5 ก.ย. 2023 เวลา 02:15 • ธุรกิจ

อะไรคือ Magin of Safety ของหุ้น Big Tech?

=================
เป็นไปได้ไหมว่า คอนเส็ปของ Margin of Safety อาจไม่จำเป็นต้องเป็นการซื้อต่ำกว่า Value แต่ความปลอดภัยมันอาจแฝงอยู่ในกิจการนั้นๆ?
สำหรับผม บริษัท Big Tech นั้นมี Margin of Safety บางอย่างที่บริษัทโลกเก่าไม่ค่อยมีครับ ผมสรุปได้รวมเป็น 3 ข้อ เลยมาแชร์มุมมองตามนี้ครับ
Fat
จริงๆ ไอเดียของโพสต์นี้มาจากทวีตของ MBI-Deep Dives (ลิงค์ทวีตด้านล่าง) ที่มองว่า Margin of Safety ของหุ้นอย่าง Google อาจแฝงอยู่ใน “ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ” ที่ “สูงกว่าปกติ” วันนี้ผมเลยอยากเริ่มจากข้อนี้เลย
3
ธุรกิจซอฟต์แวร์เป็นธุรกิจที่กำไรดีมาก ยิ่งถ้าเป็นของเจ้าที่ Scaled แล้วอย่าง Google และ Meta นี่ ถ้าบริษัทวันดีคืนดีอยากกำไรให้ได้เยอะที่สุด เราอาจเห็น Net Profit ระดับ 60% ผมว่าก็ทำได้ จ่ายแค่ค่าไฟ ค่าเซิฟเวอร์ ค่าซัพพอร์ตนิดหน่อย ส่วนต้นทุนที่รีดออกคือค่าพนักงานที่ใช้พัฒนาบริษัทต่อไป
2
อย่างปีล่าสุดเราจะเห็นว่าเมื่อบริษัทอย่าง Google และ Meta เติบโตไม่ได้ตามคาด บริษัทพวกนี้ก็พากันเลิกจ้างพนักงานส่วนนึงเพื่อรักษาระดับต้นทุนไว้
1
นี่ไม่ใช่แค่กับหุ้นเทคใหญ่ หุ้นเทคอื่นๆ อย่าง Salesforce ที่แต่ก่อนไม่มีกำไร ก็พากันรีดกำไรและกระแสเงินสดกันออกมาอย่างกับแค่กดปุ่มเลยจริงๆ (กดปุ่ม Fire! ไล่คนออก 555) และถ้าสังเกตุดูจะเห็นได้ว่า Operation ของบริษัทพวกนี้ก็ยังเดินต่อไปได้แบบแทบไม่เห็นความสะดุดเลย
2
ตัวอย่างที่ Extreme ที่สุดน่าจะเป็น X (Twitter) ของอีลอนที่แป๊ปเดียวไล่คนออกไปครึ่งนึง แต่ก็ยังให้บริการได้ปกติ แถมฟีเจอร์ออกมาไวขึ้นด้วย
1
หรือบริษัทอย่าง Airbnb ก็ทำให้ดูตั้งแต่เจอโควิดแล้วเป็นต้น (เสียดายเรียนรู้ช้าไปหน่อย ไม่ได้เอามา Apply กับช่วงปีที่แล้วกับ Big tech)
ที่เขาทำแบบนี้ได้เพราะบริษัท Tech พวกนี้มันมีความไม่มีประสิทธิภาพเยอะจริงๆ ครับ บางคนเรียกมันว่า “ไขมัน” ในองค์กร ไขมันพวกนี้แฝงในรูปแบบของ การประชุม การขยายทีมขาย การ Overhire for talent การทำงานที่อาจจะเป็นการ over-optimization เช่นทำ AB Testing เฉดสีปุ่มใน Gmail จำนวนมาก พวกนี้เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ แต่ไม่มาก รีเทิร์นต่ำ แต่มีไว้ก็ไม่เสียหาย
2
แต่ไขมันนี้นั้นมันไปไขมันที่กึ่งจงใจให้มีนะผมว่า
Big Tech พวกนี้ Optimize for longevity เขาไม่ต้องพยายามทำกำไรให้ได้สูงสุดในปีนี้ แต่จะพยายามให้บริษัทเติบโตได้ในระยะยาว พวกเขาเรียนรู้จากหุ้นเทคยุคแรกที่บริษัทอย่าง Yahoo! โดน Disrupt ทุกวันนี้แทบไม่มีใครหรอก ที่ไม่รู้จักคำว่า “Innovator’s Dilemma” ในวงการเทค
1
ถ้าใครอ่านหนังสือ Blitzscaling ก็อาจจะบอกได้ว่าบริษัทพวกนี้ยังมี DNA ของความ Blitzscaling อยู่ในตอนที่โตมา เน้นโตก่อน ไม่เน้น Efficiency
1
ในขณะเดียวกันบริษัทที่เคยผ่านจุด “เกือบตาย” มา อาจจะ DNA ที่ Fat น้อยกว่า และสนใจเรื่องความประหยัดมากตั้งแต่แรก ยกตัวอย่างอาจจะเป็น Tesla และ Apple ที่พอยอดขายตก Margin ก็ตกตาม ลดต้นทุนแบบลด Fat ไม่ค่อยได้ เพราะฟิตมาตลอดอยู่แล้ว
อีกเหตุผลที่ทำให้ Big Tech จงใจก็เพราะเขาไม่อยากโชว์กำไรที่เวอร์เกินจนเป็นที่เพ่งเล็งของ Regulator ทั่วโลก แค่นี้ก็โดนขัดขาเยอะพอแล้ว
ด้วยเหตุนี้ความปลอดภัยด้านราคาเราอาจจะน้อยลง เพราะบริษัทพวกนี้มีไขมันที่คอยรับแรงกระแทกเบื้องต้นกับเรื่องร้ายๆ ที่เราไม่ได้คาดการณ์ไว้ครับ
2
ถามว่าพอรายได้กลับมาตามเศรษฐกิจที่เริ่มร้อนแรงแล้วยังไงต่อ? บริษัทพวกนี้ก็จะเริ่ม Hiring กันอีกรอบ สะสมไขมันสำหรับ Winter ครั้งต่อไป
1
War Chest
Margin of Safety ประการที่สองคือเงินสดที่เก็บไว้เฉยๆ ต่อให้เอามาหักลบหนี้ระยะยาวแล้วก็ยังมีเหลือเยอะ โดยผู้นำคือ Google ที่มีเกือบ $89 Billion Apple มี 57B Microsoft มี 32B และ Meta มี 16B ส่วน Amazon และ Netflix นั้นติดลบเพราะเป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนล่วงหน้าค่อนข้างเยอะ แต่ก็มีเงินสดเยอะอยู่ดี
เทียบกับ Market Cap แล้วมันอาจจะดูเล็กน้อย แต่จริงๆ มันไม่น้อยนะ เงินสด $89 Billion ของ Google สามารถซื้อ Unicorn ที่มีแววจะเข้ามาแย่งธุรกิจในอนาคตได้หลายสิบบริษัท
1
นอกจากนี้ และผมว่าสำคัญกว่าคือ เงินสดจะช่วยให้บริษัทพวกนี้จะช่วยให้บริษัทสามารถต่อกรกับผู้บุกรุกที่เป็น Big Tech ด้วยกันเองด้วย เช่นการลงทุนใน AI datacenter เพื่อเอามาแข่งกับ OpenAI, Microsoft, และแข่งด้าน Short Video กับ Meta Reels เป็นต้น
สุดท้ายแล้วถ้า Valuation ต่ำเกินไปมากๆ และธุรกิจยังไปได้ เงินพวกนี้ก็นำไปใช้ Buy Back หุ้นได้ด้วย แบบที่ Meta ทำในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
Side Projects
Margin of Safety สุดท้ายของ Big Tech คือพวกโปรเจ็คน้อยใหญ่ที่ ทำเพิ่มเติมออกมาจากธุรกิจหลัก เผื่อโชคดีเจอ S-Curve ใหม่ๆ ให้บริษัทต่อไป แม้ข้อมูลในอดีตจะบอกว่าโอกาสเกิดนวัตกรรมเปลี่ยนโลกใหม่ๆ ใน Bigtech นั้นน้อยมากเทียบกับเงินที่เผาไป
1
ในช่วงที่ธุรกิจหลักกำลังไปได้สวย กระแสเงินสดดี แผนก Side Project เหล่านี้ก็จะได้รับเงินมาเผาเล่นเรื่อยๆ แต่พอเวลาธุรกิจหลักสะดุด แผนกพวกนี้ก็จะโดนหั่น Budget เช่นกัน ไม่ต่างจากกลุ่มไขมันเลย
13
อย่างในปีนี้ เราก็จะเห็น Facebook ลดค่าใช้จ่าย Reality Labs จากลงเรื่อยๆ ทั้งที่ในตอนแรกบอกจะอัดเพิ่มขึ้น
ส่วน Amazon ก็มีปิดร้าน Physical Store รวม 68 แห่ง
และ Google ก็มีการเปิดให้นักลงทุนข้างนอกเข้ามาลงทุนใน Waymo และปิด Stadia ที่ให้บริการ cloud gaming เป็นต้น
2
นี่ขนาดยังไม่ถึงขั้นวิกฤติอะไรเลยนะ ถ้าเกิดวิกฤติจริงมีให้ไล่ปิดได้อีกเยอะครับ
1
เพราะฉะนั้นเราอาจบอกได้ว่า
Margin of Safety ของ Meta คือ ค่าใช้จ่าย Reality Labs
Margin of Safety ของ Alphabet คือ Other Bets อย่าง Waymo, Balloon, และอื่นๆ ล้านแปด
1
Margin of Safety ของ Amazon ก็มีเยอะ (เผลอๆ เยอะกว่าสองคนแรก แต่ซ่อนอยู่ในงบ) เช่น Kuiper, Alexa Speaker, TV, Phone, Physical Store และอื่นๆ
Margin of Safety ของ Apple อาจจะเป็น Cars และแว่น AR แต่ Apple แต่เขาไม่ค่อยเปิดเผยมาให้คนเล่นถ้าไม่ชัวร์จริง โดยเฉพาะพวกซอฟต์แวร์ต่างๆ
ส่วนของ Microsoft ก็อาจจะเป็นโปรเจ็ค Software ต่างๆ ใน ecosystem ที่ทำมาสู้กับพวก Stand alone สู้ได้บ้างไม่ได้บ้าง แบ่งๆ กันไป
1
****************
ทั้งสามข้อนี้คือสามข้อที่อาจเปรียบเสมือน Margin of Safety ที่ทำให้บริษัท Big Tech เหล่านี้ resilience ต่อเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ในระยะสั้น (กลับตัวเร็วกว่าเศรษฐกิจโดยรวม) และทนต่อการ Disruption ในระยะยาว และอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้นักลงทุนสามารถซื้อบริษัทเหล่านี้ในราคาที่ “สมเหตุผล” ได้ แทนที่จะรอมันถูกมากๆ ครับ
1
เขียนมาถึงจุดนี้ เพิ่งนึกได้ว่า.. เห้ย!! หรือว่าทั้งหมดนี้มันไม่ได้เรียกมันว่า Margin of Safety แต่เรียกมันว่า Moat วะ? ช่างแม่งละ 55555 เพื่อนๆ คิดว่าไงบ้างพวกนี้ถือว่าเป็น Margin of Safety ได้มั้ย?
โฆษณา