7 ก.ย. 2023 เวลา 07:34 • ข่าวรอบโลก

จาก India สู่ Bharat หรือ ภารตะ

หลังจากมติในสภาในการเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น “Bharat” แทน “India” ในรัฐธรรมนูญ และมีการใช้ชื่อใหม่ในเวทีสากลอย่าง G20 แล้ว หลังจากที่ Turkey ก็เพิ่งเปลี่ยนชื่อไปเป็น Turkiye ก่อนหน้านี้ไม่นาน
การเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศถือเป็นการแสดงออกทางสัญลักษณ์และอัตลักษณ์ที่สำคัญในเวทีโลก ซึ่งสะท้อนอุดมการณ์และจุดยืนทางการเมืองของประเทศนั้นๆ การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ของ India มีนัยยะอย่างไร?
จาก India สู่ Bharat
ชื่อใหม่นี้ย่อมาจาก Bharata หรือ “ภารตะ” คนในประเทศโดยทั่วไปก็มีการเรียก อินเดีย ว่า ภารตะ กันอยู่แล้วควบคู่ไปกับคำว่า อินเดีย เหมือนกับเวลาที่คนไทยเรียก “กรุงเทพฯ” แต่มีชื่อภาษาอังกฤษว่า “Bangkok”
1
ทว่าการเปลี่ยนชื่อครั้งนี้ มีนัยยะทางการเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ นั่นเป็นเพราะคำว่า “India” เป็นชื่อที่ถูกตั้งและเรียกโดยกลุ่มนักล่าอาณานิคมในช่วงศตวรรษที่ 15 หลังจากชาวอินเดียถูกทำให้เป็นทาสโดยชาวยุโรป และถูกเรียกกันจนถึงยุคหลังสงครามโลกที่อินเดียประกาศเป็นเอกราชจากอังกฤษเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1947
ดังนั้นการเปลี่ยนชื่อเป็น “ภารตะ” ที่อ้างอิงชื่อมาจาก “มหากาพย์มหาภารตะ” ที่เป็นวรรณกรรมที่แสดงถึงอัตลักษณ์เชิงประวัติศาสตร์และรากเหง้าทางวัฒนธรรมท้องถื่นจึงมีนัยยะทั้งทางการเมืองและวัฒนธรรมที่สำคัญ ในการประกาศการปลดแอกทางสัญลักษณ์และอัตลักษณ์จากประวัติศาสตร์การล่าอาณานิคมนั่นเอง
ล่าสุดทางประธานาธิบดีได้ออกจดหมายเชิญสมาชิกกลุ่ม G20 ที่ถูกสร้างเพื่อความร่วมมือทาง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี หรือแม้แต่การร่วมออก กฎหมายคริปโตเคอเรนซี่ ในระดับสากล เพื่อร่วมทานมือค้ำในวันที่ 9 กันยายน ที่จะถึงนี้โดยใช้ชื่อว่า “ภารตะ” แทน “อินเดีย” แล้ว แสดงให้เห็นจุดยืนที่ทางประเทศต้องการจะประกาศต่อเวทีโลกได้อย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่ใช่ประเทศแรกที่มีการขอเปลี่ยนชื่อ ก่อนหน้านี้มีประเทศอื่นๆ ที่ทำการเปลี่ยนชื่อด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น
Turkey เป็น Turkiye
Burma เป็น Myanmar
Czech Republic เป็น Czechia
Swaziland เป็น Eswatini
Ceylon เป็น Sri Lanka
Holland เป็น Netherlands
Persia เป็น Iran
การเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศเหล่านี้ ล้วนมีแรงผลักดันที่เหมือนๆ กันนั่นคือ การเปลี่ยนจาก “ชื่อที่ถูกตั้งให้” กลายเป็นชื่อเรียกที่สะท้อนอัตลักษณ์และประวัติศาสตร์ของคนในพื้นที่ที่พวกเขาต้องการตั้งเองนั่นเอง
โฆษณา