10 ก.ย. 2023 เวลา 14:36 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ตอนที่ 1: 2 ปัจจัยที่ทำให้ประเทศไหนจะรุ่ง ประเทศไหนจะล้าหลัง

1. รัฐรวมศูนย์:
หมายถึง รัฐมีอำนาจบังคับใช้กฏหมายในทุกพื้นที่ได้ ประชาชนทำตามกฏระเบียบพื้นฐานที่สังคมกำหนด
2. การกระจายอำนาจให้หลายฝ่ายได้มีการคานอำนาจซึ่งกันและกัน ไม่ใช่กระจุกอยู่ที่กลุ่มในกลุ่มหนึ่ง
ซึ่ง 2 ปัจจัยนี้ต้องมาพร้อมกัน ขาดอันใดอันหนึ่งไม่ได้
ถ้ามีรัฐรวมศูนย์แต่ไม่กระจายอำนาจ = รัฐเผด็จการที่เสี่ยงต่อความไม่มั่นคง
ถ้ามีการกระจายอำนาจแต่ไม่มีอำนาจศูนย์กลาง = ยุคสามก๊ก พัฒนาไปคนละทาง อาจจะสู้รบหรือแย่งชิงทรัพยากรกัน
ซึ่งรูปแบบการปกครองมีผลต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศอย่างมาก เพราะว่าแต่ละรูปแบบการปกครองมีแรงจูงใจของคนในสังคมต่างกัน
การเมืองแบบรวบอำนาจมักมาพร้อมกับเศรษฐกิจแบบผูกขาด
การเมืองแบบกระจายอำนาจ เศรษฐกิจมักจะเปิดกว้าง
ทำไมการเมืองแบบรวบอำนาจ+เศรษฐกิจแบบผูกขาด = ประเทศยากจน
1. การเมืองที่ผู้ปกครองมีอำนาจไม่จำกัดมักจะไม่มั่นคง เพราะอำนาจที่ไม่จำกัดมักเป็นแรงจูงใจให้คนอื่นอยากช่วงชิง เป็นเหตุให้เกิดการรัฐประหารบ่อยครั้ง การพัฒนาประเทศไม่ต่อเนื่อง
2. การที่อำนาจกระจุกอยู่ที่กลุ่มผู้ปกครองไม่กี่กลุ่ม ทำให้เกิดการฮั้วกันง่ายและสามารถตักตวงผลประโยชน์เข้าตัวได้ง่าย เพราะฉะนั้นย่อมไม่ต้องการให้ธุรกิจที่ได้กำไรดีตกไปอยู่ในมือของคนอื่น เพราะหากคนรวยขึ้นก็จะมีอำนาจมากขึ้น เรียกร้องมากขึ้น ทำให้ชนชั้นสูงเสี่ยงต่อการสูญเสียอำนาจและผลประโยชน์ลดน้อยลง
3. การผูกขาดการค้าหรือกีดกันไม่ให้เกิดการ Disruption ของธุรกิจเดิมและต่อต้านการเปลี่ยนแปลงจึงเกิดขึ้น
4. ในสถานการณ์แบบนี้คนย่อมขาดแรงจูงใจที่จะสร้างธุรกิจหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ถึงมีแรงจูงใจก็โดนแรงต้านจากธุรกิจยักษ์ใหญ่ ขาดแรงสนับสนุนจากภาครัฐ ขาดเงินทุนสร้างธุรกิจ ขาดแรงจูงใจในการเรียนรู้ ทำให้นวัตกรรมก็ไม่เกิดหรือเติบโต จะกี่ปีผ่านไปก็ยังเหมือนเดิม
5. เกิดเป็นวงจรอุบาทว์แห่งความยากจน
แล้วการเมืองแบบกระจายอำนาจ + เศรษฐกิจมักจะเปิดกว้าง = ประเทศเจริญ ได้ยังไง
1. การกระจายอำนาจให้หลายฝ่ายเกิดการคานอำนาจกัน ต่างฝ่ายต่างตรวจสอบซึ่งกันและกัน การล้อบบี้ให้คนหลายกลุ่มทำตามกลุ่มๆหนึ่งทำได้ยากขึ้น
2. เมื่ออำนาจถูกกระจายไป ย่อมลดแรงจูงใจที่จะมีคนยึดอำนาจ เพราะอำนาจที่ยึดมาได้นั้นมีขอบเขต ผลประโยชน์อาจได้ไม่คุ้มเสี่ยง
3. เมื่อหลายฝ่ายมีอำนาจย่อมต้องมีกฏหมายที่แฟร์กับทุกฝ่าย และบังคับใช้ได้จริง ทำให้หลักนิติธรรมแข็งแกร่ง ไม่มีใครอยู่เหนือกฏหมาย
3. กฏหมายที่เป็นธรรมย่อมทำให้คนเข้าถึงทรัพยากรได้เท่าเทียมกัน ไม่มีใครผูกขาด เกิดแรงจูงใจที่จะใช้ทรัพยากรเหล่านั้น
โฆษณา