Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
•
ติดตาม
30 ส.ค. 2023 เวลา 03:00 • สิ่งแวดล้อม
"จักจั่นงวงดำ" ในผืนป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขากะทูน
จักจั่นงวงดำ ชื่อวิทยาศาสตร์: Pyrops spinolae วงศ์ : Fulgoridae
จักจั่นงวงดำ มีส่วนหัวยื่นยาวและโค้งลักษณะคล้ายงวง บนหัวมีสีดำ (ด้านล่างมีสีเขียว) หัว อก และปีกคู่หน้าสีเขียว มีลายกระสีขาวและแต้มสีน้ำตาลทั่วทั้งปีก ปีกคู่หลังสีเหลือง ปลายปีกสีดำ ขาสีน้ำตาล มีขนาด 20 – 35 มิลลิเมตร
ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย หลังจากผสมพันธุ์และวางไข่ ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่จะทิ้งตัวร่วงลงสู่พื้นดิน และขุดลงไปอาศัยอยู่ใต้ดินเพื่อดูดกินน้ำเลี้ยงจากรากพืชเป็นอาหาร โดยชอบเกาะตามลำต้นของต้นไม้ใหญ่หรือต้นไม้ที่ดูดกินน้ำเลี้ยง ชอบดูดกินน้ำเลี้ยงจากลำต้นลำไย พบได้ตามป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ สวนผลไม้
ที่มา : เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ากะทูน จ.นครศรีธรรมราช สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช)
#เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ากะทูน #นครศรีธรรมราช #จักจั่นงวงดำ #กรมอุทยานแห่งชาติ
สิ่งแวดล้อม
สื่อทางเลือก
ข่าว
1 บันทึก
7
2
1
7
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย