Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
แตงโม สกลนคร
•
ติดตาม
15 ก.ย. 2023 เวลา 00:49 • การศึกษา
โรงเรียนบ้านคำแหว
นักวิจัยศึกษาการแก้จน นำกรอบแนวคิด SLF เป็นเครื่องมือติดตามการหลุดพ้นความยากจน
ความยากจน คือภาวะขาดแคลนปัจจัยดำรงชีพ เผชิญกับความโชคร้ายทุกมิติทุกวัน จึงเป็นปัญหาใหญ่สำคัญระดับชาติ
3
การหลุดพ้นจากความจน เป็นสิ่งที่ปรารถนาของคนจนและผู้ช่วยเหลือ วิธีการแก้จนที่ดีที่สุดเริ่มต้นจาก "ตนเอง" สำรวจปัญหาที่จนเกิดจากสาเหตุอะไร และก่อนจะพัฒนาตน ต้องสลัดพฤติกรรม นิสัย ที่ส่งผลต่อความจนเหล่านั้นทิ้งไป
จะหลุดพ้นจากความจนได้อย่างไร ? ยังต้องตั้งคำถามและหาคำตอบให้ทันกับปัจจุบัน ล่าสุดนักวิจัยกำลังศึกษา การขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ค้นหาการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยใช้กรอบแนวคิดการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (Sustainable Livelihoods Framework : SLF) มีแนวทางในการศึกษาสำคัญ ได้แก่ ระบบฐานข้อมูลครัวเรือนยากจนในระดับพื้นที่ ระบบส่งต่อความช่วยเหลือและป้อนข้อมูลย้อนกลับ ปฏิบัติการโมเดลแก้จน และข้อเสนอเชิงนโยบายแก้จน
แนวคิด SLF คือการวางแผนดำรงชีพครัวเรือนอย่างยั่งยืน โดยไม่เสียความสามารถในอนาคต ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ทำลายทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
เริ่มต้นจากการวิเคราะห์บริบทความเปราะบางของพื้นที่ วิเคราะห์สินทรัพย์ต้นทุนคนจน 5 ด้าน ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนกายภาพ ทุนการเงิน ทุนธรรมชาติ และทุนสังคม จากนั้นจึงวางแผนกลยุทธ์การดำรงชีพใหม่ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ นำไปสู่ปฏิบัติการช่วยเหลือ ร่วมกับกลไกเชิงสถาบันในพื้นที่
ความเชื่อมโยงกรอบแนวคิดการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (SLF) ชนเผ่าบรู
ผลการดำเนินงาน กรณีศึกษา ปฏิบัติการโมเดลแก้จน (Operating Model) เกษตรมูลค่าสูง "สมุนไพรยาบรู" คนจนเป้าหมายคือกลุ่มชาติพันธุ์ "ชนเผ่าบรู" การค้นหาสอบทานเป็นคนจนตกหล่น (Exclusion Error) จึงนำเข้าสู่ระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่ (P2P Application) และส่งต่อความช่วยเหลือส่งเสริมอาชีพ 30 ครัวเรือน
สมุนไพรเป็นศักยภาพมีพลังมาจากวัฒนธรรมการกิน (Soft Power) สร้างสมดุลให้กับระบบดำรงชีพด้านต่างๆ จะเห็นว่าใช้ทุนสังคมนำความรู้ชุมชนด้านสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ นำไปสู่การวางแผนดำรงชีพ
กลยุทธ์การดำรงชีพใหม่ สร้างกลุ่มคณะกรรมการทุนวัฒนธรรมชนเผ่าบรูมีโครงสร้างกติกาที่เข้มแข็ง สร้างรูปธรรมแหล่งที่มารายได้ทันที ด้วยการพัฒนาแบรนด์ “สมุนไพรยาบรู” จากองค์ความรู้ที่มีในชุมชน มีสรรพคุณสูตรรักษาเส้นเอ็น สูตรผ่อนคลาย สูตรความงาม ต่อยอดให้เกิดทักษะใหม่ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ลูกประคบ “ผ้าขาวฮม” และยาต้ม “ส้างแก้ว” เพื่อสร้างความตระหนักในคุณค่า
จากนั้นจึงปลูกจิตสำนึกการจัดเตรียมวัตถุดินต้นทาง หาจากธรรมชาติและปลูกเอง พร้อมกับสร้างสเตอรี่สื่อสารการตลาดผ่านช่องทางที่ผู้คนเข้าถึงในศตวรรษที่ 21 และสร้างศูนย์กลางรวมใจ “อาศรมบรู” มีกิจกรรมที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมชนเผ่าบรูตลอดปี เตรียมเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในอนาคต
เกิดผลลัพธ์การดำรงชีพอย่างยั่งยืน ด้วยการกระตุ้นให้ชนเผ่าบรูลุกขึ้นมาจัดการแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยตนเอง และเกิดความสามัคคีจากปฏิบัติการที่ขับเคลื่อนร่วมกันด้วยคณะกรรมการทุนวัฒนธรรมชนเผ่าบรู เชื่อมโยงนิเวศน์ป่าไม้สู่เส้นทางผลิตภัณฑ์ “สมุนไพรยาบรู” ผสานภูมิปัญญาชนเผ่าบรูผ่านวัฒนธรรมการกิน (แระอะรวง) มีส่วนผสมของพืชท้องถิ่น เกิดจิตสำนึกตระหนักถึงคุณค่าอัตลักษณ์ของตนเองในกิจกรรมการผลิตทั้งห่วงโซ่อุปทานสมุนไพร มีเป้าหมายการพัฒนาที่ชัดเจน โดยชุมชนเป็นผู้ประกอบการ
ครัวเรือนมีต้นทุนในการดำรงชีพเพิ่มขึ้น นำข้อมูลย้อนกลับไปเพิ่มสินทรัพย์ในครัวเรือนผ่านระบบ (Care All Application) จะเห็นระบบดำรงชีพมีการเปลี่ยนแปลง หมุนเวียนเชื่อมโยงกันบนกรอบการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (SLF) จนถึงระดับที่หลุดพ้นจากความยากจน
นอกจากนี้ ทีมวิจัยกำลังศึกษาต้นทุนครัวเรือนเพื่อวิเคราะห์ระดับวิกฤต 4 ระดับ ได้แก่ อยู่ลำบาก อยู่ยาก อยู่ได้ อยู่ดี พร้อมทั้งพัฒนาเกณฑ์ตัวชี้วัดการเลื่อนระดับร่วมกับภาคคีกลไกเชิงสถาบัน
สอดคล้องกับหลักพระพุทธศาสนา ได้พิจารณาระดับสติปัญญาความรู้ของ "มนุษย์" มี 4 จำพวก เปรียบเหมือนดอก "บัวสี่เหล่า" ผู้เป็นบัณฑิตนักปราชญ์ จะนำพิจารณาตนเองและนำไปปฏิบัติ พัฒนาตนเองรอดพ้นจากภัยทั้งปวงได้
คำสอนในพระพุทธศาสนา การแก้ไขตนเองต้องเริ่มแก้ไขที่ใจ ใจบกพร่องเพราะมักทำไปตามอำนาจกิเลส "โลภ โกรธ หลง" ใจที่สว่างไสวด้วยแสงแห่งธรรม จึงจะรู้เห็น คิด พูด ทำ ไปในทางที่ถูกต้อง เหมาะสมดีงาม ก่อให้เกิดความสำเร็จในชีวิตทุกช่วงตอน
อ้างอิง
https://thecitizen.plus/node/84016
https://thecitizen.plus/node/85976
บันทึก
2
1
12
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ข่าวที่ชอบ แตงโมต้องขยาย
2
1
12
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย