29 ก.ย. 2023 เวลา 13:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

วางกลยุทธ์ เลือกลงทุนในแบบคุณ เพื่อการออมและวางแผนภาษี ไปกับ RMF SSF จาก SCB

ปี 2566 กำลังเดินทางเข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายปลายปี
นี่คือช่วงเวลาดี ที่มนุษย์เศรษฐกิจในยุคนี้ทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็น มนุษย์งานประจำ หรืองานไม่ประจำ จะได้มองตรึกตรองวางแผนการเงิน เพื่อเป้าหมายเกษียณด้วยพอร์ตการลงทุน เพื่อประโยชน์สูงสุดของตัวท่านเอง เฉกเช่นการปลูกไม้ยืนต้น ถ้าไม่เริ่มปลูกรดน้ำพรวนดินอย่างต่อเนื่อง พอเราแก่ตัวลงจะหวังต้นไม้ใหญ่ที่ไหนพักพิง การลงทุนก็เช่นกัน ต้องเกิดการ “ทยอยลงทุนระยะยาว” มาตั้งแต่วัยทำงาน จนกระทั่งถึงวัยเกษียณ วางแผนและลงมือทำเป็นประจำทุกปี
ปลายปีจึงเป็นช่วงเวลาดี ที่ผู้มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องจ่ายภาษีทุกสาขาอาชีพ มักจะมองหาตัวช่วยเพื่อใช้ในการลดหย่อนภาษี หนึ่งในตัวช่วยที่นิยมมากที่สุด และถือว่าเป็นการได้ประโยชน์สองต่อ ทั้งจากสิทธิประโยชน์ทางภาษีและโอกาสสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนไปพร้อมกัน คือการลงทุนในกองทุน RMF และ SSF
แม้ว่าการลงทุนช่วงหลังโควิดจะยังคงผันผวนสูง จากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ อย่างไรก็ตามสถิติในอดีตบ่งชี้ว่า ความผันผวนจากการลงทุนจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ หากมีกรอบเวลาที่ยาวนานพอ ซึ่งการลงทุนในกองทุน RMF และ SSF เป็นการลงทุนระยะยาวโดยมีระยะเวลาการถือครองเพื่อผลประโยชน์ทางภาษีเป็นตัวกำกับ จึงช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสการได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวัง
หากเรามีคำถามในใจว่า ปัจจุบันกองทุน RMF และ SSF มีจำนวนมากมายหลากหลายสินทรัพย์การลงทุน ทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเสี่ยงสูงกลางต่ำ ฯลฯ มีทางเลือกในการวางกลยุทธ์ลงทุนในกองทุน RMF และ SSF แบบไหนบ้าง แต่ละกลยุทธ์จะเลือกกองไหนดี ที่ออกแบบมาเหมาะสมกับกลยุทธ์นั้นๆ บทความนี้มีคำตอบ
ลงทุนไปด้วย บริหารภาษีไปด้วย … ด้วย RMF และ SSF
ก่อนอื่นเรามาทบทวนกันสั้นๆกันครับว่า กองทุนลดหย่อนภาษี RMF และ SSF คืออะไร มีเงื่อนไขการซื้อและถือครองอย่างไร
กองทุน RMF หรือ กองทุนรวมเพื่อการเกษียณอายุ ลงทุนได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท เป็นกองทุนกึ่งบังคับตัวเองของผู้ลงทุน เพราะต้องลงทุนนาน (อย่างต่ำ 5 ปี) และต้องถือครองกระทั่งผู้ลงทุนมีอายุ 55 ปี บริบูรณ์ ซึ่งเป็นอายุที่ใกล้กำหนดเกษียณ มีสินทรัพย์ให้เลือกหลากหลาย ทั้ง พันธบัตร ตราสารหนี้ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ อสังหาฯ โครงสร้างพื้นฐาน และ ทองคำ ซึ่งนักลงทุนสามารถสับเปลี่ยนกองได้ เพื่อประโยชน์สูงสุด เหมือนเราเป็นผู้จัดการกองทุนชีวิตตัวเอง
ทั้งนี้ เมื่อนำ RMF นับรวมกับการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ อย่างกองทุนรวมสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) กองทุน SSF (Super Savings Fund) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และ ประกันชีวิตแบบบำนาญ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุน SSF (Super Savings Fund) หรือ กองทุนรวมเพื่อการออม ลงทุนได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท มีสินทรัพย์ให้เลือกหลากหลาย ทั้ง พันธบัตร ตราสารหนี้ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ อสังหาฯ โครงสร้างพื้นฐาน และ ทองคำ ระยะเวลาถือครองอย่างน้อย 10 ปี (นับวันชนวัน)
ทั้งนี้เมื่อนำ SSF นับรวมกับการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ อย่างกองทุนรวมสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และ ประกันชีวิตแบบบำนาญ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
วางกลยุทธ์ลงทุนในกองทุน RMF และ SSF ต้องพิจารณาอะไรบ้าง ?
สิ่งสำคัญที่สุดของการลงทุนเพื่อถือครองในระยะยาว คือ “รู้จักและเข้าใจตัวเราเอง” ดังนั้น เราจึงต้องประเมินตัวเราเองใน 4 ด้าน เพื่อวางกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับตัวเราเองที่สุด
1) ความยินดีรับความเสี่ยง (Willingness to take risk) สำรวจตัวเองดูว่าเราสามารถทนเห็นพอร์ตการลงทุนติดลบได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าเราเป็นคนที่รับความเสี่ยงได้มาก จะมองความเสี่ยงเป็นโอกาส เลือกสิ่งที่ให้ผลลัพธ์ไม่แน่นอนได้ สามารถรับความผันผวนสูงได้ และปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เป็นต้น แต่หากเราเป็นคนที่รับความเสี่ยงได้น้อย จะมองความเสี่ยงเป็นอันตราย มักเลือกสิ่งที่ให้ผลลัพธ์ที่แน่นอน ชอบความผันผวนต่ำ และมีแนวโน้มปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงได้ยาก เป็นต้น
2) ความสามารถในการรับความเสี่ยง (Ability to take risk)
· คนที่มีฐานะการเงินมั่นคง มีระยะเวลาการลงทุนยาวนาน และมีความต้องการสภาพคล่องต่ำ จะมีความสามารถในการรับความเสี่ยงได้สูงและมีโอกาสแก้ตัวได้ถ้าลงทุนผิดพลาด ประเภทกองทุนที่เหมาะสม ได้แก่ กองทุนหุ้นโลก, กองทุนหุ้นรายประเทศหรือหุ้นรายอุตสาหกรรมเป็นสัดส่วนหลัก
· คนที่มีฐานะการเงินปานกลาง มีความต้องการสภาพคล่องปานกลางถึงสูงเพราะยังมีภาระครอบครัวที่ต้องดูแล จัดว่ามีความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลางถึงต่ำ ประเภทกองทุนที่เหมาะสมได้แก่ กองทุนตราสารหนี้ กองทุนผสม หรืออาจมีกองทุนหุ้นรายประเทศหรือรายอุตสาหกรรมได้ แต่ไม่ควรมีน้ำหนักมากเกินไป
3) ประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุน: มีหลายชนิด เช่น กองทุนรวมตลาดเงินและตราสารหนี้ กองทุนรวมหุ้นไทย กองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ กองทุนรวมสินทรัพย์ทางเลือกเช่น ทองคำ, อสังหาริมทรัพย์ และ กองทุนรวมผสมหลายประเภทสินทรัพย์ เป็นต้น เราควรทำความเข้าใจความเสี่ยงของแต่ละประเภทสินทรัพย์ก่อนการลงทุน เพื่อที่จะสอดคล้องกับความเสี่ยงที่เรารับได้และเข้าใจความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างทาง
1
4) ระยะเวลาการลงทุน: กองทุนลดหย่อนภาษีมีกรอบระยะเวลาในการลงทุนแตกต่างกัน สำหรับกอง SSF จะมีเงื่อนไขเท่ากันที่ 10 ปี โดยไม่คำนึงถึงอายุของผู้ลงทุน แต่สำหรับกอง RMF นั้นมีกรอบระยะเวลาลงทุนค่อนข้างกว้าง ขึ้นอยู่กับช่วงอายุของผู้ลงทุนที่ต้องถือครองถึงอายุ 55 ปี บริบูรณ์ โดยมีช่วงเวลาการถือครองขั้นต่ำ 5 ปี
วันนี้ SCB มีกลยุทธ์และกองทุนแนะนำ เพื่อให้เราได้เตรียมวางแผนเลือกกลยุทธ์ลงทุนในแบบที่เป็นตัวเราเอง พร้อมสิทธิลดหย่อนภาษี ไปกับกองทุน RMF และ SSF จาก SCB มี 4 กลยุทธ์ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1 : SAVE ZONE เน้นปลอดภัย ผันผวนต่ำ
ชอบลงทุนแบบเซฟๆ ลดความเสี่ยง เลี่ยงความผันผวน เดินเกมอย่างระมัดระวังกับ RMF|SSF เลือกก้าวไปอย่างมั่นคงและปลอดภัย
· RMF เลือก SCBRM1 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ระยะสั้นเพื่อการเลี้ยงชีพ ความเสี่ยงระดับ 4 (เสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ) ลงทุนในพันธบัตรและตราสารหนี้ระยะสั้นของภาครัฐและบริษัทเอกชนไทยที่มีความมั่นคงและพื้นฐานดี
· SSF เลือก SCBSFFPLUS-SSF กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ระยะสั้น พลัส (ชนิดเพื่อการออม) ความเสี่ยงระดับ 4 (เสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ) ลงทุนในเงินฝาก ตราสารหนี้ไทยและต่างประเทศระยะสั้นที่มีคุณภาพ
3
กลยุทธ์ที่ 2 : GLOBAL INVESTMENT สร้างผลตอบแทนจากการลงทุนรายประเทศ
เดินเกมอย่างชาญฉลาดกับ RMF|SSF คัดเลือกประเทศเด่น ลงทุนในหุ้นปัจจัยดี มีศักยภาพของแต่ละประเทศ
· RMF เลือก SCBRMASHARES(A) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นจีนเอแชร์ แอคทีฟ เพื่อการเลี้ยงชีพ (ชนิดสะสมมูลค่า) ความเสี่ยงระดับ 6 (เสี่ยงสูง) ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ Schroder International Selection Fund China A โดยเฉลี่ยในรอบปีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV โดยมีนโยบายลงทุนแบบ Active ในหุ้นจีน A-Shares
· RMF เลือก SCBRMS50 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ SET50 INDEX เพื่อการเลี้ยงชีพ ความเสี่ยงระดับ 6 (เสี่ยงสูง) เน้นลงทุนในหุ้นไทย ที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี SET50 โดยอาจจะใช้กลยุทธ์แบบ Full replication หรือ Optimization เพื่อให้อัตราผลตอบแทนของกองทุนใกล้เคียงกับอัตราผลตอบแทนของดัชนีSET50 มากที่สุด
· SSF เลือก SCBASHARES(SSF) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นจีนเอแชร์ แอคทีฟ (ชนิดเพื่อการออม) ความเสี่ยงระดับ 6 (เสี่ยงสูง) ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ Schroder International Selection Fund China A โดยเฉลี่ยในรอบปีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV โดยมีนโยบายลงทุนแบบ Active ในหุ้นจีน A-Shares
· SSF เลือก SCBDV-SSF กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นทุนปันผล(ชนิดเพื่อการออม) ความเสี่ยงระดับ 6 (เสี่ยงสูง) ลงทุนในหุ้นไทยที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ
กลยุทธ์ที่ 3 : TREND SEEKER สร้างผลตอบแทนระยะยาว ด้วยเทรนด์น่าสนใจ
ลงทุนตามเทรนด์ เกาะกระแสโลกอนาคต เป็นต่อทุกเกมกับ RMF|SSF ล้ำสมัย นำทุกเทรนด์การลงทุน
· RMF เลือก SCBRMNDQ(A) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นยูเอส เอ็นดีคิว เพื่อการเลี้ยงชีพ (ชนิดสะสมมูลค่า) ความเสี่ยงระดับ 6 (เสี่ยงสูง) มีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ Invesco NASDAQ 100 ETF (กองทุนหลัก) ซึ่งเป็นกองทุนประเภท Exchange Traded Fund (ETF) จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงเป็นการลงทุนตามดัชนี Nasdaq ที่อัดแน่นด้วยหุ้นเทคโนโลยีชั้นนำของสหรัฐฯ
1
· RMF เลือก SCBRMGHC กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ โกลบอลเฮลธ์แคร์ เพื่อการเลี้ยงชีพ ความเสี่ยงระดับ 7 (เสี่ยงสูง) เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ Janus Henderson Global Life Sciences Fund (กองทุนหลัก) โดยลงทุนหุ้นทั่วโลกในกลุ่ม Healthcare ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี
· SSF เลือก SCBNDQ(SSF) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นยูเอส เอ็นดีคิว (ชนิดเพื่อการออม) ความเสี่ยงระดับ 6 (เสี่ยงสูง) มีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ Invesco NASDAQ 100 ETF (กองทุนหลัก) ซึ่งเป็นกองทุนประเภท Exchange Traded Fund (ETF) จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงเป็นการลงทุนหุ้นเทคโนโลยีในดัชนี Nasdaq ที่มีนวัตกรรมและศักยภาพสูง
· SSF เลือก SCBEV(SSF) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Electric Vehicles and Future Mobility (ชนิดเพื่อการออม) ความเสี่ยงระดับ 6 (เสี่ยงสูง) มีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ กองทุน KraneShares Electric Vehicles & Future Mobility Index ETF (กองทุนหลัก) เป็นกองทุนประเภท Exchange Traded Fund (ETF) ที่บริหารโดย Krane Funds Advisors, LLC เป็นการลงทุนในหุ้นเทคโนโลยียานยนต์ขับเคลื่อนอนาคต
กลยุทธ์ที่ 4 : TOP SELLER ติดชาร์ตขายดี* ควรมีติดพอร์ต
เฟ้นหากองทุนสุดฮิตมาติดพอร์ต ไปให้ถึงเป้าหมาย กับ RMF|SSF ยอดขายอันดับ 1 ของ SCB
· RMF เลือก SCBRM4 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ ความเสี่ยงระดับ 6 (เสี่ยงสูง) เป็นกองทุน RMF ประเภทหุ้นที่ขายดีเป็นอันดับ 1 ของ SCB 3 ปีซ้อน เน้นลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นไทยที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และมีสภาพคล่องสูง เพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนเหนือตลาด
· SSF เลือก SCBLT1-SSF กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวปันผล 70/30 (ชนิดเพื่อการออม) ความเสี่ยงระดับ 6 (เสี่ยงสูง) เป็นกองทุน SSF ประเภทหุ้น ที่ขายดีเป็นอันดับ 1 ของ SCB 3 ปีซ้อน เน้นลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นไทยที่มีปัจจัยพื้นฐานดี 70% และตราสารหนี้คุณภาพ 30%
ถึงตรงนี้...หากคุณยังมีคำถามในใจว่า “ควรซื้อกองทุนประหยัดภาษี RMF|SSF ตอนไหนดี?”
ทยอยลงทุนตั้งแต่ตอนนี้ คือ คำตอบ เพราะนี่คือการลงทุนระยะยาว ลงทุนตั้งแต่ตอนนี้จะทำให้คุณไม่พลาดโอกาสการลงทุนและโอกาสลดหย่อนภาษี ไม่ว่าสภาวะการลงทุนจะเป็นอย่างไร
สนใจลงทุน เริ่มต้นยังไง ?
เริ่มต้นวันนี้ ด้วยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SCB Easy แล้วทำตาม 3 ขั้นตอนง่ายๆนี้
1. เปิดบัญชีกองทุนผ่าน SCB Easy App
2. ผูกบัญชีกองทุนบน SCB Easy App
3. ซื้อกองทุนผ่าน SCB Easy App
พิเศษ! รับ Fund Back สูงสุด 1,000 บาท** เมื่อมียอดลงทุนสะสมในกองทุน RMF หรือ SSF ที่ร่วมรายการ ตั้งแต่ 1 ก.ย. 66 – 29 ธ.ค. 66 ลงทุน สะดวก ง่าย ผ่านแอป SCB EASY คลิกเลย!
* ข้อมูลกอง RMF ประเภทหุ้นขายดีของ SCB และข้อมูลกอง SSF ขายดีของ SCB ตั้งแต่ปี 2563-2565 ณ วันที่ 31 พ.ค. 66 **เงื่อนไขรายการส่งเสริมการขายและกองทุนรวมที่ร่วมรายการเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
หมายเหตุ
• การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน RMF/SSF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน รวมถึงควรลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตนและยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนได้
• ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต
• ศึกษาข้อมูลกองทุนหลักและหนังสือชี้ชวนกองทุนที่ร่วมรายการเพิ่มเติมได้จาก website ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม www.scbam.com และสามารถศึกษารายละเอียดกองทุนรวมเพิ่มเติมผ่าน SCB EASY App
• สอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ SCB Call Center โทร. 02-777-7777
#วางกลยุทธ์ลงทุนพร้อมสิทธิลดหย่อนภาษีที่SCB
#SCBWealth #SCBX #SCBEASY #นิ้วโป้ง
#RMF #SFF
โฆษณา