31 ส.ค. 2023 เวลา 00:30 • ปรัชญา

คิดเป็น

โดย ภก.ดร.จันทรชัย ถวิลพิพัฒน์กุล Ph.D., LLL สถาบันอินทรานส์
การทำงานคือ การแก้ปัญหา
การแก้ปัญหาต้องมีความรู้
การพัฒนาความรู้ต้อง “คิดเป็น”
อันเป็นคุณสมบัติที่สำคัญยิ่งในทศวรรษหน้า
ทุกปัญหาล้วนเชิงซ้อน ปัญหาทับซ้อนปัญหา
การแก้ปัญหาจึงต้องพัฒนาแนวคิดระบบเชิงซ้อน
แนวคิดระบบเชิงซ้อนสามารถทำความเข้าใจได้ด้วย
ทฤษฎีกาแฟร้อน (Coffee Theory)
เวลาจะทานเอสเพรสโซ่
เราต้องเทน้ำร้อนลงในผงเอสเพรสโซ่ แล้วชงเข้าด้วยกัน
ความหอมและรสชาติของกาแฟที่เข้มข้นก็เกิดขึ้น เป็นจุดขาย ราคา 40 บาท
แต่พอเติมฟองนมและนมสดร้อนลงในเอสเพรสโซ่ คาปูชิโน่ก็เกิดขึ้น
ราคาก็สูงขึ้นเป็น 50 บาท
เมื่อเอาผงช็อกโกแลตเติมลงในคาปูชิโน่ มอคค่าก็เกิดขึ้น
ราคาปรับเป็น 60 บาท
กาแฟทั้งสามต่างคือระบบ
มันเป็นระบบย่อยที่ซ้อนอยู่ในระบบที่ใหญ่กว่า
มันเป็นระบบซ้อนระบบ
นั่นคือ หากเป้าหมายคือมอคค่า
เราต้องได้คาปูชิโน่ก่อน เพราะมันคือองค์ประกอบหลัก
การจะได้คาปูชิโน่ เขาต้องเตรียมเอสเพรสโซ่ก่อน
เพราะมันคือองค์ประกอบรอง
อย่างนี้ ไล่ลงไปทีละขั้นตอน
การแก้ปัญหาใดๆ ก็เช่นกัน
ท่านต้องถามว่าเป้าหมายคืออะไร
มีอะไรเป็นองค์ประกอบหลัก
อะไรคือองค์ประกอบรอง
อะไรคือองค์ประกอบย่อย
และทั้งหมดเชื่อมโยงกันอย่างไร อย่างเป็นลำดับชั้น
ทั้งในระดับที่ต่ำกว่าและสูงกว่า
 
ที่ว่า “คิดเป็น” มันคือการคิดระบบเชิงซ้อนนี่เอง
ทฤษฎีกาแฟร้อน Coffee Theory ศาสตร์เชิงระบบแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
โฆษณา