14 ก.ย. 2023 เวลา 06:33 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

ใครจะคิดว่า QR code มีที่มาจาก หมากล้อม กับ ตึกสูงระฟ้า!

ปัจจุบันเราใช้ QR code กันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นการสแกนจ่ายเงิน สแกนตรวจเช็คสินค้า สแกนตั๋วเดินทาง สแกนหาข้อมูล หรือใช้เป็นเครื่องมือสื่อกลางในการนำไปยังฐานข้อมูลจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เรามีความสะดวกสบายในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างมากมาย
2
ผมได้ดูสารคดี Japan’s Top Inventions ทางช่อง NHK ซึ่งมันทำให้ผมรู้ว่ากว่า QR code จะเป็นรูปแบบออกมาอย่างที่เราเห็นได้นั้น มันมีเบื้องหลังกันมายาวนาน ต้องใช้ความพยายาม ความสังเกต ความอุตสาหะในการคิด ในการทดลอง ในการประดิษฐ์เป็นอย่างมาก และที่สำคัญใครจะไปคิดว่าแรงบันดาลใจในการออกแบบ QR code ให้สำเร็จออกมาได้จะมาจากหมากล้อม กับ ตึกสูงระฟ้า!
5
ในช่วงยุคปี 1940 พนักงานในร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วโลก ต้องทนปวดเมื่อยข้อมือเป็นอย่างมากในการพิมพ์ราคาเข้าเครื่องคิดเงินทีละตัว แถมยังต้องแข่งกับเวลาเพื่อไม่ให้แถวลูกค้าที่ต้องรอจ่ายเงินยาวเกินไป ทำให้พนักงานต้องเจ็บปวด บางรายถึงขั้นเป็นเอ็นข้อมืออักเสบเลยก็มี
2
จนกระทั่งในปี 1970 อเมริกาในประดิษฐ์นวัตกรรม “บาร์โค้ด” ขึ้นมาเพื่อแก้ไขในจุดนี้ เพียงแค่เอาบาร์โค้ดไปจ่อที่เครื่องอ่าน ราคาก็จะปรากฎขึ้นมาที่หน้าจอ สิ่งนี้ทำให้การคิดราคา การเช็คสินค้าเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดอาการปวดเมื่อยข้อมือของพนักงานได้อย่างดี
และยังสามารถใช้อัปเดตสถานะวัตถุดิบหรือสินค้าได้ในทันที จึงมีการนำบาร์โค้ดไปใช้กันแพร่หลายในทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประเทศญี่ปุ่นด้วย
7
ในตอนนั้น มาซาฮิโร ฮาระ วิศวกรโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เด็นโซ่ ได้ผลิตเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่จับสัญญาณได้อย่างรวดเร็วขึ้นมา เพื่อตอบสนองการใช้งานบาร์โค้ด ทำให้วงการยานยนต์ในญี่ปุ่นใช้งานสะดวกในการตรวจเช็คสินค้า การใช้งานจึงเป็นที่แพร่หลายมาก
3
แต่เมื่อบาร์โค้ดถูกใช้งานมากขึ้นๆ ข้อมูลที่จัดเก็บก็ต้องเพิ่มมากขึ้นตาม
ทำให้การอ่านบาร์โค้ดเริ่มยากขึ้นทุกที พนักงานปฏิบัติงานหลายรายได้บอกปัญหาการใช้งานบาร์โค้ดให้กับ ฮาระ
1
เมื่อได้รับฟังปัญหาของหลายๆ คนเข้า ฮาระจึงรีบไปที่หน้างานทันที เมื่อเขามาถึงโรงงานตรวจเช็คสินค้าแล้วเขาก็ต้องตกใจกับสิ่งที่เห็น
เพราะในหนึ่งกล่องบรรจุชิ้นส่วนเต็มไปด้วยบาร์โค้ดมากมาย
เนื่องด้วยในตอนนั้นเครื่องอ่านสแกนข้อมูลบาร์โค้ดได้แค่คราวละ 20 ตัวอักษรเท่านั้น ดังนั้นเมื่อข้อมูลเพิ่มขึ้น จำนวนบาร์โค้ดก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย สร้างปัญหาให้กับพนักงานตรวจเช็คสินค้าขึ้นมาใหม่อีกรอบหนึ่ง
2
ฮาระ จึงคิดจะออกแบบโค้ดใหม่ที่สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เพื่อที่จะลดปริมาณงานในการตรวจเช็คสินค้าได้ เขาตั้งทีมพัฒนาบาร์โค้ดแบบใหม่ขึ้นมาทันที
3
ฮาระ นำเอารูปแบบบาร์โค้ดที่คิดค้นได้จากทางสหรัฐอเมริกามาวิเคราะห์ มันเก็บข้อมูลได้จากแถบเส้นตรงแนวนอนในระนาบเดียว จึงทำให้เก็บข้อมูลได้น้อย เขาเกิดความคิดว่าถ้านำบาร์โค้ดมาออกแบบใหม่ให้สแกนข้อมูลได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน เป็นบาร์โค้ด 2 มิติ ข้อมูลที่จัดเก็บได้ก็น่าจะมากขึ้นตามไปด้วย
4
ฮาระ ค้นคว้าหาวิธีเฉพาะตัวในการบีบอัดข้อมูลจำนวนมาก ผลลัพธ์ที่ได้คือ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเล็กๆ ที่สามารถบรรจุข้อมูลได้ถึง 7,000 ตัว
5
แต่ตัวฮาระยังมีความกังวลว่าตัวโค้ดที่ได้นี่จะยังสแกนได้อยู่หรือไม่ หากกระดาษที่พิมพ์โค้ดมันโค้งงอหรือยับ แต่แล้วในวันหนึ่งที่เขากำลังเล่นหมากล้อมกับพนักงานในทีมของเขา เขาสังเกตตาหมากล้อมที่วางลงไปเป็นจุดขาวกับจุดดำที่วางลงไปบนเส้นที่ตัดกัน ซึ่งบางครั้งเราก็วางหมากเหลื่อมออกไปจากเส้นที่ตัดกันนี้ แต่คู่แข่งเราก็ยังอ่านและเข้าใจวิธีการวางหมากได้อยู่ดี เขาจึงนำรูปแบบการวางหมากเป็นจุดขาวจุดดำนี่มาใช้ในการพัฒนาโค้ดของเขา
14
แล้วฮาระ ก็พัฒนารูปแบบโค้ดพิมพ์ออกมาทดลองลงบนเอกสารที่มีตัวหนังสือพิมพ์อยู่ล้อมรอบในสถานการณ์จริง แต่แล้วเขาก็ต้องเจอกับปัญหาอีกครั้ง ในการสแกนเครื่องอ่านข้อมูลได้ช้ามาก บางครั้งเครื่องก็ไม่สามารถอ่านได้ด้วยซ้ำ นั้นเป็นเพราะว่าตัวหนังสือที่อยู่ล้อมรอบบาร์โค้ดไปกวนสัญญาณการอ่านข้อมูล แล้วเขาก็มาถึงทางตัน ไม่รู้จะแก้ปัญหานี้ยังไง
6
ผ่านไปหลายวันเขาก็ยังแก้ปัญหานี้ไม่ตก จนกระทั่งในเช้าวันหนึ่งที่เขากำลังโดยสารรถไฟไปทำงาน เขามองออกไปที่หน้าต่างมองเห็นตึกระฟ้าที่ตั้งตระหง่านโดดเด่นอยู่ข้างนอก ท่ามกลางบ้านเรือนอาคารใกล้เคียงที่อยู่ล้อมรอบ ทำไมเขาถึงมองเห็นตึกระฟ้านี้ได้ชัดเจนในทันที? ทันใดนั้นเขาก็เกิดไอเดียที่จะแก้ปัญหาโค้ดของเขาขึ้นมา
5
เขาตระหนักได้ว่าท่ามกลางตัวหนังสือจำนวนมาก โค้ดของเขาก็ต้องการสัญลักษณ์ที่โดดเด่นในการมองเห็นจดจำได้เช่นกัน
7
เขาเริ่มคิดวิธีในการสร้างสัญลักษณ์ที่จะทำให้โค้ดเขาโดดเด่นออกมาเมื่อถูกตัวหนังสือล้อมรอบ เขาทดลองใช้วิธีสารพัด ทั้งการมีเส้นตีกรอบล้อม การขีดเส้นหนา การใช้ตัวหนังสือประกอบลงไป แต่มันก็ไม่เป็นผล
2
จนเขามาสังเกตสัญลักษณ์ที่ถูกพิมพ์ลงบนบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ว่ามันมีอัตราส่วนของสีขาวกับสีดำที่ใกล้เคียงกัน ฮาระ จึงคิดว่าหากเขาออกแบบโค้ดที่มีอัตราส่วนสีขาวกับสีดำให้ไม่เหมือนสัญลักษณ์อื่นๆ ที่เขาใช้กัน มันก็น่าจะทำให้โค้ดของเขาโดดเด่นออกมาได้
3
เขาได้ให้ทีมงานรวบรวมสิ่งพิมพ์ในรูปแบบต่างๆ ทั้งนิตยสาร หนังสือพิมพ์ โปสเตอร์ บรรจุภัณฑ์ กล่องลัง กล่องรีไซเคิล แล้วเอามาสแกนข้อความสัญลักษณ์ที่อยู่บนสื่อเหล่านี้ทั้งหมดลงในคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่บรรจุอัตราส่วนสีขาวต่อสีดำตามมาตรฐานที่มีอยู่ตอนนี้ขึ้นมา ฮาระทำแบบนี้ซ้ำไปซ้ำมาเพื่อเก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์ต้องเก็บประมวลผลโดยทำงานตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน
3
ผ่านไป 3 เดือน ในที่สุดฮาระก็ค้นพบอัตราส่วนสีดำกับสีขาวที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเขาขึ้นมาได้ อัตราส่วนนี้แทบไม่มีใครพิมพ์ที่ไหนมาก่อน อัตราส่วนเฉพาะของเขาก็คือ 1:1:3:1:1 เขาสร้างกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัสเล็กๆ
12
โดยใช้อัตราส่วนนี้
1 ตัวแรกคืออัตราส่วนสีดำที่อยู่ตรงแถบซ้ายสุดของกรอบ ตีขึ้นมาเป็นเส้นกรอบสีดำล้อมรอบ
1 ตัวที่สองคืออัตราส่วนสีขาวที่อยู่ถัดมาทางขวาเป็นเส้นกรอบสีขาวล้อมรอบ
3 คืออัตราส่วนสีดำเป็นสีเหลี่ยมจัตุรัสตรงกลาง
1 ถัดไปคือสีขาวที่เป็นเส้นกรอบที่เกิดจาก 1 ตัวที่สอง
และ 1 ตัวสุดท้ายคืออัตราส่วนสีดำที่เกิดจาก 1 ตัวแรก
7
ฮาระ เอากรอบสัดส่วนสีเหลี่ยมเล็กๆ นี้ไปวางตรงมุมโค้ดของเขา เพื่อทำให้โค้ดมันมีความโดดเด่นออกมา ซึ่งเมื่อเขาลองพิมพ์ไปทดลองบนกระดาษจริงที่มีตัวหนังสือเยอะๆ คราวนี้โค้ดของเขาก็ถูกสแกนออกมาได้อย่างรวดเร็ว เขาทดลองในหลายๆ รูปแบบ ในหลายๆ บรรจุภัณฑ์ และผลการทดลองก็ออกมาใช้งานได้ดีเป็นอย่างยิ่ง
4
แล้วบาร์โค้ดสองมิติก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมาในปี 1994
แล้วถูกเรียกกันว่า QR code ซึ่งย่อมาจาก “Quick Response” ที่แปลว่าตอบสนองฉับไว สมกับประสิทธิภาพของมัน
7
แม้ว่าปัจจุบันจะผ่านเวลามาแล้วกว่า 29 ปี มีเทคโนโลยีล้ำสมัย ในการสแกน ในการเข้าถึงข้อมูลจำนวนมากขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น AR หรือ VR แต่ QR code ก็ยังคงถูกใช้กันอยู่แพร่หลาย ด้วยเพราะมันเรียบง่ายสะดวกสบายในการผลิตและใช้งาน อีกทั้งต้นทุนในการทำยังมีราคาถูกอีกด้วย เราจึงน่าจะยังคงเห็น QR code อยู่ในชีวิตประวันของเราไปอีกนาน
4
บางทีแรงบันดาลใจในการแก้ปัญหาต่างๆ ของเรา อาจไม่ใช่ชุดข้อมูลความรู้อะไรเลย แต่มันกลับเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวในชีวิตประจำวันเรา อาจจะเป็นคน คำพูด สิ่งของ หรือการละเล่น ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสังเกตเห็นสิ่งเหล่านั้น แล้วนำมาปรับวิธีคิดมาใช้แก้ปัญหาในชีวิตประวันเราหรือไม่
2
เหมือนอย่างที่คุณ ฮาระ มองเห็นการเล่นหมากล้อมเป็นโค้ดที่ทำให้เราสแกนได้ และมองเห็นตึกระฟ้าเป็นโค้ดที่มันโดดเด่นออกมา..
5
ปล.อยากให้ทุกคนลองสแกน QR code ใต้โพสต์นี้ดูมันพาเราไปยังข้อมูลอะไรกันครับ😆
2
อ้างอิง
โฆษณา