีน โดยมีบริษัทรัสเซีย 894 แห่งได้รับอนุญาตให้ส่งออกอาหารทะเล
Rosselkhoznadzor ระบุในแถลงการณ์เมื่อวันศุกร์ (25 ส.ค.) ว่า กำลังหาทางที่เพิ่มจำนวนผู้ส่งออก
“ตลาดจีนโดยทั่วไปมีแนวโน้มที่ดีสำหรับผลิตภัณฑ์ปลาของรัสเซีย เราหวังว่าจะเพิ่มจำนวนบริษัทและเรือของรัสเซียที่ได้รับการรับรอง, ปริมาณของผลิตภัณฑ์ และประเภทผลิตภัณฑ์” แถลงการณ์ของ Rosselkhoznadzor ระบุ
แถลงการณ์บ่งชี้ว่า เพื่อสนับสนุนความพยายามดังกล่าว Rosselkhoznadzor วางแผนที่จะเจรจากับจีนต่อไปเกี่ยวกับประเด็นด้านความปลอดภัยของอาหารทะเล และดำเนินการเจรจากับจีนให้แล้วเสร็จเกี่ยวกับกฎระเบียบสำหรับการจัดหาผลิตภัณฑ์ทางทะเลของรัสเซียให้กับจีน
จีนได้เริ่มสั่งห้ามการนำเข้าอาหารบางส่วนจากญี่ปุ่นแล้ว แต่คำสั่งห้ามทั้งหมดมีขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดี (24 ส.ค.) เนื่องจากมีความวิตกเกี่ยวกับการปนเปื้อนกัมมันตรังสีหลังจากญี่ปุ่นเริ่มปล่อยน้ำเสีย
แถลงการณ์ระบุว่า จีนเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมากกว่าครึ่งหนึ่งของรัสเซียระหว่างเดือนม.ค.-ส.ค. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลาพอลลอค ปลาแฮร์ริ่ง ปลาลิ้นหมา ปลาซาร์ดีน ปลาค็อด และปู
สำนักงานด้านการประมงของรัสเซียเปิดเผยว่า รัสเซียส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเล 2.3 ล้านตันในปีที่แล้ว คิดเป็นมูลค่าประมาณ 6.1 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณครึ่งหนึ่งของปริมาณการจับสัตว์ทะเลทั้งหมด โดยจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุด
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (26 ส.ค. 66)
https://www.infoquest.co.th/2023/329579
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย