Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Happy_Coding
•
ติดตาม
5 ก.ย. 2023 เวลา 07:30 • การศึกษา
10 อาชีพสาย Tech รายได้ดีที่คุณไม่ควรพลาด!?
1. Programmer โปรแกรมเมอร์
โปรแกรมเมอร์นั้นมีหน้าที่หลักคือการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือชุดคำสั่งที่ใช้ควบคุมระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องใช้ผู้ที่เชี่ยวชาญอย่างมาก เพราะงานในด้านนี้มีความยากในการเขียน Code หรือ “ชุดคำสั่ง” ให้โปรแกรมหรือระบบคอมพิวเตอร์ทำงานได้ และมีความผิดพลาดน้อยที่สุดหรือไม่มีข้อผิดพลาดเลย
ปัจจุบันนั้นเป็นอาชีพที่รายได้สูงเป็นอันดับต้น ๆ ของอาชีพในปัจจุบัน เพราะทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยนั้น กำลังเข้าสู่ยุคที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยี หรือการใช้ชีวิตประจำวันก็เช่นเดียวกัน
2. Data Science วิทยาศาสตร์ข้อมูล หรือ วิทยาการข้อมูล
สายงานนี้จึงเป็นที่ต้องการมากในยุคปัจจุบัน งานหลักของอาชีพนี้คือ การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อสามารถนำข้อมูลนี้ไปพัฒนาหรือต่อ ยอดได้ในอนาคต คนที่จะทำอาชีพนี้ได้ต้องมีใจรักในการวิเคราะห์ หรือทำงานรวมกับฐานข้อมูลที่มีเยอะมากๆ
3. Web Developers นักพัฒนาเว็บไซต์
เป็นตำแหน่งงานที่มีหน้าที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการดูแลเว็บไซต์ทั้งหมด ยกเว้นเรื่องการออกแบบเว็บไซต์ ต้องอธิบายก่อนว่าในขั้นตอนแรกของการออกแบบเว็บไซต์จะเป็นหน้าที่ของ Web Designer ที่จะออกแบบหน้าตา รูปแบบ สีสันของเว็บไซต์ให้ออกมาตอบโจทย์กับแบรนด์
ผ่านการใช้โปรแกรม Photoshop หรือ Illustrator และ Web Developers จะเป็นผู้ทำหน้าที่สร้างเว็บไซต์นั้นให้เกิดขึ้นจริง ใช้งานได้จริง และทำให้เกิดผลลัพธ์ทางยอดขายหรือทางความรู้สึกของลูกค้า ผ่านความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภค ใช้ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือสำหรับการสร้างเว็บไซต์
4. Game Developers นักพัฒนาเกม
มีหน้าที่สร้างและพัฒนาระบบเกมในส่วนของการเขียนโปรแกรมและการเขียนโค้ด (coding) ต่างๆ เช่น การทำให้ภาพเคลื่อนไหวของเกมที่ออกแบบโดย Game Animator มีระบบวิธีการเล่นตามที่เขียนโปรแกรมไว้ การอัปเดตเวอร์ชันเกมให้มีความสอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป แก้ไขระบบโปรแกรมภายในเกมให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากเทคนิคในการสร้างเกมแล้ว ยังต้องมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบเกมให้มีความสมจริง
5. Network Engineer วิศวกรเครือข่าย
มีหน้าที่หลักในการวางแผน ออกแบบ และสร้างเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์สำหรับองค์กรให้สามารถใช้งานได้ เพื่อให้บุคคลในองค์กรสามารถติดต่อ สื่อสาร และประสานกับบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้อย่างปลอดภัย การเป็นวิศวกรโครงข่าย จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการออกแบบ ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การแก้ไขปัญหา การจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ และการติดต่อประสานงาน
6. Computer scientist นักคอมพิวเตอร์
มีหน้าที่หลักในการออกแบบพัฒนาและดูแลเว็บและแอปพลิเคชัน Computer Scientist ใช้หลักทฤษฎี เชิง Logic เข้าใจศาสตร์และรูปแบบการเขียนโปรแกรมต่างๆ วิจัยพัฒนาสิ่งใหม่ ค้นคว้า สร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ สมชื่อ นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ นำหลักวิทยาศาสตร์ มาเขียนโปรแกรมแก้ไขปัญหา ให้บรรลุตามผลลัพธ์ด้วย ภาษาคอมพิวเตอร์
7. Software Engineer วิศวกรซอฟต์แวร์
วิศวกรซอฟต์แวร์ มีหน้าที่นำโปรแกรมต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผสานกับความสามารถในการพัฒนาระบบเพื่อช่วยเรื่องการประเมินคุณภาพและปฏิบัติการภายในองค์กร ทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาแก่องค์กรหรือลูกค้า เพื่อสร้างซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เขาทำงานให้ ผสานกับการทำงานร่วมกันกับ Programmer ซึ่งการทำงานกับโปรแกรมเมอร์นี่แหละที่ทำให้ Software Engineer จะต้องมีความรู้ด้าน Coding
8. Business Analyst นักวิเคราะห์ธุรกิจ
หน้าที่หลักของ BA คือวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าหรือผู้ใช้งานระบบในทุกแพลตฟอร์ม ทั้งจากแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ ซึ่งต้องมีความละเอียดและแม่นยำในด้านข้อมูล เพื่อนำไปใช้พัฒนาประสิทธิภาพงานได้ถูกต้อง BA เป็นเหมือนตัวกลางระหว่างลูกค้าและทีม คือต้องมีทั้งความเข้าใจผลิตภัณฑ์ มีทักษะการสื่อสารที่ดี เพื่อนำเอาคำแนะนำต่าง ๆ ส่งต่อไปยังทีมได้ถูกต้อง นอกจากนี้ต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเขียนโค้ดด้วย รวมทั้งการวางแผนและกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงาน
9. Content Creator นักสร้างคอนเทนต์
เป็นงานที่ต้องใช้ความสร้างสรรค์ เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตคอนเทนต์ให้ตรงกันกับความต้องการของผลิตภัณฑ์หรือเว็บไซต์ ซึ่งงานในส่วนนี้จะมีความเกี่ยวข้องทั้งกับบทความ วิดีโอ และภาพถ่าย ที่ Content Creator จะต้องเลือกออกแบบให้เหมาะสมกับแพลตฟอร์ม ที่ใช้สำหรับสร้างความเคลื่อนไหวให้กับเว็บไซต์หรือสินค้า ส่งผลให้ความรู้ในเบื้องต้นที่ควรมีความเข้าใจ จึงเป็นเรื่องของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ และการสร้างผลงานคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องนั่นเอง
10. IoT Engineer หรือ (Embedded System Programmer) วิศวกร IoT
มีหน้าที่สร้างอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) เน้นไปที่ Smart Factory, Smart Building, Security ซึ่ง IoT Engineer ต้องเข้าใจพื้นฐานของ Sensor วงจรไฟฟ้า สัญญาณไฟฟ้า และเทคโนโลยีการสื่อสารต่างๆ รวมถึงเขียน Diagram เบื้องต้นของแต่ละ Solution
แม่และเด็ก
ความรู้รอบตัว
สังคม
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย