8 ก.ย. 2023 เวลา 08:22 • การศึกษา

ละเมิดของเจ้าหน้าที่?

สวัสดีครับท่านผู้อ่านห่างหายกันไปนานวันนี้ทางเราpubilc law caseกลับมาแล้วนะครับ
วันนี้เราจะมาเล่าเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ครับ
ครับอย่างที่ทราบกันการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐจะทำการใดย่อมต้องมีกฎหมายให้อำนาจในการกระทำนั้นๆครับและในการกระทำนั้นๆนะครับไม่ว่าจะอาศัยอำนาจทางกฎหมายออกไปในรูปของ
กฎก็ดี(มีผลในภาพรวมกับทุกคน)
คำสั่งทางปกครองก็ดี(มีผลเฉพาะรายเป็นคนๆเช่นการให้เกรดเฉลี่ยเด็กนักเรียน)
การกระทำอื่นหรือจะเรียกว่าการกระทำทางกายภาพ(เช่นเทศบาลนำรถขยะมาเก็บขยะ)
เหล่านี้ล้วนเป็นหน้าที่หรือพันทกิจภารกิจของหน่วยงานรัฐที่ต้องทำบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์สาธารณะแก่ประชาชน
ซึ่งในการกระทำการต่างๆของรัฐก็อาจจะเกิด
"ละเมิด"เกิดขึ้นได้ครับ
แล้วละเมิดในทางปกครองเอาเข้าจริงคืออะไร?
เรื่องนี้มีการวางหลักอยู่ในพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ครับ
โดยเราจะต้องเริ่มวิเคราะห์ก่อนครับผู้กระทำเป็นเจ้าหน้าที่หรือเป็นหน่วยงานรัฐตามกฎหมายได้กำหนดหรือไม่ครับ(กฎหมายในที่นี่คือพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่)
โดยตามมาตรา4ของพรบ.ฉบับนี้วางหลักการทางกฎหมาย ว่าหน่วยงานรัฐหมายถึง กระทรวงทบวงกรมส่วนราชการอื่นที่มีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจที่ได้ถูกตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติฉบับนี้หรือพระราชกฤษฎีกา และก็ยังให้หมายความรวมถึงหน่วยงานรัฐที่พระราชกฤษฎีกากำหนด
ให้เป็นหน่วยงานรัฐตามพระราชบัญญัติฉบับนี้
สรุปง่ายๆครับหน่วยงานตามกฎหมายฉบับนี่คือไล่ตั้งแต่กระทรวง20กระทรวงไปจนถึงรัฐวิสาหกิจอาทิการไฟฟ้าเลยครับ
 
เจ้าหน้าที่ก็ย่อมต้องเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจในการกระทำการนั้นๆตามกฎหมายครับโดยจะหมายถึง ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฎิบัติงานประเภทอื่นซึ่งกรณีเกิดละเมิดนั้นอาจเกิดจาก
 
เจ้าหน้าที่"จงใจ"ทำละเมิด
โดยจงใจหมายถึง ทำโดยรุ้สำนึกว่าการกระทำที่ตนทำลงไปจะสร้างความเสียหายให้คนอื่นนะครับ
ส่วนประมาทเลินเล่อในกฎหมายฉบับนี้จะหมายถึง
ผู้กระทำได้ทำลงไปโดยขาดเจตนาในการกระทำครับเพียงแต่ละเมิดที่เกิดนั้นมาจากการที่ผู้กระทำ ได้กระทำโดยขาดความระมัดระวังครับ
ซึ่งความระมัดระวัง ที่ผมพูดในที่นี้จะพิจารณาจาก
1.วิสัย
2.พฤติการณ์
 
ที่บุคคลในภาวะนั้นๆควรมีครับแต่ผู้กระทำในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐก็ไม่ได้มีความระมัดระวังต่อเหตุดังกล่าว
ซึ่งกรณีที่ผมกล่าวในข้างต้นเป็นเรื่องที่เกิดละเมิดจากการที่เจ้าหน้าที่กระทำครับ แต่ก็จะมีอีกกรณีที่เป็นปัญหาทางเทคนิคคือเกิดละเมิดจาการที่เจ้าหน้าที่ไม่กระทำการครับ
กรณีนี้จะมี key points ที่สำคัญคือเจ้าหน้าที่ได้ละเลยในการปฎิบัติหน้าที่ หรือได้ปฎิบัติหน้าที่ไปโดยล่าช้าเกินที่สมควรจะเป็นครับ
ซึ่งกรณีล่าช้าจะหมายถึงว่าได้ทำหน้าที่แล้วแต่ทำไม่เสร็จภายใต้ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ เช่นกฎหมายกำหนดให้ออกคำสั่งภายใน15วันแล้วเจ้าหน้าที่ไปออกในระยะเวลา20วัน
และก็อาจมีอีกกรณีคือกำหนดว่าให้แล้วเสร็จในระยะเวลาอันควรครับ
ซึ่งในระยะเวลาอันควรในทางราชการตามที่ศาลปกครองสูงสุดตีความคือ ไม่เกิน90วันครับ
ท้ายที่สุดนี้ครับเมื่อเราถูกเจ้าหน้าที่รัฐกระทำละเมิดเราต้องฟ้องต่อหน่วยงานที่กระทำละเมิดต่อเราครับโดยฟ้องในศาลปกครองที่มีเขตอำนาจครับ
และหลังจากที่เราฟ้องแล้วศาลมีคำสั่งให้หน่วยงานชดใช้ประชาชนที่ถูกละเมิดหลังจากนั้นแล้วกระบวนการในหน่วยงานจะมีการไล่เบี้ยเอาจากเจ้าหน้าที่ ที่ก่อละเมิดขึ้นถ้าเข้าเงื่อนไขว่า
เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงครับ(ซึ่งเรื่องนี้จะอยุ่ที่ดุลพินิจ)
ตัวอย่างเช่น พนักงานขับรถ ขับด้วยความเร็วสูงมากๆขณะที่กำลังขับไปรับนายอำเภอแบบหน่วยงานต้นสังกัดจะสามารถเรียกร้องต่อพนักงานขับรถที่ขับเร็วได้ครับ
เอกสารอ้างอิง
เอกสารประกอบคำบรรยายกฎหมายปกครองของรศ.บุญชู ณ ป้อมเพ็ชร แห่งคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โฆษณา