13 ก.ย. 2023 เวลา 14:36

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพ มีอะไรน่าสนใจบ้าง ไปดูกั๊นนน !~ ✨👀

ช่วงนี้ใครกำลังอินกับศิลปะบ้าง ยกมือขึ้น!~ 🙋‍♀️ อย่างที่ทราบกันดีว่าหอศิลป์วัฒนธรรมแห่งกรุงเทพ เป็นที่นิยมกันอย่างมากในการไปเสพผลงานศิลปะ ของศิลปินชื่อดังท่านต่างๆที่ได้นำมาจัดแสดงไว้ ณ ที่แห่งนี้ การจัดแสดงจะผันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามช่วงเวลาต่างๆ
ในวันนี้เราจะมาแนะนำทุกคน ว่าในช่วงเดือนกันยายนนี้ มีอะไรน่าอะไรน่าสนใจบ้าง
แซ่ดสีน้ำ 2566
นิทรรศการแรก มาเริ่มกันที่ "แซ่ดสีน้ำ"
แซ่ดสีน้ำ 2566 โดย กลุ่มแซ่ดสีน้ำ (ประชาชนทั่วไปผู้รักศิลปะ) จัดแสดง 5 - 17 กันยายน 2566 ณ ผนังโค้ง ชั้น 3 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
นิทรรศการภาพจิตรกรรมสีน้ำ “แซ่ดสีน้ำ 2566” โดยกลุมแซ่ดสีน้ำ ภายในนิทรรศการประกอบไปด้วย กิจกรรม Workshop เขียนภาพ วันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 13.00-15.00 น จำนวน 8-10 คน ไม่มีค่าใช้จ่าย
ผู้แสดงงานมาให้ข้อมูล นำชมและตอบข้อซักถามทุกวัน 11.00-18.00 น.
รีบไปกันนะฮะ นิทรรศการจัดถึงวันที่ 17 กันยายน 2566
Bodymaps for Healing: เยียวยาฟื้นฟูสู่สันติภาพชายแดนใต้
ต่อมากันที่ "นิทรรศการ Bodymaps for Healing: เยียวยาฟื้นฟูสู่สันติภาพชายแดนใต้"
นิทรรศการรวบรวมแผนที่ร่างกาย (bodymaps) กว่า 20 ชิ้นที่วาดขึ้นระหว่างกิจกรรมศิลปะบำบัด สำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งในภาคใต้ การขัดแย้งกันด้วยอาวุธ การละเมิดและการทรมานก่อให้เกิดผลกระทบทางจิตใจต่อทั้งผู้เสียหายและครอบครัวของพวกเขา ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ปรากฎให้เห็นได้ชัดดังเช่นร่องรอยบาดแผลทางร่างกายและไม่ปรากฎโดยทันที แต่ค่อยๆ เกิดขึ้นกับผู้เสียหายอย่างช้าๆ
การศึกษาโดยกลุ่มด้วยใจพบว่าภาวะเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้าและโรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตรายส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้เสียหาย กลุ่มด้วยใจจึงได้จัดกิจกรรมศิลปะบำบัดที่ช่วยให้ผู้ถูกทรมานได้ค้นหาและเปิดรับกับสภาวะอารมณ์ของตัวเอง ส่งเสริมการรับรู้การจัดการความเครียด และสร้างความมั่นใจของตนเอง ผู้เข้าร่วมได้สร้างชิ้นงานขึ้นมา โดยมีศิลปิน Gerda Liebmann เป็นกระบวนกรนำกิจกรรม
นิทรรศการนี้มุ่งสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการเยียวยาฟื้นฟูผู้ถูกกระทำทรมานที่ได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจ และการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างเครือข่าย เพื่อพัฒนากระบวนการเยียวยาผู้ถูกกระทำทรมาน นอกจากนี้ยังเพิ่มความตระหนักถึงกรอบกฎหมายและสถาบันที่มีประสิทธิภาพ เพื่อดำเนินการตามหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เช่น การป้องกันและปราบปรามการทรมาน
นิทรรศการจัดแสดงที่ ผนังโค้ง ชั้น4
ตั้งแต่วันที่ 5 - 17 ก.ย. 2566
สูงวัย... ขยาย(ความ)
นิทรรศการนี้ เป็นนิทรรศการที่เราชอบมากที่สุด นั่นก็คือ
"สูงวัย... ขยาย(ความ)"
เป็นนิทรรศการที่ทำให้เราคิดถึงผู้สูงอายุที่บ้านมากๆ เนื่องจากตัวเราเองก็อยู่กับคุณปู่คุฯย่ามาตั้งแต่เล็ก หลายๆผลงานทำให้เราได้เข้าใจพวกเขามากยิ่งขึ้น
มีแผนผังให้ความรู้ ให้เราได้เข้าใจผู้สูงอายุยิ่งขึ้นไปอีก
มีห้องฉายผลงานถึง3ที่ ให้เราได้เข้าไปนั่งชมภาพยนตร์สั้น
นิทรรศการนี้จัดที่ ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 9
วันที่ 19 ส.ค. - 26 พ.ย. 2566
James Nachtwey : Memoria
นิทรรศการนี้ ไม่พูดถึงไม่ได้ เพราะแฝงไปด้วยความหดหู่ และทำให้เราได้เห็นอีกมุมนึงของชีวิตใครหลายๆคน นั่นคือ
นิทรรศการ "James Nachtwey : Memoria"
James Nachtwey (เจมส์ นาคท์เวย์) หนึ่งในช่างภาพสารคดีสงครามที่มีความสำคัญและมีชื่อเสียงที่สุดในโลก เขาเปรียบเสมือนผู้สังเกตการณ์ และพยานของสงครามซึ่งเป็นผลมาจากความขัดแย้ง รวมทั้งโศกนาฏกรรมภัยพิบัติทั่วโลก ที่นำมาจัดแสดง James Nachtwey: Memoria Exhibition นิทรรศการรวมผลงานภาพถ่ายสงครามของเจมส์ นาคท์เวย์ จำนวน 126 ภาพ พร้อมการฉายวีดีโอสั้นที่กำกับโดย Thomas Nordanstad (โทมัส นอร์ดานสตัด)
สำหรับประเทศไทย James Nachtwey นำภาพถ่ายเซ็ตพิเศษมาเผยสู่สาธารณะเป็นที่แรกของโลก กับภาพประวัติศาสต์ของชีวิตในสงครามยูเครนที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อนให้คนไทยได้ชมก่อนใคร
นิทรรศการ “Memoria” ของ James Nachtwey ได้จัดแสดงความทรงจำในการทำงานตลอดชีวิตอันยาวนานหลายทศวรรษ ซึ่งเขามักจะอยู่ศูนย์กลางของวิกฤตการณ์และสถานที่ที่พังทลายจากสงคราม เพื่อบันทึกภาพเหตุการณ์สำคัญในเสี้ยววินาที ภาพถ่ายแต่ละภาพของ James Nachtwey มุ่งเน้นไปที่ผลกระทบของความอยุติธรรมและความรุนแรงอันเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ เพื่อเรียกร้องให้มีการแก้ไขทั้งด้านมนุษยธรรมและภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างเร่งด่วน
James Nachtwey เคยกล่าวไว้ในงานเปิดนิทรรศการ “Memoria” ที่ Fotografiska Tallinn ว่า สำหรับผมแล้ว การถ่ายภาพไม่ใช่การยัดเยียดสิ่งที่ผมคิดว่าผมรู้ให้เป็นความจริง มันคือการสำรวจด้วยตาหนึ่งคู่ หนึ่งความคิด หนึ่งหัวใจ เคลื่อนผ่านโลกแห่งความเป็นจริงตามเวลาจริง พยายามบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับผู้คนทีละคน
ณ จุดที่เกิดสถานการณ์ความขัดแย้ง เรื่องราวที่สังคมต้องการเพื่อดำเนินไปอย่างถูกต้อง เพื่อประเมินเหตุการณ์ ตัดสินใจอย่างรอบรู้ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเราอย่างต่อเนื่อง และในที่สุดภาพถ่ายงานของผมก็ขยายออกไปนอกสงคราม รวมไปถึงสถานการณ์อื่นๆ ที่มีความอยุติธรรม นำไปสู่การเรียกร้องให้มีการแก้ไข ทั้งด้านมนุษยธรรมและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ตลอดจนปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับความสนใจมากขึ้น
ตรงนี้เขามีบอร์ดให้เขียนถึงเหตุการณ์จากภาพถ่ายที่เกิดขึ้นอีกด้วย
นิทรรศการนี้จัดแสดงที่ ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 7
ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย. - 26 พ.ย. 2566
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของนิทรรศการต่างๆเท่านั้น ใครที่ผ่านไป ก็ลองแวะเข้าไปชมกันได้กันนะคะ 💕
เวลาทำการ อ. - อา. 10:00-20:00 (หยุดวันจันทร์)
การเดินทางที่เร็วที่สุด: BTS : สนามกีฬาแห่งชาติ
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ
939 ถ.พระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ10330
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งในรายวิชาสื่อดิจิทัลในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
ผู้เขียน นางสาว สุธาสินี ครื้นอุระ
วิชาเอกนิเทศศิลป์ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์และสื่อดิจิทัล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
หากผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
โฆษณา