Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เก่งทรัพย์ NPA กับ DVP
•
ติดตาม
9 ก.ย. 2023 เวลา 16:32 • ธุรกิจ
The perfect guideline for Warehouse Proposal
กว่า 20 ปีที่ดำเนินธุรกิจขายอสังหาริมทรัพย์
DVP รับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้แก่ผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจ
ในการสร้างแผนธุรกิจเพื่อเริ่มต้นและขยายธุรกิจอยู่พอสมควร
สำหรับผู้ประกอบการส่วนมาก
มักจะไม่คุ้นเคยกับการสร้างแผนธุรกิจประเภทคลังสินค้า
ในบทความนี้ DVP จะมาแบ่งปันวิธีเขียน
แผนธุรกิจคลังสินค้าและโรงงานทีละขั้นตอน
เพื่อให้ผู้ที่สนใจใช้เป็นแบบร่างในการพัฒนาแผนธุรกิจของตนเองได้ตั้งแต่วันนี้
สรุป 10 หัวข้อในการเขียนแผนธุรกิจ
1.
Executive Summary บทสรุปผู้บริหาร
2.
Company Overview ภาพรวมของบริษัท
3.
Industry Overview บทวิเคราะห์อุตสาหกรรม
4.
Customer Analysis บทวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า
5.
Competitive Analysis บทวิเคราะห์คู่แข่ง
6.
Marketing Plan แผนการตลาด
7.
Operation Plan แผนปฏิบัติการ
8.
Management Team ทีมผู้บริหาร
9.
Financial Plan แผนทางการเงิน
10.
Appendix ภาคผนวก
ทั้งหมดนี้คือ 10 หัวข้อที่ทุกแผนธุรกิจจะต้องมี
มาดูวิธีการเขียนแผนธุรกิจสำหรับคลังสินค้ากัน
#1 Executive Summary [บทสรุปผู้บริหาร]
เป็นการบรรยายสรุปรายละเอียดหลักของเนื้อหาในเอกสารทุกหัวข้อ
เอามานำเสนอไว้ในบทนี้ให้ครบและสั้นกระชับแต่เข้าใจง่ายที่สุด
ตามปกติแล้ว มักจะเขียนเป็นส่วนสุดท้าย
เนื่องจากเป็นการสรุปข้อมูลส่วนสำคัญในแต่ละส่วนของแผนธุรกิจที่จะนำเสนอ
หน้าที่ของ Executive Summary
คือ ดึงดูดผู้อ่านให้เข้าใจได้มากและไวที่สุด
เทคนิคการเขียน Executive Summary
อธิบายให้เข้าใจถึงประเภทของธุรกิจคลังสินค้าที่กำลังดำเนินอยู่
พร้อมสถานะปัจจุบัน เช่น
●
เป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีธุรกิจคลังสินค้าพร้อมขยายการเติบโต
●
เป็นธุรกิจคลังสินค้าแบบที่มีกลุ่มผู้บริหารรายใหญ่คอยดูแลอยู่
จากนั้น ขยายภาพรวมของแต่ละส่วนในแผนธุรกิจ ดังนี้
✓
ภาพรวมอุตสาหกรรมคลังสินค้าและโรงงาน
✓
ประเภทธุรกิจคลังสินค้าที่กำลังดำเนินธุรกิจอยู่
✓
บทวิเคราะห์คู่แข่งทางตรง และภาพรวมกลุ่มตลาดเป้าหมาย
✓
ภาพรวมกลยุทธ์ทางการตลาดและทีมงานคนสำคัญ
✓
ภาพรวมของแผนการเงินในปัจจุบัน
#2 Company Overview [ภาพรวมของบริษัท]
คือบทบรรยายเกี่ยวกับประเภทธุรกิจคลังสินค้าที่กำลังดำเนินการอยู่
เช่น ผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจคลังสินค้าประเภทใดใน 5 ประเภทนี้
★
ศูนย์กระจายสินค้า [Distribution Centers]
★
คลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิ [Climate-Controlled Warehouses]
★
คลังสินค้าอัจฉริยะ [Smart Warehouses]
★
คลังสินค้าทัณฑ์บน [Bonded Warehouses]
★
คลังรวบรวมสินค้า [Consolidated Warehouses]
มาดูคำอธิบายของคลังสินค้าทั้ง 5 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1) ศูนย์กระจายสินค้า [Distribution Centers]
เป็นสถานที่ขนาดใหญ่ที่บรรจุสินค้าปริมาณมากในช่วงเวลาสั้นๆ
จากผู้ผลิตสินค้าหลายราย เพื่อขนส่งไปยังลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
ประเภทที่ 2) คลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิ [Climate-Controlled Warehouses]
เป็นผู้เชี่ยวชาญการจัดเก็บสินค้าที่ไวต่ออุณหภูมิ
เช่น อาหารแช่แข็ง ผักผลไม้ และสินค้าเน่าเสียง่าย
ประเภทที่ 3) คลังสินค้าอัจฉริยะ [Smart Warehouses]
ทำงานบนระบบ AI เพื่อทำให้กระบวนการจัดเก็บ
จัดระเบียบ และขนส่งสินค้าเป็นไปแบบอัตโนมัติ
ประเภทที่ 4) คลังสินค้าทัณฑ์บน [Bonded Warehouses]
เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดเก็บสินค้านำเข้า
ประเภทที่ 5) คลังรวบรวมสินค้า [Consolidated Warehouses]
เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการรับพัสดุขนาดเล็กจากผู้ผลิตสินค้าหลายราย
และจัดกลุ่มเข้าด้วยกันเป็นกองใหญ่เพื่อจัดส่งต่อให้แก่ผู้ซื้อ
นอกจากคำอธิบายประเภทธุรกิจคลังสินค้าที่กำลังดำเนินการอยู่แล้ว
จะต้องให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับธุรกิจเพิ่มอีกด้วย เช่น
★
เริ่มธุรกิจเมื่อไร และทำไมถึงเริ่มธุรกิจนี้
★
Milestone ที่ผ่านมาได้บรรลุเป้าหมายสำคัญอะไรมาแล้วบ้าง เช่น จำนวนลูกค้าที่ให้บริการ, จำนวนการจัดส่งทั้งหมดที่ผ่านมา, รายได้รวมสูงสุดต่อปี ฯลฯ
★
อธิบายโครงสร้างของประเภทธุรกิจว่าอยู่ในหมวดใด เช่น S-Corp, LLC, ฯลฯ
#3 Industry Overview [บทวิเคราะห์อุตสาหกรรม]
เขียนบทวิเคราะห์อุตสาหกรรม
หรือเขียนตลาดภาพรวมของอุตสาหกรรมคลังสินค้า
บทสำคัญที่ต้องมี เพื่อตอบ 3 เหตุผลหลักนี้
1.
ค้นคว้าเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจของตลาดอุตสาหกรรมคลังสินค้าที่กำลังดำเนินธุรกิจอยู่
2.
วิจัยตลาดเพื่อปรับปรุงกลยุทธ์ทางการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากบทวิเคราะห์นั้นสามารถชี้แนวโน้มของตลาดได้
3.
พิสูจน์ให้ผู้อ่านเห็นถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนี้ จากวิธีการดำเนินการวิจัยและวิธีการนำเสนอในแผนธุรกิจนั่นเอง
บทวิเคราะห์อุตสาหกรรม ควรตอบคำถามดังต่อไปนี้
★
อุตสาหกรรมคลังสินค้ามีมูลค่าทางการตลาดเป็นเท่าไร (ดอลลาร์หรือบาท)
★
การเติบโตในภาพรวมของตลาด กำลังลดลงหรือเพิ่มขึ้น
★
คู่แข่งที่สำคัญที่สุดในตลาดนี้คือใครบ้าง
★
ผู้ผลิตสินค้ารายหลักในตลาดคือใครบ้าง
★
แนวโน้มที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมคลังสินค้ามีอะไรบ้าง
★
คาดการณ์การเติบโตของอุตสาหกรรมในอีก 5-10 ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร
★
ประเมินขนาดของตลาดทั่วไทย วัดกับขนาดประชากรในท้องถิ่น และคำนวณเป็นตลาดเป้าหมายที่มีศักยภาพที่ทำให้ธุรกิจคลังสินค้ายังคงมีความเป็นไปได้
#4 Customer Analysis [บทวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า]
การวิเคราะห์ลูกค้าในแผนธุรกิจคลังสินค้า
ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับกลุ่มลูกค้า
ที่จะให้บริการ และ/หรือ คาดว่าจะให้บริการ
กลุ่มลูกค้าที่เลือก ส่งผลอย่างมากต่อประเภทธุรกิจคลังสินค้า
เพราะแต่ละกลุ่มตอบสนองต่อแผนส่งเสริมการตลาดที่แตกต่างกัน
โดยแยกลูกค้ากลุ่มเป้าหมายออกเป็น 2 หมวด ดังนี้
1.
ตามหลักประชากรศาสตร์
2.
ตามหลักจิตวิทยา
หมวดที่ 1) แบ่งตามหลักประชากรศาสตร์ของผู้มีโอกาสเป็นลูกค้า
✓
ข้อมูลประชากร
✓
อายุ
✓
เพศ
✓
สถานที่
✓
ระดับรายได้
หมวดที่ 2) แบ่งตามหลักจิตวิทยาของกลุ่มลูกค้า
ไว้ใช้อธิบายความต้องการและสิ่งที่ต้องมีของลูกค้าเป้าหมาย
ยิ่งรับรู้และกำหนดความต้องการเหล่านี้ไดมากเท่าไร
จะยิ่งดึงดูดลูกค้าใหม่และรักษาฐานลูกค้าเดิมได้ดีขึ้นเท่านั้น
#5 Competitive Analysis [บทวิเคราะห์คู่แข่ง]
มีไว้เพื่อระบุคู่แข่งทางตรงและทางอ้อมที่ธุรกิจกำลังเผชิญอยู่
จากนั้น มุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์คู่แข่งทางอ้อม
คู่แข่งทางตรง คือ ธุรกิจคลังสินค้ารายอื่น
คู่แข่งทางอ้อม คือ ทางเลือกอื่นที่ลูกค้าต้องซื้อ
ที่ไม่ได้แข่งในแง่ของสินค้าหรือบริการที่ดำเนินอยู่โดยตรง
หมายรวมถึงคลังสินค้าประเภทอื่น เช่น
★
คลังสินค้าออนไลน์ [Order Fulfillment Service Providers]
★
คลังสินค้าที่ผู้ผลิตมีเอง [in-house storage and distribution operations]
บทวิเคราะห์สำหรับคู่แข่งแต่ละราย
ให้แสดงภาพรวมของธุรกิจกับข้อดีข้อด้อย
และสิ่งสำคัญหลักๆ เช่น
★
กลุ่มลูกค้าหลักที่ให้บริการ อยู่ประเภทใดบ้าง
★
จัดอยู่ในธุรกิจคลังสินค้าประเภทใด
★
ระดับราคา (อยู่ในระดับสูงหรือต่ำ)
★
จุดแข็งที่โดดเด่น
★
จุดอ่อนที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขหรือแก้ไขไม่ได้
★
รีวิวจากมุมของลูกค้า ว่าชอบอะไรมากที่สุดและน้อยที่สุด
ส่วนสุดท้ายของบทวิเคราะห์คู่แข่ง คือ
รายงานความได้เปรียบทางการแข่งขัน
ยกตัวอย่างเช่น
✓
ลูกค้าได้รับสินค้าและบริการง่ายขึ้นกว่าคู่แข่งไหม
✓
เสนอสินค้าและบริการที่คู่แข่งไม่มีได้หรือไม่
✓
ให้บริการลูกค้าได้ดีกว่าคู่แข่งไหม
✓
เสนอราคาที่ดีกว่าคู่แข่งได้หรือไม่
คิดถึงวิธีที่จะทำได้ดีกว่าคู่แข่ง
และบันทึกไว้ในส่วนนี้ของแผนธุรกิจ
เทคนิคการเขียน Competitive Analysis
#6 Marketing Plan [แผนการตลาด]
พื้นฐานแผนการตลาดประกอบโดยทั่วไป
ประกอบด้วยปัจจัย 4 ประการ (4Ps)
1.
Product - ผลิตภัณฑ์
2.
Price - ราคา
3.
Place - สถานที่
4.
Promotion - โปรโมชั่น
สำหรับกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจคลังสินค้า
ควรพิจารณาด้วยพื้นฐาน 4 ข้อ ดังต่อไปนี้
ข้อที่ 1 ผลิตภัณฑ์ [Product]
เน้นย้ำประเภทของคลังสินค้าที่ระบุไว้ใน
#2 Company Overview [ภาพรวมของบริษัท]
จากนั้นระบุรายละเอียดผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จะนำเสนอ เช่น
คลังสินค้าที่ให้บริการจัดเก็บระยะยาว พร้อมระบบควบคุมอุณหภูมิ
พ่วงงานบริหารคลังสินค้าออนไลน์ ที่สามารถจัดส่งไปยังลูกค้าได้ด้วย
ตัวอย่างการเขียน Marketing Plan
ข้อที่ 2 ราคา [Price]
จัดทำราคาที่พร้อมนำเสนอโดยเทียบกับคู่แข่ง
ซึ่งมักจะอยู่ในส่วนย่อยของผลิตภัณฑ์ในแผนธุรกิจนี้
ข้อที่ 3 สถานที่ [Place]
วิเคราะห์ว่าที่ตั้งของคลังสินค้า ณ ปัจจุบัน
สามารถส่งผลต่อความสำเร็จได้อย่างไร เช่น
คลังสินค้าในย่านค้าปลีกที่พลุกพล่านหรือในย่านธุรกิจ
หรือคลังสินค้าที่แยกตัวออกมาติดถนนหลักหลายสาย
จะเหมาะสำหรับกลุ่มลูกค้าประเภทใดได้บ้าง
ข้อที่ 4 โปรโมชั่น [Promotion]
ส่วนสุดท้ายของแผนการตลาดคลังสินค้า
คือ วิธีดึงดูดผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าไปยังคลังสินค้า
โดยพิจารณาวิธีส่งเสริมการขายดังต่อไปนี้
★
โฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์ท้องถิ่น สถานีวิทยุ
★
เว็บไซต์
★
ใบปลิว ขบวนรถ
★
การตลาดผ่านอีเมล์ (Email Directing Marketing)
★
โฆษณาผ่าน Social Media
★
ปรับปรุง SEO เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาบนเว็บไซต์ให้ตรงกับคำหลักที่ใช้เข้าถึงได้ตรงเป้าหมาย
#7 Operation Plan [แผนการดำเนินงาน]
เนื้อหาในหมวดก่อนหน้านี้ อธิบายเป้าหมายของธุรกิจ
แต่แผนการดำเนินงาน จะอธิบายวิธีการบรรลุเป้าหมาย
เทคนิคการเขียน Operation Plan
แผนปฏิบัติการ ควรมี 2 ส่วนที่แตกต่างกันดังนี้
กระบวนการระยะสั้นในแต่ละวัน [Everyday Short-Term Process]
คือ งานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจคลังสินค้า เช่น
★
การรับสายจากลูกค้า
★
กำหนดเวลาการจัดส่ง
★
การเรียกเก็บเงิน
เป้าหมายระยะยาว [Long-Term Goals]
คือ Milestone เหตุการณ์สำคัญที่คาดหวังว่าจะบรรลุตามที่ตั้งไว้ เช่น
★
วันที่คาดหวังว่าจะได้รับลูกค้าคนที่ 1 ล้าน
★
เมื่อรายได้ถึง 1 พันล้านบาท จะขยายธุรกิจคลังสินค้าไปยังเมืองใหม่
#8 Management Team [ทีมผู้บริหาร]
เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของธุรกิจคลังสินค้า
ทีมผู้บริหารที่แข็งแกร่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำพาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
เทคนิคค้นหา Management Team
อ้างอิงถึงประวัติการทำงานของบุคลากรคนสำคัญ
โดยเน้นทักษะและประสบการณ์ที่จะพิสูจน์ความสามารถ
ที่จะนำพาให้ธุรกิจก้าวหน้าและเติบโตได้
ตามหลักการแล้ว บุคลากรในทีมควรจะมีประสบการณ์ตรง
ในการบริหารจัดการธุรกิจคลังสินค้า
หากเป็นเช่นนั้น ให้เน้นประสบการณ์และความเชี่ยวชาญนี้
และเน้นย้ำถึงประสบการณ์ที่จะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ
หากทีมไม่ได้มีประสบการณ์ด้านนี้โดยตรง
ให้พิจารณาจัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา 2 ถึง 8 ท่าน
ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ตอบคำถามและให้คำแนะนำเชิงกลยุทธ์
โดยเน้นไปที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์บริหารจัดการธุรกิจคลังสินค้า
หรือเชี่ยวชาญด้านบริหารคลังสินค้าสำหรับรายย่อย [Order Fulfillment Service]
#9 Financial Plan [แผนทางการเงิน]
แนะนำให้รวมงบการเงิน 5 ปี
โดยแยกเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาสสำหรับปีแรกและรายปี
ประกอบด้วยงบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด
1) Income Statement - งบกำไรขาดทุน
หรือเรียกกันว่า "Profit & Loss statement" หรือ P&L
โดยแสดงรายได้ หักค่าใช้จ่าย เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีกำไรหรือไม่
หากขายได้ 20 ครั้งต่อวัน
สินค้าคงคลังเฉลี่ยจะอยู่ที่ 500 หน่วยหรือไม่
แล้วยอดขายจะโต 2% หรือ 10% ต่อปี
การตั้งสมมติฐานในการคำนวณงบกำไรขาดทุน
การเลือกสมมติฐาน ส่งผลอย่างมากต่อการคาดการณ์ทางการเงิน
ดังนั้น ศึกษาข้อมูลก่อนสร้างสมมติฐานให้ถี่ถ้วน
เพื่อสร้างสมมติฐานได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด
2) Balance Sheet - งบดุล
งบดุลแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน
แม้ว่างบดุลอาจมีข้อมูลมากมาย
แต่ให้ลดความซับซ้อนลง และเน้นเฉพาะรายการสำคัญที่จำเป็นต้องรู้
ตัวอย่างเช่น
หากค่าใช้จ่าย 5 ล้านบาทเพื่อสร้างธุรกิจคลังสินค้า
เงินจำนวนนี้ จะไม่สร้างผลกำไรในทันที
แต่เป็นสินทรัพย์ที่หวังว่าจะช่วยให้สร้างผลกำไรได้ในปีถัดไป
ในทำนองเดียวกัน
หากขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจ และได้รับเงินจำนวน 5 ล้านบาท
เงินจำนวนนี้ไม่จำเป็นต้องจ่ายคืนทันที
แต่มันคือความรับผิดชอบที่จะต้องจ่ายคืนเมื่อครบกำหนด
3) Cash Flow Statement - งบกระแสเงินสด
ช่วยกำหนดจำนวนเงินที่ต้องใช้เพื่อเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจ
ช่วยให้แน่ใจว่าจะไม่มีเงินเหลือใช้
สิ่งที่ผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ไม่ทราบคือ
ธุรกิจสามารถทำกำไรได้ แต่มีเงินเหลือ และล้มละลาย
เมื่อสร้างงบกำไรขาดทุนและงบดุล
อย่าลืมรวมต้นทุนสำคัญหลายประการที่จำเป็น
ในการเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจคลังสินค้า อาทิเช่น
●
ต้นทุนอุปกรณ์และเครื่องใช้สำนักงาน
●
เงินเดือนและค่าจ้าง
●
ประกันภัย
●
ภาษี
●
ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นอื่นๆ เช่น ใบอนุญาตธุรกิจ software license ฯลฯ
#10 Appendix [ภาคผนวก]
แนบประมาณการทางการเงินทั้งหมดในภาคผนวก
พร้อมกับเอกสารประกอบที่ทำให้แผนธุรกิจดูน่าสนใจยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น
✓
สัญญาเช่าคลังสินค้า
✓
รายการบ่งชี้ประสิทธิภาพการดำเนินงาน (KPIs)
บทส่งท้าย
การเขียนแผนธุรกิจสำหรับธุรกิจคลังสินค้า
ถือเป็นความพยายามที่คุ้มค่า
หากทำตามข้อแนะนำข้างต้นจนครบถ้วน
ก็สามารถเป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริงได้
เพราะได้เข้าใจถึงอุตสาหกรรมคลังสินค้า
ตลาดการแข่งขัน และกลุ่มลูกค้า เพื่อพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด
และจะเข้าใจถึงสิ่งที่ต้องใช้ในการเปิดและขยายธุรกิจคลังสินค้า
เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จตามแผนที่วางไว้อย่างรัดกุมและใกล้เคียงกับความเป็นจริง
แหล่งที่มา
★
Warehouse Business Plan Template
★
Investement Proposal Template
แปลและเรียบเรียงใหม่โดย
Darvid.Co
อสังหา
ธุรกิจ
การลงทุน
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย