4 ก.ย. 2023 เวลา 09:48 • ท่องเที่ยว

พระราชวังลักษมี วิลาส .. Vadodara, Gujarat

วังลักษมีวิลาศ ในเมืองวโฑทรา รัฐคุชราต ประเทศอินเดีย .. เป็นวังที่สร้างขึ้นโดยมหาราชศยาจิเรา เกววัดที่ 3 ในปี พ.ศ. 2433 ซึ่งปกครองรัฐบาโรดาซึ่งตระกูลมหาราชาคายกวาฑ (Gaekwad) เป็นตระกูลมารัทธาที่มีชื่อเสียง แห่งมราฐา มีพันตรี ชารลส์ แมนท์ เป็นสถาปนิกหลักของพระราชวัง
ก่อนที่พระราชวัง Lakshmi Vilas จะถูกสร้างขึ้น ราชวงศ์ Gaekwads เคยอาศัยอยู่ในพระราชวังมหาราชาหรือที่รู้จักในชื่อ Sarkarwada หรือพระราชวัง Nazarbaug
มหาราชาศยาจิเรา เกววัดที่ 3 จึงให้สถาปนิกที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคนั้น คือ พันตรี ชาร์ลส์ มันต์ (Charles Mant) ได้สร้างพระราชวังที่คล้ายกันในอินเดีย กล่าวคือ พระราชวังใน Kolhapur และ Darbhanga แต่ Lakshmi Vilas เป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดของพระองค์ในตอนนั้น
แต่ด้วยเหตุที่สุขภาพย่ำแย่ .. มหาราชาเสียชีวิตระหว่างดำเนินโครงการ หลังจากนั้น สถาปนิก Robert Fellows Chisolm ก็ได้รับคัดเลือก
พระราชวังลักษมี วิลาส ได้รับการออกแบบตามสถาปัตยกรรมการฟื้นฟู อินโด-ซาราเซนิก
… โดยผสมผสานองค์ประกอบอันงดงามจากรูปแบบสถาปัตยกรรมฮินดู โมกุล และกอทิก โดยใช้โดม หอคอยสุเหร่า และซุ้มโค้ง
พระราชวังแห่งนี้สร้างขึ้นโดย มหาราชาสยาจีราว คายกวาฑ ที่สาม (Sayajirao Gaekwad III) เมื่อปี 1890 เงินทุนก่อสร้าง £180,000 (₹27,00,000) และใช้เวลาสร้างราว 12 ปี
พระราชวังแห่งนี้ขึ้นชื่อว่า เป็นที่อยู่อาศัยส่วนตัวที่ใหญ่ที่สุดที่สร้างขึ้นจนในเวลานั้นจนถึงปัจจุบัน ด้วยขนาดราวสี่เท่าของพระราชวังบักกิงแฮม ในลอนดอน สหราชอาณาจักร ในขณะที่ก่อสร้าง
ภาพด้านหลังของพระราชวัง .. สถาปัตยกรรมฮินดู โมกุล และกอทิก โดยใช้โดม หอคอยสุเหร่า และซุ้มโค้งนั้น น่าประทับใจมาก
ลักษณะที่โดดเด่นที่สุดของพระราชวังคือหอนาฬิกาซึ่งมีความสูง 300 ฟุตและสามารถมองเห็นได้จากระยะไกล
ภาพวาดบนผนัง .. สวยดี แต่ไม่รู้ว่าสื่อถึงอะไรบ้าง
Laxmi Vilas Palace ติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกที่ล้ำสมัยที่สุด เช่น ลิฟต์ในช่วงเวลาที่สร้างขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับพระราชวังสมัยใหม่ที่มีกลิ่นอายแบบตะวันตก .. การตกแต่งภายในทำให้นึกถึงบ้านในชนบทขนาดใหญ่ของยุโรป ..
ในปัจจุบันวังนี้ยังคงเป็นที่อยู่ของราชวงศ์ ซึ่งคงความสำคัญ และได้รับความนับถืออย่างสูงจากชาวเมืองวโฑทรา และมหาราชา Samarjitsinh Gaekwad พร้อมด้วยมหารานี Radhikaraje Gaekwad และพระราชธิดาทั้งสองของพวกเขายังคงอาศัยอยู่ที่นี่
การเข้าไปเยี่ยมชมพระราชวังลักษมี วิลาส ต้องจ่ายค่าเข้าชม .. โดยมีชุดอุปกรณ์ออดิโอให้ฟังการบรรยายถึงเรื่องราวและความเป็นมา การตกแต่ง และฟังค์ชั่นการใช้สอยของแต่ละห้อง
**แต่อนุญาตให้เข้าชมเฉพาะชั้นล่างเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพภายในพระราชวัง
เราเก็บภาพด้านนอกของพระราชวังมาฝากค่ะ ..
ด้านนอกของอาคารพระราชวังสร้างด้วยหินสีทองจากเหมือง Songadh ทำให้พระราชวังมีแสงสีทองอลังการ
ด้านหน้าประดับด้วยประติมากรรม .. ภาพหญิงแบกถาดที่มีเด็กนั่งอยู่ด้านบน
สวนขนาดเล็ก ประดับด้วยประติมากรรมหินอ่อน กระถางต้นไม้ที่มีรูปนางเงือกประดับด้านข้าง
ทางเข้าพระราชวังลักษมีวิลาสมีลานต้นปาล์มประดับประดาด้วยน้ำพุอันหรูหรา .. ว่ากันว่า ในยุครุ่งเรือง น้ำพุในสระจะสะท้อนภาพพระราชวังได้สวยอลังการ ดูหรูหรามาก
พระราชวังอันงดงามแห่งนี้ยังมีสวนที่หรูหราและตกแต่งสวยงามหลายแห่ง ซึ่งได้รับการออกแบบและสร้างสรรค์ โดยนักพฤกษศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในสมัยนั้น คือ เซอร์ วิลเลียม โกลด์ริง ซึ่งเป็นผู้ออกแบบสวนพฤกษศาสตร์คิวอันโด่งดังในลอนดอนด้วย
สถาปัตยกรรมของพระราชวังลักษมีวิลาส
พระราชวัง Laxmi Vilas เป็นหนึ่งในพระราชวังยุคราชที่น่าประทับใจที่สุดในรัฐคุชราต และอินเดียจนถึงทุกวันนี้ ... การตกแต่งภายในทำอย่างประณีตยิ่ง อลังการ และวิจิตรงดงามโดดเด่นด้วยกระเบื้องโมเสก โคมไฟระย้า และงานศิลปะที่ได้รับการดูแลอย่างดี
... รวมถึงคอลเลกชันอาวุธและงานศิลปะที่น่าประทับใจเป็นอย่างยิ่ง ภาพวาดของศิลปินชื่อดัง Raja Ravi Verma ซึ่งได้รับการมอบหมายเป็นพิเศษจากมหาราชาแห่ง Baroda ในขณะนั้น ให้จัดภาพวาดที่ดีที่สุดเพื่อประดับประดาพระราชวัง
Photo : Internet
ภายในพระราชวังลักษมีวิลาส มีลานขนาดใหญ่สองแห่ง เรียงรายไปด้วยต้นไม้และน้ำพุที่ช่วยให้พระราชวังเย็นสบายในช่วงบ่ายของฤดูร้อน พื้นปูด้วยหินอ่อนและโมเสกราคาแพงซึ่งยังคงได้รับการดูแลอย่างดีจนถึงทุกวันนี้
Photo : Internet
พระราชวังแห่งนี้สร้างขึ้นด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่สุด รวมถึงลิฟต์ในขณะที่สร้าง เพื่อให้เป็นสถานที่ที่เหมาะสมยิ่งขึ้นพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกแบบตะวันตก .. มีห้องทั้งหมด 170 ห้อง และสร้างขึ้นสำหรับคนเพียงสองคน ได้แก่ มหาราชาและมหารานี
Photo : Internet
Darbar Hall เป็นหนึ่งในห้องที่สง่างามที่สุดของพระราชวังตกแต่งด้วยพื้นกระเบื้องโมเสคชิ้นเล็กหลากหลายสีที่สวยงามมาก เป็นงานฝีมือที่ยอดเยี่ยมในการออกแบบกระเบื้องที่วิจิตรอย่างหนึ่งที่เราชอบมาก
Photo : Internet
เฟอร์นิเจอร์ย้อนยุค โคมไฟระย้าวินเทจสไตล์เวนิส และหน้าต่างกระจกสีเบลเยียม การตกแต่งด้วยไม้ที่สวยงาม และเพดานดีไซน์ที่ไม่ซ้ำใคร .. ส่วนตัวรู้สึกเหมือนเดินอยู่ในโถงของโบสถ์ฝรั่ง เพียงแต่ภาพเพดาน กระจกสีสร้างสรรค์ขึ้นในรูปแบบของศิลปะอินเดีย
... ห้องที่หรูหราแห่งนี้เป็นที่จัดแสดงประติมากรรมที่ดีที่สุดที่ทำจากทองสัมฤทธิ์ หินอ่อน และดินเผา
Photo : zinternet
น่าทึ่งมากที่ได้เห็นว่าโลกถูกรวมเข้ากับการออกแบบพระราชวังมากเพียงใด .. หินสีน้ำเงินมาจากปูเน่ หินสีแดงมาจากอัครา หินอ่อนนำเข้ามาจากราชสถานและอิตาลี และช่างฝีมือจากเวนิส ..
ทั้งหมดถูกนำเข้ามาเพื่อสร้างพื้นที่อันน่าทึ่งให้เดินไปรอบๆ เพื่อชมทางเข้าอันน่าทึ่งและลานภายในพร้อมน้ำพุที่สวยงาม ห้องโถงที่ตกแต่งอย่างประณีตด้วยกระจกสี .. ทั้งหมดเป็นความยิ่งใหญ่ที่แท้จริงของสถานที่
Photo : Internet
สิ่งที่ฉันประทับใจ คือ โถงและบันไดหินอ่อน ซึ่งเป็นทางขึ้นสู่ด้านบนของพระราชวัง .. โคมระย้า และรูปปั้นที่แกะสลักจากหินอ่อนทั้งหมดสวยงามมาก เป็นชิ้นงานศิลปะที่น่าทึ่ง แต่เสียดายที่ไม่สามารถเก็บภาพได้
Photo : Internet
ว่ากันว่า .. พระราชวังลักษมีวิลาสมีหน้าต่างกระจกสีมากที่สุดในโลก ซึ่งฉันเชื่อว่าจริง เพราะทุกดห้อง ทุกโถง ทุกทางเดินจะเต็มมไปด้วยงาน กระจกสีแบบคลาสสิคทั้งนั้น
คอลเลกชันพิเศษของดาบและอาวุธสงครามที่ใช้ในช่วงเวลาของมหาราชาจะแสดงอยู่ในคลังแสง
พระราชวังแห่งนี้มีคอลเลกชันศิลปะ อาวุธ และภาพวาดอันงดงามโดย Raja Ravi Verma ศิลปินชื่อดัง
บริเวณพระราชวังมีพื้นที่มากกว่า 700 เอเคอร์ โดยตั้งอยู่ในพื้นที่คล้ายสวนสาธารณะที่กว้างขวาง .. เป็นที่ตั้งของอาคารหลายแห่ง โดยเฉพาะ LVP Banquets & Conventions, พระราชวัง Moti Bagh และอาคารพิพิธภัณฑ์ Maharaja Fateh Singh
นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของสนามคริกเก็ต Moti Bagh สำนักงานของสมาคม Baroda Cricket รวมถึงสนามเทนนิสปูพื้นไม้สักในร่มและสนามแบดมินตันที่หายาก .. สมัยก่อนยังมีสวนสัตว์เล็กๆ และรางรถไฟภายในบริเวณพระราชวังที่ใช้ส่งพระราชโอรสไปรอบๆ พระราชวัง
ในช่วงทศวรรษที่ 1930 มหาราช ประทับปินห์ ได้สร้างสนามกอล์ฟสำหรับแขกชาวยุโรปของพระองค์
ในช่วงทศวรรษ 1990 Samarjitsinh หลานชายของ Pratapssinh อดีตนักคริกเก็ตรางวัล Ranji ได้ปรับปรุงสนามและเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม
บ่อน้ำขั้นบันได Navlakhi .. เป็นระบบแหล่งน้ำโบราณที่สร้างขึ้นโดยกษัตริย์เพื่อเอาชนะดินแดนอันแห้งแล้งของรัฐคุชราต .. เสียดายที่ในวันที่เราไปชม สระน้ำปิด
พิพิธภัณฑ์มหาราชา ฟาเตห์ ซิงห์
พิพิธภัณฑ์ Maharaja Fateh Singh อันโอ่อ่าตั้งอยู่ภายในพระราชวัง Laxmi Vilas ผู้เยี่ยมชมจะได้เห็นประติมากรรมจำนวนมากที่นี่ซึ่งมีชื่อเสียงและว่ากันว่าเป็นของช่างฝีมือผู้ยิ่งใหญ่ในอดีต
พิพิธภัณฑ์จัดแสดงผลงานศิลปะในสมัยสมเด็จพระมหาราชาเซอร์สยามจิเรา แกควัดที่ 3 และครอบครัวของพระองค์ ในการเดินทางไปยังทริปต่างๆ ทั้งในและนอกอินเดีย
Photo : Internet
งานศิลปะและภาพวาดทั้งหมดที่รวบรวมโดยมหาราชาก็ถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์เช่นกัน Raja Ravi Varma เป็นหนึ่งในศิลปินที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคนั้น และภาพวาดของเขาที่สร้างจากตำนานเทพปกรณัมฮินดูก็ดึงดูดผู้คนมาจนทุกวันนี้
ภายในพิพิธภัณฑ์มีรูปถ่ายของราชวงศ์อยู่หลายรูป และใครๆ ก็สัมผัสได้ถึงความยิ่งใหญ่ของราชวงศ์ที่มีอยู่ในขณะนั้นจริงๆ นอกจากนี้ยังดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากเนื่องจากความสวยงามและสนามหญ้าที่กว้างขวาง แกลเลอรีตะวันออกภายในพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วยประติมากรรมจีนและญี่ปุ่น
พิพิธภัณฑ์ Maharaja Fatehgarh เคยเป็นโรงเรียนของเชื้อพระวงศ์และมีทางรถไฟสายเล็กๆ ล้อมรอบด้วยต้นมะม่วงที่เชื่อมต่อสถานที่นี้กับโรงเรียนเพื่อให้เด็กๆ เดินทางสะดวก
โฆษณา