Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ชาวเป็ด
•
ติดตาม
8 ก.ย. 2023 เวลา 09:02 • การศึกษา
เราควรเชื่อในพรสวรรค์ หรือ พรแสวง
“พรสวรรค์” มักเป็นคำที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่ออธิบายคาวมสามารถของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เวลาที่เราเห็นใครทำอะไรได้ดีมาก มากเสียจนเรามองไม่เห็นทางเลยว่า เราจะพัฒนาตัวเองต่อไปทำไม แล้วเราควรเชื่อในพรสวรรค์ หรือ พรแสวง ดีล่ะ
และเมื่อใดก็ตามที่เราเปรียบเทียบพรสวรรค์กับผู้อื่น ก็มักมีประโยคฝังหัว ผุดขึ้นมาเสมอว่า “พรสวรรค์ สู้พรแสวงไม่ได้หรอก ต้องพยายามสิ” แต่สุดท้ายหลายคนก็ท้อแท้ เพราะเชื่อว่ามันก็ต้องอาศัยพรสวรรค์อยู่ดี
บทความนี้ ชาวเป็ดเลยอยากชวนคุยเรื่องแนวคิดฝังหัวของ พรสวรรค์ และ พรแสวง ในสังคมเราว่า สองแนวคิดนี้มีที่มาอย่างไร ซึ่งทั้งสองจัดอยู่ในหมวดปรัชญาจิต หรือ Philosophy of mind ครับ
แนวคิดพรสวรรค์ ที่อยู่ใน ลัทธิธรรมชาตินิยม (Innatism) จะเชื่อว่ามนุษย์มีความรู้ความสามารถที่ติดตัวมาแต่กำเนิด รวมถึงเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนได้รับความรู้แห่งพระเจ้า (knowledge of God) ก่อนกำเนิด โดยแนวคิดนี้ได้รับความนิยมตั้งแต่ในอดีตจากนักปรัชญาผู้มีชื่อเสียง ได้แก่ เดการ์ต และเพลโต้ และนั่นคือที่มาของพรสวรรค์ ครับ
ส่วนแนวคิดพรแสวง ใกล้เคียงกับแนวคิดประจักษ์นิยม (Empiricism) ที่มองด้านจุดกำเนิดของความรู้ และเชื่อว่ามนุษย์เรียนรู้จากประสาทสัมผัสเพื่อให้เกิดประสบการณ์ โดยผู้ที่เป็นตัวตั้งตัวตีในการแย้งแนวคิดพรสวรรค์จากพระเจ้าคือ จอห์น ล็อก (John Locke) นักปรัชญายุคศตวรรษที่ 17 ที่เรามักรู้จักกันในแวดวงการเมืองและเป็นบิดาแห่งระบอบประชาธิปไตย
ล็อกได้โต้แย้งว่า มนุษย์เปรียบเหมือน กระดานเปล่า ตั้งแต่กำเนิด โดยใช้คำว่า “Tabula Rasa” ในภาษาละตินที่แปลว่า blank slate ที่พร้อมจะถูกขีดเขียนอะไรลงไปก็ได้หลังการเกิด เป็นที่มาของการถกเถียงระหว่าง ธรรมชาติ (Nature) และ การเลี้ยงดู (Nurture) ซึ่งก่อให้เกิดบุคลิกภาพ พฤติกรรมทางสังคมและอารมณ์ ความรู้ ลความฉลาด
นักปรัชญาถกเถียงกันว่า มนุษย์มีความรู้ก่อนกำเนิดหรือไม่
ในปัจจุบัน แนวคิดหลายอย่างถูกพัฒนาเข้าด้วยกัน รวมถึงพฤติกรรมศาสตร์ ถูกสะท้อนและผสมกลมกลืนออกมาในหลากหลายรูปแบบ เช่น แบบทดสอบบุคลิกภาพ
แบบทดสอบบุคลิกภาพจำนวนหนึ่งได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดพรสวรรค์ ที่ใกล้เคียงกับ ลัทธิธรรมชาตินิยม โดยพยายามอธิบายว่ามนุษย์มีพรสวรรค์ใด เพื่อจะพัฒนาหรือรับเข้าทำงานในองค์กรในตำแหน่งที่เหมาะสม
แม้กระทั่งในประเทศไทยเอง จะเห็นได้ว่ามีความพยายามในการประยุกต์แบบทดสอบพรสวรรค์ในเยาวชน (ผู้ซึ่งยังหาแนวทางของตนไม่พบ) เพื่อหาทางออกในการเลือกวิชาเรียน และมหาวิทยาลัย เป็นไปได้ว่า เกิดจากความเชื่อและวัฒนธรรมไทยที่ได้รับอิทธิพลจากการดูดวง ชะตา และกรรมเก่าแต่กำเนิด (โหราศาสตร์แบบพราหมณ์) เช่นกัน
1
อย่างไรก็ตาม แนวคิดในด้านการพัฒนา (Development) มีความแข็งแรงและได้รับความนิยมบนพื้นฐานของเหตุผลในปัจจุบันด้วยกระแสสังคมแนววิทยาศาสตร์ แนวคิดธรรมชาตินิยมระยะหลังจึงพยายามอธิบายอย่างเป็นกลางว่า “แม้มีพรสวรรค์ แต่ต้องมีพรแสวงเช่นกัน”และพยายามปฏิเสธแนวคิดลัทธิธรรมชาตินิยม แม้ใจลึก ๆ จะเชื่อเช่นนั้นก็ตาม
แม้ ‘พรสวรรค์’ จะดูเป็นเส้นทางที่ขัดขวางการพัฒนา แต่การปฏิเสธทั้งหมดเท่ากับเป็นการสร้างปฏิปักษ์ต่อความเชื่อในสังคมและเป็นการมองไม่รอบด้าน ซึ่งแม้พรสวรรค์อาจดูมีกรอบมากกว่า แต่หากก่อให้เกิดการพัฒนา ก็อาจเป็นที่ยอมรับได้ในสังคมไทย
สุดท้ายนี้ เราต้องลองสำรวจตนเองดูครับว่า เราเชื่อในลัทธิธรรมชาตินิยมแบบพรสวรรค์ หรือ เชื่อในพรแสวงแบบประจักษ์นิยม และถ้าหากคุณเป็นผู้หนึ่งที่เคย “ดูดวง” แล้วถามหมอดูว่า เหมาะกับอาชีพอะไร ก็คงเดาไม่ยากครับ ว่าความเชื่อของคุณอยู่ฝั่งใด.
ปรัชญา
ความคิดเห็น
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย