6 ก.ย. 2023 เวลา 00:00 • ยานยนต์

อีก 2 ปี เตรียมรับมือ! ‘แบตฯ EV’ อาจแพงขึ้นอีก เพราะ ‘ลิเทียม’ ขาดแคลนในปี 68

“ลิเทียม” วัตถุดิบสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) อาจถึงคราวขาดแคลนทั่วโลกภายในปี 2568 เร็วกว่าที่หลายฝ่ายคาดคิด จนทำให้ราคาแบตเตอรี่แพงขึ้นได้ ซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญของรถ EV
เดิมนั้น หลายคนเชื่อว่าราคารถ EV และแบตเตอรี่ EV มีแนวโน้มถูกลงเรื่อย ๆ จากจำนวนรถ EV ที่ผลิตออกมามากขึ้น อย่างไรก็ตาม สำนักข่าว CNBC รายงานข้อมูลจาก BMI Research บริษัทวิจัยด้านเศรษฐกิจมหภาคว่า “แร่ลิเทียม” (Lithium) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของการผลิตแบตเตอรี่ EV มีแนวโน้มขาดแคลนภายในปี 2568
📌​“ลิเทียม” ไม่เพียงพอกับความต้องการ
รายงานของ BMI Research คาดการณ์ว่า ความต้องการแร่ลิเทียมของจีนจะเติบโตเฉลี่ยต่อปี อยู่ที่ 20.4% ในช่วงปี 2566-2575
ขณะเดียวกัน การผลิตแร่ลิเทียมของจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิตแร่ลิเทียมใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก จะโตเพียง 6% ในช่วงเวลาเดียวกัน ด้วยความไม่สอดคล้องนี้ จึงสามารถนำมาสู่ “ภาวะขาดแคลนลิเทียม”
สำหรับการผลิตแร่ลิเทียมของทั้งโลก คือ 540,000 ตันในปี 2564 และภายในปี 2573 องค์กร World Economic Forum คาดการณ์ว่า ความต้องการแร่ลิเทียมของโลกจะมากกว่า 3 ล้านตัน
นอกจากนั้น จากแผนจำลองอนาคตของบริษัท S&P Global Commodity Insights ผู้ให้ข้อมูลสินค้าโภคภัณฑ์ ระบุว่า ยอดขายรถ EV จะขึ้นแตะ 13.8 ล้านคันในปี 2566 และจะขึ้นทะยานสู่จำนวนมากกว่า 30 ล้านคันภายในปี 2573
คอรีนน์ แบลนเชิร์ด (Corinne Blanchard) นักวิเคราะห์แห่งศูนย์วิจัยหุ้นเทคโนโลยีพลังงานสะอาด และลิเทียมของธนาคาร Deutsche แสดงความเห็นว่า “เราเชื่ออย่างหนักแน่นว่า ลิเทียมจะขาดแคลน โดยความต้องการแร่นี้จะสูงขึ้นมากจนขาดแคลนแร่ 40,000 - 60,000 ตันภายในปี 2568 และจะขยายขึ้นเป็น 768,000 ตันภายในปี 2573”
นอกจากแร่ลิเทียมแล้ว แร่ตัวที่สองคือ “โคบอลต์” ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของแบตเตอรี่ EV โดยมากกว่า 70% ถูกผลิตในประเทศคองโก สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) คาดว่า มีโอกาสจะขาดแคลนภายในปี 2573 หรืออย่างเร็วที่สุดคือในปี 2568
1
และแร่ตัวที่สามสำหรับแบตเตอรี่ EV คือ “นิกเกิล” ผลิตมากที่สุดในอินโดนีเซีย มีแนวโน้มว่าจะขาดแคลนภายในปี 2583
สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่:
อ้างอิง: cnbc, nytimes, steelnews
โฆษณา