28 ส.ค. 2023 เวลา 04:25 • ความคิดเห็น
หลังจากที่ผมถกหาปัญหา ในคอมเม้นหลายชั่วโมงกับคุณโม่ เกี่ยวกับความเป็นธรรมหรือความยุติธรรม ผมก็ได้คำตอบแล้วว่า
1
ในทัศนะของผมแล้วคำว่ายุติธรรมมันคือกลวิธีทางปรัชญาอย่างหนึ่งที่ใช้เป็นบทสรุปของวิธีคิดในด้านมโนสำนึก
ที่ผมสรุปคือ ความยุติธรรม ก็คือ ความพยายามของสิ่งมีชีวิตที่มีสติปัญญา ที่พยายามทำให้มันเกิดขึ้น ในขณะที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ให้เป็นไปตามวัฏจักรอย่างเรียบง่าย
แต่มนุษย์คิดค้นคำว่ายุติธรรมขึ้นมา เพื่อใช้กับคนด้วยกัน โดยก่อกำเนิดมาจากความไม่เท่าเทียมในธรรมชาติที่เป็นปกติของสิ่งมีชีวิต เพื่อพยายามหาคำตอบของคำว่า"ตรงกลาง" เพื่อให้เกิดความแฟร์ ทั้งที่จริงแล้วมันขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแต่ละคน มนุษย์จึงใช้กฎหมายเป็นตัวกลางเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ในขณะที่ตัวกฎหมายเองก็สามารถพลิกแพลงได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับเทคนิคและวิธีการ หรือเล่ห์เหลี่ยมชั้นเชิง
เพราะฉะนั้นแล้วจุดยืนของมนุษย์ กับคำว่าความยุติธรรมนั้น ควรจะอยู่ในจุดที่สามารถตรวจสอบได้อยู่เสมอ เพื่อให้ใกล้เคียงกับความว่า"เป็นธรรม' ที่สุด นี่เป็นลักษณะของคนดี
แต่ถึงแม้จะมีการตรวจสอบสักแค่ไหนก็ตาม ถ้าสิ่งที่มาตรวจสอบนั้นเกิดขึ้นมาจากความไม่ยุติธรรม ก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้อยู่ดี ว่ามีความ"เป็นธรรม" จริงหรือเปล่า
ดังนั้นความยุติธรรมจึงเป็นแค่มายาคติ ที่ไม่มีวันเป็นจริง เราเพียงแค่พยายามสร้างสรรค์ให้มันใกล้เคียงกับคำว่า " เป็นธรรม"เท่านั้นเอง
ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ กระบวนการยุติธรรมของโลก จึงมี 3 ชั้น คือ 1. ศาลชั้นต้น  2. ศาลอุทธรณ์ 3. ศาลฎีกา เพราะแค่ศาลชั้นเดียวมันเอาไม่อยู่ จึงต้องมี 3 ศาล ในการสืบเสาะหาความ"เป็นธรรม"
แต่ทั้งหมดนี้มันไม่ได้หมายความว่ามีความเป็นธรรมหรือมีความยุติธรรมจริงๆหรอก เพราะมันเป็นมายาคติจริงๆ เพราะมันเปลี่ยนแปลงได้อยู่เสมอ ผิดเป็นถูก ถูกเป็นผิด ดำเป็นขาว ด้วยเหตุปัจจัยของขั้วอำนาจ
มันเปรียบเสมือนงูกินหางครับ
โฆษณา