Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วรรณกรรมไร้พรมแดน: Borderless Literature
•
ติดตาม
27 ส.ค. 2023 เวลา 07:28 • หนังสือ
เรื่องสั้น: มานิ ฮามิ
ผู้เขียน: ป่าเบญจมาศ
ผู้วิจารณ์: วาริส วารินทร์กวี
คอลเลคชั่น: วรรณกรรมไร้พรมแดน สู่กุมภาฯ-จันทร์ 2567
Art work: The GUERRILLA Mobile Laboratory
…………
มานิ และ ฮามิ หรือ ฮานิ ผมฟังไม่ชัด.. แต่ที่ได้ยินชัดเจน คือ น้ำเสียง และความเข้าอกเข้าใจของพวกเค้า ที่สื่อสารตัวตนของตนเองออกมาอย่างแจ่มชัด แม้ว่า ความเป็นจริง พวกเค้าจะมีสมาชิกในชุมชนแค่ร้อยกว่าคน ในประเทศที่มีคนกว่าเจ็ดสิบล้านคน และโลกที่มีคนกว่าเจ็ดพันล้านคน
แต่นั่นไม่ใช่ปัญหา เพราะพวกเค้ายืนยันว่า เราก็คือคน เราคือคน ที่เก็บแค่ผลไม้เท่านั้น ไม่โค่นต้น เราเก็บแค่ลูกไม้ เพื่อยังชีพ
ใครบางคนถามว่า แล้วมาวันนี้ต้องการอะไร ผมได้ยินพวกเค้าตอบว่า เราต้องการแค่ที่ดินเล็กๆ เพื่อปลูกทับ ปลูกบ้าน มีดินปลูกผักบ้าง แม้วันนี้ เราจะไม่ถนัด
พวกเค้าบอกอีกว่า เราคือคน เราคือคน ไม่ได้มีไว้อวดโชว์ แบบเงาะป่าซาไก อวดโชว์เพื่อการท่องเที่ยวใดๆ
ใครบางคนบอกว่า นี่น่าสนใจ
หนึ่งในพวกเค้าลุกขึ้น พูดภาษาใต้อย่างฉะฉาน เค้าแนะนำตัวว่า ตนเป็นกำนันของพี่น้องมานิ และบอกว่า เราเรียกตนเองว่ามานิ และเรียกทุกท่านว่า ฮามิ หรือ ฮานิ.. (ตรงนี้ผมฟังไม่ชัด) กำนันไข่เล่าต่อว่า ที่มาวันนี้ เราต้องการสื่อสารว่า วันนี้ชีวิตเราก็เหมือนทุกท่าน เราก็กินข้าวเหมือนท่าน ฮามิแบบท่านอาจคิดว่า เรากินหัวมัน หัวเผือก ใช่ นั่น เป็นสิ่งที่เรากิน เมื่อครั้งป่าสมบูรณ์ ป่ายังไม่มีใครจับจอง แต่วันนี้ไม่เป็นแบบนั้นแล้ว
ความเงียบร่ายรำ..
หลังบทสนทนา
ผมทอดตามองผืนป่า รอบข้างเวทีที่เรานั่งพูดคุยกัน มองกสับมาอีกที ไม่มีใครนั่งอยู่กับผมแล้ว หนังสือเล่มเก่าๆ วางไว้บนตัก เปิดค้างหน้าเกี่ยวกับเรื่องเล่าเก่าแก่ของมานิ เขียนโดยกำนันไข่ อดีตผู้นำมานิคนสุดท้าย ก่อนการสาบสูญของกลุ่มชาติพันธุ์มานิอย่างถาวร เมื่อ 100 ปีก่อน
ขณะเดินเข้าป่า ผมของผมเริ่มหยิกงอ ผิวดำแดงเข้มขึ้น นัยน์ตาดำขลับ ไม่นานนัก ผมก็กระโจนขึ้นไปบนนภา แล้ว เป่าลูกดอก
ป่าเบญจมาศ
………………..
ปฐมบทวิจารณ์โดย วาริส วารินทร์กวี
เรื่องสั้นขนาดสั้นเรื่องนี้ เปิดเรื่องด้วยตัวละครเอกกำลังฟังเสียงของกลุ่มคนเล็ก ๆ “ความเป็นจริง พวกเค้าจะมีสมาชิกในชุมชนแค่ร้อยกว่าคน ในประเทศที่มีคนกว่าเจ็ดสิบล้านคน และโลกที่มีคนกว่าเจ็ดพันล้านคน””ในเชิงของภาษาที่เรียบง่ายกลับให้ความรู้สึกเหมือนการเป็นคนแปลกหน้าในบ้านของตัวเอง
การรุกล้ำเข้าไปของความเจริญที่แฝงด้วยคำว่าการศึกษาและการอนุรักษ์ จนไปถึงการท่องเที่ยว ซึ่งในการนำเสนอรูปแบบนี้ทำให้คนอ่านกลับมามองสังคมปัจจุบัน เรากำลังทำให้พวกเขาเป็นเหมือนสัตว์ป่าในสวนสัตว์ ที่เปิดให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมไม่ผิด
ผู้เขียน นำเสนอมุมของชนกลุ่มน้อยที่พยายามตะโกนจากภายใน ดังที่ปรากฏในประโยคตอกย้ำในตอนต้นของเรื่อง “พวกเขาบอกอีกว่า เราคือคน เราคือคน ไม่ได้มีไว้อวดโชว์ แบบเงาะป่าซาไก อวดโชว์เพื่อการท่องเที่ยวใดๆ” ถึงแม้จะแหกปากเท่าไหร่ แต่กลับรู้สึกถึงการถูกกลืนกลายของวิถีชีวิต มานิในเรื่องสั้นกำลังดิ้นรนออกจากบ่วงที่กำลังพันธนาการนาฏกรรมของชีวิตรวมไปถึงจิตวิญญาณ
ข้าพเจ้ามองว่าเรื่องสั้นพยายามตั้งคำถามต่อผู้อ่านและผู้หวังดี (ที่นำมาซึ่งความสูญเสียตัวตน) เราเห็นการศึกษาเชิงพื้นที่ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ เลือกสิ่งที่เรามองว่าดีให้แก่พวกเขา ดีในค่านิยมที่เรายึดโยงเอาว่ามันถูกต้องในโลกของเรา ป่าถูกทำลายและปลูกสร้างความเจริญเข้ามาทดแทน ดังปรากฏในประโยค “เราก็กินข้าวเหมือนท่าน ฮามิแบบท่านอาจคิดว่า เรากินหัวมัน หัวเผือก ใช่ นั่น เป็นสิ่งที่เรากิน เมื่อครั้งป่าสมบูรณ์ ป่ายังไม่มีใครจับจอง แต่วันนี้ไม่เป็นแบบนั้นแล้ว”
แล้วความเจริญคืออะไร ? นี่คือประเด็นคำถาม แม้กระทั่งคนทำงานด้านสื่อโซเชียลก็ยังเข้าไปรุกล้ำความเป็นส่วนตัวโดยเจตนา อุตส่าห์แวะไปกอบโกยยอดไลก์ยอดแชร์จากพวกเขา แล้วยังบอกทิ้งท้ายว่า ให้มาเที่ยวมาชมวิถีมานิ ตกลงเราให้เขาเป็นคนจริงหรือเปล่า ?
ป่า เบญจมาศ ปิดจบเรื่องสั้นเรื่องนี้ด้วยกลวิถีการถูกกลืนกินเป็นเนื้อเดียวกันของตัวละครหลัก สุดท้ายแล้วหากสภาวะการเช่นนี้ถูกดำเนินไปเรื่อยๆ เมื่อวันเวลาผ่านไป ชาติพันธุ์นั้นจะถึงกาลดับสูญ จนกระทั่งวันหนึ่ง เมื่อเรารู้ว่าที่มาของเส้นเชือกของเราทอดยาวมาจากไหน วันนั้น เราอาจจะไม่อยากรู้ก็ได้ว่าแท้จริงแล้ว “มานิ และ ฮามิ หรือ ฮานิ”
เมื่อข้าพเจ้าอ่านจบกลับทำให้รู้สึกต้องตั้งคำถามว่า “อนุรักษ์ หรือ ทำลาย” และสงสัยว่าวันนี้จะมีคลิปของพวกเขาอัปโหลดขึ้นมาในโลกออนไลน์อีกหรือเปล่า.
…………………………………
⛳️ วรรณกรรมไร้พรมแดน: การเดินทางสู่โลกใหม่ของความคิดและเรื่องราว
การอ่านและเขียนเป็นทักษะที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลิกภาพและการเรียนรู้ของเรา ด้วยแนวคิดวรรณกรรมไร้พรมแดน สามารถเปิดเผยแนวทางและความรู้ใหม่ๆ ที่ไม่เคยสำคัญไว้ มาเดินทางผ่านแสงสว่างของคำพูดและเรื่องราวที่ไร้ขอบเขต พร้อมร่วมสร้างเสริมกาลอวสานให้กับความคิดและการเรียนรู้แบบเก่าๆ ด้วยวรรณกรรมไร้พรมแดนที่เต็มไปด้วยสีสันและความหลากหลาย
1.) เริ่มการเดินทาง: เริ่มต้นการเรียนรู้วรรณกรรมไร้พรมแดนด้วยการอ่านหนังสือและเรื่องราวที่มีรากฐานในวัฒนธรรมและเพื่อนบ้านที่แตกต่างกัน นำเรื่องราวจากทุกมุมโลกมาสร้างสรรค์เรื่องราวใหม่ในแบบของคุณ
2.) ก้าวออกไปจากขอบเขต: ชวนความคิดและจินตนาการของคุณไปสู่มิติใหม่ ลองเขียนเรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลกที่เราไม่เคยคิดถึง หรือนำเสนอความคิดใหม่ในรูปแบบของกลอนเปล่าหรือบทความสั้น
3.) ยกเลิกข้อจำกัด: วรรณกรรมไร้พรมแดนเป็นโลกที่ไม่มีข้อจำกัด และเราสามารถสร้างเรื่องราวที่ออกเสียงได้อย่างอิสระ ลองเล่นกับคำศัพท์ โครงสร้างเรื่อง และแนวคิดในการเขียนของคุณ
4.) ท้าทายความคิดเดิมๆ: การเล่าเรื่องในแบบเดิมๆ อาจไม่เพียงพอ เราสามารถใช้วรรณกรรมไร้พรมแดนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนอื่นๆ และทำให้คนอ่านมองเห็นโลกในแง่ใหม่
5.) การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์: วรรณกรรมไร้พรมแดนสามารถเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างการเรียนรู้ที่น่าสนใจและมีความหลากหลาย นอกจากการเขียนเรื่องราว เรายังสามารถใช้ภาพประกอบ ภาพวาด หรือวีดีโอเพื่อเสนอแนวคิดให้กับผู้อ่านและผู้คนในสังคม
ร่วมกันสร้างโลกใหม่ที่น่าตื่นเต้นและเปิดโอกาสให้คนที่มีความคิดสร้างสรรค์เข้าร่วม ซึ่งการเรียนรู้จะไม่เคยมีที่สิ้นสุดและการอ่านจะไม่เป็นเพียงแค่ใช้คั่นเวลา แต่อาจนำเราไปสู่การสำรวจและค้นหาความรู้ที่แตกต่างกัน เป็นหนทางที่น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่มีขอบเขต

⛳️ โปรดใช้เวลาให้คุ้มค่ากับผลงานทางวรรณกรรมของท่าน เพื่อส่งให้เราและผู้ติดตามเพจวรรณกรรมสังคมได้ร่วมชื่นชมโลกวรรณกรรมไร้พรมแดนในแบบของท่านทางกล่องข้อความเพจ: วรรณกรรมสังคม: The Social Literature
...
เราอ่านเขียนเราจึงคงอยู่
กลุ่มวรรณกรรมสังคม
26 สิงหาคม 2566
#เรื่องสั้น #วรรณกรรมไร้พรมแดน
#BorderlessLiterature #วรรณกรรมสังคม
#TheSocialLiterature #กุมภาฯ_จันทร์
เยี่ยมชม
facebook.com
วรรณกรรมสังคม: The Social Literature
วรรณกรรมสังคม: The Social Literature, La-ngu. 3,566 likes · 131 talking about this. วรรณกรรมสังคม The Social Literature
วรรณกรรมสังคม
สื่อทางเลือก
thesocialliterature
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย