Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
aomMONEY
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
8 ก.ย. 2023 เวลา 12:30 • ความคิดเห็น
ถอดบทเรียน Suzy Batiz ล้มละลาย 2 ครั้ง ก็เป็นเศรษฐีได้
10 แนวคิดเปลี่ยนหนี้สินเป็นรายได้
หลายคนอาจคิดว่าความล้มเหลวคือความผิดพลาดของชีวิต แต่จริงๆ แล้วมันสามารถเป็นแรงผลักดันให้คุณมุ่งไปสู่ความสำเร็จได้เช่นกัน Suzy Batiz คือนักธุรกิจหญิงผู้ประสบความสำเร็จและเคยล้มละลายถึง 2 ครั้งครับ
#Batiz #เศรษฐีผู้เคยล้มละลายถึง2ครั้ง
Suzy Batiz หญิงสาวชาวอเมริกันผู้มีสินทรัพย์ในครอบครองมูลค่า 240 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 7,326,120,000 บาท) กว่าที่เธอจะประสบความสำเร็จได้ขนาดนี้เธอก็เคยเป็นบุคคลล้มละลายมาก่อน
ครั้งหนึ่งเมื่อตอนเธออายุ 19 ปี เธอได้ซื้อกิจการร้านทำผมสำหรับเจ้าสาวที่ Jonesboro โดยยืมเงินจากครอบครัวและกู้ยืมจากธนาคารเป็นจำนวนเงินทั้งหมด 40,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1,221,020 บาท) แต่ทว่าธุรกิจกลับไม่เป็นใจ ไม่มีใครใช้บริการร้านเธอเลย ทำให้เธอกลายเป็นบุคคลล้มละลายตั้งแต่อายุ 20 ปี
1
ต่อมา ในปี 2000 เธอก็ได้กลับมาตั้งต้นทำธุรกิจใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยสร้างเว็บไซต์ช่วยหาพนักงานสำหรับบริษัทต่างๆ ซึ่งเธอได้นำเงินที่เธอเก็บสะสมทั้งหมดมาลงทุนในธุรกิจนี้
ทว่าความโชคร้ายก็ยังไม่หมดไป เพราะเธอต้องพบกับวิกฤตฟองสบู่ที่นักลงทุนเก็งกำไรมากเกินไป จนทำให้ในช่วงนั้นเศรษฐกิจย่ำแย่ สุดท้ายแล้ว Batiz ก็ต้องกลับมาละลายอีกเป็นครั้งที่ 2
หลังจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา จึงทำให้เธอตัดสินใจว่าจะไม่ทำธุรกิจหรือลงทุนอีกต่อไป จุดเปลี่ยนของเธอก็เกิดขึ้นในปี 2006 เมื่อเธอได้กลิ่นไม่พึงประสงค์จากห้องน้ำที่บ้านและเกิดความคิดที่อยากจะทำน้ำหอมสำหรับห้องน้ำขึ้น ทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ ชื่อ Poo-Pourri ครับ
Poo-Pourri คือน้ำหอมที่ฉีดลงในถังชักโครกก่อนขับถ่าย ซึ่งจะทำให้ช่วยดับกลิ่นอันไม่พึงประสงค์และยังเป็นมิตรต่อผู้ใช้คนถัดไป ผลิตภัณฑ์นี้สามารถสร้างยอดขายในปีแรกได้สูงถึง 1,000,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 30,548,500 บาท)
ทำให้ Batiz มีกำลังใจที่อยากจะฮึดสู้ทำธุรกิจอีกครั้งหนึ่ง จนปัจจุบันเธอได้กลายมาเป็นนักธุรกิจหญิงผู้ประสบความสำเร็จรายได้หลักล้านครับ
แม้ว่าเราจะล้มเหลวสักกี่ครั้งแต่โอกาสที่เราจะประสบความสำเร็จก็ยังไม่ได้หมดไปนะครับ อย่างที่เขาบอกกัน หน้าต่างบานหนึ่งปิดก็จะมีหน้าต่างบานอื่นเปิดให้เราเสมอนะ ทุกวันนี้ ปัญหาหนี้สินยังเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกยุคทุกสมัย ถ้าเรามีหนี้สินแล้วเราจะทำอย่างไรถึงจะสามารถ เปลี่ยนหนี้สินให้กลายเป็นรายได้
#10แนวคิดเปลี่ยนหนี้สินเป็นรายได้
✅1. ใช้เวลาให้คุ้มแล้วหยุดที่คำว่ารวย
หลายๆคนมักจะเลือกใช้เวลาว่างให้หมดไปกับการเดินทาง ดูหนัง หรือ ชอปปิ้ง แต่คุณรู้ไหมครับว่าเวลาที่คุณกำลังใช้จ่ายอยู่นั้นมันมีค่ามากแค่ไหน
หากคุณบริหารเวลาชีวิตให้ดี ทุ่มเท ตั้งใจกับงานตรงหน้า หางานพิเศษเพิ่มบ้าง ไม่ปล่อยเวลาให้หมดเปลืองไปอย่างเปล่าประโยชน์ แม้มันอาจจะลำบากในตอนนี้ แต่เชื่อเถอะครับว่าวันข้างหน้าจะสบายอย่างแน่นอน
✅2. รวยไม่ได้ถ้าไม่มีระบบ
สาเหตุหนึ่งที่คนส่วนใหญ่มักจะประสบปัญหาหนี้สินเพิ่มขึ้น เกิดจากจากการมีระบบทางการเงินที่ไม่ดี เนื่องจากว่าหลายๆคนมักเลือกที่จะรวบรวมบัญชีค่าใช้จ่าย,เงินออม,ส่วนตัว เข้าด้วยกัน จนทำให้เข้าใจผิดคิดว่าตนเองนั้นมีเงินจำนวนมากและใช้จ่ายอย่างไม่ระมัดระวัง จนในที่สุดก็ทำให้เกิดหนี้สินตามมาโดยที่ไม่รู้ตัว
วิธีการที่จะสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้คือ คุณจะต้องมีการจัดทำงบประมาณและแยกบัญชีแต่ละประเภทออกจากกัน เพื่อให้มีระเบียบทางการเงินที่ดีขึ้นครับ
✅3. ยิ่งเป็นหนี้ยิ่งต้องประหยัด
ยิ่งมีภาระหนี้ที่ค้างชำระมากแค่ไหนก็จะต้องยิ่งประหยัดมากขึ้นเท่านั้นครับ เนื่องจากว่าชีวิตมีความไม่แน่นอน เราจึงจำเป็นจะต้องมีการประหยัดค่าใช้จ่ายไว้ก่อนเสมอ เพราะหนี้สินเป็นเรื่องที่แน่นอนว่าต้องจ่ายในทุกเดือน หากคุณชำระหนี้ให้หมดได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างโอกาสที่จะปลดหนี้ได้เร็วขึ้นเท่านั้นครับ
✅4. เลือกใช้สูตร 20 – 40 – 40
โดยสูตรนี้คือการแบ่งเงินออกมา 20% ของรายได้ในแต่ละเดือนมาแบ่งออม และนำอีก 40% ไปจ่ายชำระหนี้ที่ยังค้างชำระอยู่ และนำส่วนที่เหลืออีก 40% ไปเป็นค่าใช้จ่าย
หาก 40% ไม่เพียงพอต่อการจ่ายชำระหนี้ของแต่ละเดือน ให้เริ่มด้วยการปรับลดค่าใช้จ่ายให้น้อยลงมาอีก เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ และค่อยปรับลดตัวเลขการออมเป็นลำดับสุดท้ายครับ
✅5. รถและบ้านไม่ใช่สินทรัพย์เสมอไป
หลายคนมักคิดว่าบ้านหรือรถเป็นสิ่งของที่จะต้องมีสักครั้งหนึ่งในชีวิต แต่ถ้าหากว่าวันนึงคุณซื้อของเหล่านี้อย่างไม่ไตร่ตรอง มันก็สามารถที่จะย้อนกลับมาทำร้ายคุณได้เช่นกันครับ
ยกตัวอย่าง หากคุณซื้อบ้านมาและจะต้องผ่อนชำระเดือนละ 7,000 บาท โดยที่คุณไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรเลยแสดงว่าคุณกำลังซื้อหนี้สินครับ แต่ถ้าหากว่ามีการนำบ้านไปปล่อยเช่าและได้รับเงินเดือนละ 10,000 บาท นั่นแปลว่าคุณกำลังซื้อทรัพย์สินครับ เพราะมีกำไรเพิ่มเติมมา 3,000 บาท ดังนั้น ก่อนที่จะทำการซื้ออะไรต้องมีการไตร่ตรองให้ดีก่อนครับ ไม่ต้องรีบ
✅6. ศึกษาหาความรู้
ปัญหาทางการเงินต้องแก้ด้วยความรู้ทางการเงินครับ เพราะถ้าไม่รีบแก้ที่ต้นน้ำก็จะไม่สามารถหยุดการเกิดปัญหาเหล่านี้ได้ การที่คุณมีความรู้ทางการเงินไม่เพียงแค่จะช่วยให้คุณรู้ว่าอะไรควรไม่ควร แต่คุณจะสามารถที่จะสร้างรายได้เพิ่มเติมผ่านความรู้ด้านการลงทุนได้อีกด้วยครับ
✅7. สร้างรายได้ให้มากกว่า 1 ช่องทาง
รายได้ทางเดียวนั้นมันอาจจะน้อยไปหากใน 1 เดือนต้องกิน ต้องใช้และใช้จ่ายชำระหนี้ การมีรายได้มากกว่า 1 ช่องทางจะช่วยทำให้คุณนั้นมีเงินมากพอที่จะชำระหนี้ได้อย่างไม่ลำบากและรวดเร็วมากยิ่งขึ้นครับ
✅8. เปลี่ยนสินทรัพย์เป็นเงินทุน
เปลี่ยนสินทรัพย์ให้เป็นเงินทุนสำรองเพื่อที่จะสามารถนำไปหมุนเวียนและชำระหนี้ได้ หากทรัพย์สินนั้นยังไม่จำเป็นที่จะต้องใช้และมีมูลค่ามากพอ อย่างโทรศัพท์มือถือ , โน็ตบุ๊ค , พระเครื่อง , ทอง , เพชร ก็ให้นำสินทรัพย์เหล่านั้นเปลี่ยนเป็นเงินทุนก่อนก็ได้ครับ
✅9. ต้องซื่อสัตย์ต่อตัวเอง
ระบุจำนวนที่ทั้งหมดที่ค้างชำระ และรวบรวมหนี้ทั้งหมดว่าตัวเราเองมีหนี้อะไรบ้าง ยอดหนี้ที่ต้องจ่ายทั้งหมดมีเท่าไหร่ มีหนี้นอกระบบไหม แจกแจงออกมาให้ครบไม่ว่ามากหรือน้อย เพื่อที่จะได้วางแผนชำระหนี้ได้ถูกต้อง โดยต้องซื่อสัตย์กับตัวเองนะครับ ห้ามมีการคิดว่าหนี้ก้อนนี้ยังไม่ต้องรีบชำระเลยไม่เลือกจะวางแผน ห้ามเด็ดขาด
✅10. สร้างโอกาสหลังจากชำระหนี้หมด
หลังจากที่คุณชำระหนี้หมดแล้ว จะถือเป็นโอกาสที่คุณจะได้กลับมาตั้งต้นเริ่มใช้ชีวิตใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยสิ่งแรกที่ควรทำหลังจากชำระหนี้หมดคือการวางแผนทางการเงินครับ เพื่อหาช่องทางสร้างรายได้ ลดรายจ่าย และหาโอกาสที่จะเพิ่มสินทรัพย์ให้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดสภาพคล่องและทำให้คุณมีฐานะทางการเงินที่มั่นคงปราศจากหนี้สินเพิ่มเติมครับ
สำหรับใครที่อยากจะเปลี่ยนหนี้สินให้กลายเป็นรายได้ ก็สามารถนำแนวคิดเหล่านี้ไปปรับใช้กันได้เลยนะครับ ทุกอย่างสามารถทำได้หากเรามีการวางแผนที่ดี หรือใครที่ทำธุรกิจแล้วกลัวความล้มเหลวก็ไม่ต้องกังวลไปนะครับ เพราะว่าโอกาสของคุณต้องมาถึงในสักวันอย่างแน่นอน สู้ๆครับ
#aomMONEY #SuzyBatiz #ถอดบทเรียน #ความสำเร็จ #ความล้มเหลว #เศรษฐี
12 บันทึก
14
5
12
14
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย