8 ก.ย. 2023 เวลา 05:02 • ความคิดเห็น
รู้ไหมว่า ความเป็นจริงแล้ว จิตใจของคนเรานั้นมันเสื่อมทรามขนาดไหน
คำว่าพฤติกรรมแบบไหน
บางทีมันอาจจะเป็นแค่ข้ออ้าง
จริงๆแล้วอาจไม่ชอบขี้หน้า
หรือนิสัยที่ชอบพูดความจริง
จนกระทั่งรับไม่ได้ จึงไม่อยากสอน
ไม่สอนงาน เพราะพฤติกรรมไม่ดี
บางทีอาจจะเป็นแค่เรื่องเล่าของตัวร้ายในบทบาทของการทำงาน และตัวร้ายก็จะเป็นตัวร้ายอยู่วันยังค่ำ ถ้าให้พระเอกเป็นผู้เล่าเรื่องแต่เพียงผู้เดียว
การทำงานในองค์กรทุกที่เลย มันมักจะมี step ในการทำงานของมันเสมอ เป็นขั้นตอนที่ระบบวางไว้ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานนั้นรันไปตามกระบวนการ แบบเป็นขั้นตอน โดยต้องเป็นกระบวนการที่สอดคล้องไปตามกฎหมาย โดยที่ไม่ใช้อำนาจที่เหนือกว่าในการบีบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องจำยอม โดยที่ขาดหลักการนิติรัฐ จนทำให้หลักการที่ควรจะเป็นนั้นผิดเพี้ยน ส่งผลทำให้ทรัพยากรบุคคลนั้นเกิดการ burn out หมดไฟที่จะพัฒนาศักยภาพที่แท้จริงออกมาได้
ผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงาน ก็คือมนุษย์คนหนึ่งที่เกิด วิภาวะตัณหา อันนี้คือความจริงของธาตุแท้ของคนเลยนะครับ
ถึงแม้ว่าพนักงานใหม่ จะนิสัยดีขนาดไหน ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาก่อน มักจะไม่ถ่ายทอดหรือสอนงานให้ทั้งหมด เพราะกลัวว่าคนอื่นจะมาแทนที่ตัวเอง ไม่เอาหลักการของส่วนรวมและประโยชน์ขององค์กรเป็นหลัก แต่กลัวว่าตัวเองจะไม่ได้ดี กลัวมีคนอื่นมาแทนที่ตัวเอง ซึ่งความจริงควรจะคิดว่าทุกคนในองค์กรควรแทนที่กันและกันได้หากขาดอีกคนไป นี่ต่างหากคือเป็นความคิดที่ถูกต้อง แต่ในชีวิตจริงนั้นมันโหดร้าย มีน้อยคนที่จะคิดได้แบบนี้
ผมเคยเป็นพนักงานทั้งเก่า-ใหม่ ผมจึงได้เห็นมาเยอะถึงธาตุแท้ตัวตนของบุคคลที่ซ่อนความสกปรก ไว้ในพฤติกรรมหลายอย่าง ที่มันบ่งบอกและสื่อออกมาได้อย่างชัดเจน
1. พนักงานเก่า มักเก๋าเกมและหาช่องโหว่บางอย่าง ที่มีความผิดซุกซ่อน และรวมหัวกันทำคอรัปชั่น เช่นแต่งบิลค่าที่พักโรงแรมให้ราคาแพงกว่าความเป็นจริงเพื่อกินส่วนต่าง หรือค่าเบี้ยเลี้ยงน้ำมันรถ หรือค่าเบี้ยประชุมของพนักงาน เช่นพนักงานผู้ใต้บังคับบัญชา มี 20 คน บริษัทให้ค่าหัวอาหารกลางวันคนละ 300 บาท แต่หัวหน้ากลับเลี้ยงอาหารแบบเหมาจ่ายรวมโต๊ะใหญ่ ในราคาที่ถูก แล้วกินส่วนต่าง แล้วแต่งบิลส่งบริษัท
เมื่อเราเป็นพนักงานใหม่ แน่นอนทักษะเหล่านี้มักถูกเก็บเป็นความลับ และไม่อยากให้เราเข้าถึงข้อมูลตรงนี้ โดยหาทางวิธีป้องกัน คือไม่ถ่ายทอดสอนงานบางอย่าง เพื่อไม่ให้เราไปสัมผัสถึงข้อมูลตรงนี้ทั้งหมด เพราะกลัวว่าตัวเองจะเสียประโยชน์จากความระยำบัดซบตรงนี้
2. โดนเทให้มืดแปดด้าน  เวลาบริษัทมีข่าวสารสำคัญที่ต้องแจ้งให้พนักงานทราบ แต่หัวหน้างานของเรากลับปิดบัง ไม่ให้รับรู้เรื่องราวที่เป็นประโยชน์ เช่นไม่ให้เข้าประชุม ไม่แจ้งข่าวสารในกิจกรรมต่างๆ แกล้งลืมบ้าง หนีหน้าเวลาเจอตัวบ้าง ทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว ไร้คุณค่า เพื่อให้เกิดความรู้สึกอ่อนหัด ถ้าไม่ถามก็ไม่บอก กดให้ต่ำ เจตนาให้เกิดความผิดพลาดแล้วซ้ำเติม เพื่อให้เกิดความรู้สึกด้อยค่า พอถามบ่อยๆก็โดนด่า คือถ้าขยับหน่อยก็เป็นผิดไปหมด
3. สอนงานให้ผิดเพี้ยนและขัดแย้งในทางกฎหมาย เช่น บริษัทว่าจ้างให้เราไปดูแลสินค้าและให้ความรู้ผลิตภัณฑ์กับลูกค้าในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง โดยการไปดีลกับห้างสรรพสินค้า เพื่อขอเข้าพื้นที่ เพื่อไปดูแลสินค้า และเช็ควันหมดอายุของผลิตภัณฑ์ และให้ความรู้ผลิตภัณฑ์กับลูกค้าที่ถูกต้อง โดยมีหน้าที่ชัดเจน แต่ผู้จัดการห้างสรรพสินค้าดันใช้งานผู้ที่มาดูแลสินค้าให้ไปทำอย่างอื่นที่นอกเหนือหน้าที่ ส่งผลทำให้เป้าหมายที่บริษัทตั้งไว้นั้นผิดเพี้ยน
เมื่อบริษัทส่ง supervisor มาตรวจงาน กลับพบว่าพนักงานที่บริษัทส่งมาเข้าพื้นที่ในห้างสรรพสินค้า ไม่ได้ทำหน้าที่ที่บริษัทให้ไว้
supervisor จึงทำการเขียนใบเตือน
ทั้งๆที่ supervisor ก็ไม่ได้แนะนำและสอนงานตามกระบวนการนิติรัฐทางกฎหมายให้กับพนักงานอย่างแท้จริง จึงทำให้พนักงานนั้นไม่รู้ความจริงในบทบาทหน้าที่ของตัวเอง จึงตกเป็นเหยื่อของผู้จัดการในห้างสรรพสินค้า ที่หลอกใช้พนักงานให้ไปทำประโยชน์อย่างอื่นแทน นี่คือความผิดของ supervisor ที่มีความขี้ขลาด ไม่กล้าดีลงาน หรือโต้แย้งใดๆ ในการช่วยเหลือพนักงานเลย ทั้งที่บริษัทเป็นผู้ว่าจ้างจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงาน ไม่ใช่ห้างสรรพสินค้าที่เป็นผู้จ่ายเงินเดือน
กรณีแบบนี้บริษัทเสียหายชัดเจน
4. ไม่อยากสอนงาน เพราะพนักงานใหม่อวดรู้ และทำตัวฉลาด จนเกินหน้าเกินตาของพนักงานเก่า กรณีแบบนี้คือความงี่เง่าครับผม ในกรณีแบบนี้นั้นมันมี step ในการทำงานอยู่ เมื่อพนักงานใหม่มีความรู้ความสามารถ เราก็ให้คำแนะนำตามสมควร แล้วก็ปล่อยไป แต่หากเกิดความผิดพลาด เราก็ชี้ให้เห็น แล้วต้องมีหลักฐานที่แท้จริง โดยไม่ใช้อารมณ์และรับมืออย่างมีวุฒิภาวะ โดยที่ไม่ห่วงความรู้หรือกลัวว่าคนอื่นจะมาแทนที่ตัวเอง
5. ไม่ให้พนักงานทำซ้ำ บ่อยครั้งในการทำงานจะประเมินหลักการในการทำงานแค่ไม่กี่ครั้ง ทั้งที่ความจริงแล้ว ทักษะในการทำซ้ำๆนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะความเชี่ยวชาญที่แท้จริงต้องเกิดจากการทำซ้ำๆเหมือนกับนักกีฬาที่หมั่นฝึกฝนศักยภาพร่างกายบ่อยๆ จนเกิดความชำนาญอย่างแท้จริง แต่กลับถูกสอนงานแค่ครั้งเดียว โดยที่ไม่ให้ถามต่อ ฝึกงานแล้วก็ประเมินทันที โดยให้ข้ออ้างว่าสอนแล้ว บอกแล้ว แต่เขาทำไม่ได้
เพราะความจริงของมนุษย์แล้ว กระบวนการเรียนรู้นั้นต่างกัน ช้าเร็วต่างกัน แต่ทุกคนสามารถทำได้ หากได้รับทักษะในการฝึกฝนแบบซ้ำๆ โดยผู้ที่ให้คำแนะนำนั้นต้องมีวุฒิภาวะ ไม่รำคาญหรืออารมณ์เสียด่าว่าเมื่อพนักงานใหม่ตั้งคำถาม และให้ระยะเวลาตามเกณฑ์ที่กำหนดที่บริษัทวางไว้ ทุกคนสามารถทำได้เหมือนกันทุกๆคนแน่นอน และควรมีการจัดสัมมนาส่งเสริมศักยภาพความรู้ให้กับพนักงานด้วย
ไม่มีอะไรหรอกที่มนุษย์ทำไม่ได้ ยกเว้นเสียว่าไม่ทำ เท่านั้น หรือคนที่ทำไม่ได้ ก็คือคนที่หูหนวกตาบอดเท่านั้นครับ
ถ้าเราผ่านพ้นอุปสรรคทั้งหมดมาได้ โดยที่ไม่มีใครสอนงานอย่างแท้จริงเลย และไม่มีใครแนะนำอะไรเลย เมื่อเราค้นพบว่า เราสามารถทำเองได้ เมื่อนั้นเราจะกลายเป็นคนที่อันตรายที่สุดในสายตาของพวกเขา คุณเชื่อไหม
โฆษณา