5 ก.ย. 2023 เวลา 12:58 • สุขภาพ

ยาคุมกำเนิด​ในผู้หญิงที่อายุมากกว่า40ปี​

👾ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า​ 40​ ปี​ สามารถใช้ยาคุมกำเนิดไปได้จนกว่าจะหมดประจำเดือน​
⏺️ มีประจำเดือนครั้งสุดท้าย​ที่อายุต่ำกว่า​ 50​ ปี​ สามารถใช้ยาคุมกำเนิดติดต่อกันได้นาน​ต่อไปอีก 2 ปี​
⏹️มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายเมื่ิออายุมากกว่า​ 50​ ปี​ สามารถใช้ยาคุมกำเนิดติดต่อกันได้นาน​ต่อไปอีก 1 ปี​
⏏️ในกรณีที่​ไม่สามารถยืนยันได้ว่ามีประจำเดือนครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่​ สามารถกินยาคุมกำเนิดไปได้จนถึงอายุ​ 55​ ปี
ซึ่งโดยปกติ​ 'ลูกหลง'​ มักเกิดกับหญิงที่มีอายุมากกว่า​ 40​ ปี​ ที่ประจำเดือนเริ่มมาไม่ปกติ​ การใช้ยาคุมกำเนิด​จึงยังมีความจำเป็น
⚠️ทั้งนี้การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมในหญิงอายุมากกว่า​ 50​ ปี​ ผู้ที่สามารถใช้ได้จะต้องไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดอุดตันจากภาวะต่างๆ เช่น สูบบุหรี่​ อ้วน​ ความดันโลหิต​สูง​ เป็นโรคปวดหัวไมเกรนที่มีอาการเตือน (Migraine with aura)
♉การใช้ยาเม็ดคุม​กำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมในหญิงอายุมากกว่า​ 50​ ปี​ นอกจากจะช่วยปรับสมดุลย์​ฮอร์โมน​แล้ว​ ยังช่วยคงความหนาของมวลกระดูกที่จะลดลงหลังหมดประจำเดือน​ ลดการสูญเสียเลือดจากประจำเดือนที่มามาก​ ลดการปวดประจำเดือน​ รวมทั้งลดอาการหมดประจำเดือนอื่นๆ​ เช่น​ ร้อนวูบวาบ​ เหงื่อออกตอนกลางคืน​ ได้อีกด้วย
♉สำหรับยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (Progestin only pill; POPs) เป็นที่ทราบกันดีว่าการใช้ยาคุมชนิดนี้อาจทำให้เลือดออกกะปริบกะปรอย​ หรือไม่มีประจำเดือน​ ซึ่งไม่ได้บ่งบอกถึงภาวะหมดประจำเดือน​ ซึ่งยาคุมกำเนิดชนิดนี้สามารถใช้ได้จนถึงอายุ​ 55​ ปี
♉ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยวบางชนิด​ จะมีผลลดการสร้างมวลกระดูก​ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุน​
ผู้ที่มีสภาพร่างกายปกติ​ สามารถฉีดยาคุมชนิดนี้ได้จนถึงอายุ​ 55​ ปี​
แต่ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุน​ เช่น​ สูบบุหรี่​ ใช้ยาสเตียรอยด์​ มีประวัติว่าบรรพบุรุษเป็นกระดูกพรุน​ เมื่ออายุมากกว่า​ 40​ ปี​ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเปลี่ยนไปใช้ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดอื่น
♉ยาฝังคุมกำเนิด​ สามารถใช้ได้ถึงอายุ​ 55​ ปี
♉ยาคุมฉุกเฉิน​ สามารถใช้ได้ตลอด​ ไม่ได้จำกัดอายุ
👩‍🔬การใช้ยาคุมกำเนิด​ในผู้หญิงที่อายุมากกว่า40ปี​ มีข้อกำหนดปลีกย่อยต่างๆ​ อาทิเช่น​ พิจารณา​จากปริมาณบุหรี่ที่สูบในแต่ละวัน​ ค่า​ BMI.ค่าความดันโลหิต​ โรคบางชนิด​ เช่น​ โรคหลอดเลือดหัวใจ​ โรคหลอดเลือดสมอง​ ไขมันในเลือดสูง​ หลอดเลือดดำอุดตัน​ เส้นเลือดขอด​ โรคปวดหัวไมเกรน​ หัวใจเต้นผิดจังหวะ​ ซึ่งการใช้ยาคุมกำเนิดในแต่ละสภาวะจะมีข้อพิจารณา​แตกต่างกัน​ ซึ่งผู้ที่มีสภาวะดังกล่าวควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์​ หรือภายใต้คำแนะนำของเภสัชกร
😃มีปัญหา​เรื่อง​การ​ใช้​ยา​ เชิญ​ปรึกษา​เภสัชกร​
.
.
.
.
อ่านเพิ่มเติม
FSRH Clinical Guideline: Combined Hormonal Contraception (January 2019, Amended July 2023)
.
.
POSTED 2023.08.05
บทความอื่น
ความรู้เรื่องยาคุมกำเนิด
ทำไมต้องกินยาคุม
เปลี่ยนยาคุมกำเนิด ทำอย่างไรดี
🔰ลืมกินยาคุมทำอย่างไร🔰
กินยาคุมย้อนศร
💖การใช้ยาคุมกำเนิดในคนอ้วน
ยาคุมกำเนิด​หลังคลอด
ยาคุมฉุกเฉิน
ฮอร์โมน​สำหรับ​หญิงข้ามเพศ
🛸ยาคุมกำเนิด​ -​ Drug​ interactions
โฆษณา