17 ก.ย. 2023 เวลา 04:30 • หนังสือ

รีวิวหนังสือ วิธีบริหารเวลา ให้คุ้มค่าที่สุดในแต่ละวัน

คุณเป็นคนหนึ่งหรือไม่ ที่บ่นกับชีวิตว่าทำไมเราไม่ค่อยเวลาทั้งงานเอย หรือชีวิตเอย มาควบคุมไม่ได้เลย แอดมินเองก็เป็นเหมือนทุกคนๆเหมือนกันที่ อยากจะทำอะไรหลายมากเลยแต่ จัดการมันไม่ได้ดีเท่าไรนั้น แล้วทำออกมาไม่ได้เรื่องเท่าไร หรือตามดั่งใจเรานั้น
แต่ผมไม่พบหนังสือเล่มหนึ่ง ไม่หนามากนั้น เจียดเวลามาอ่านสักนิด แล้วคุณจะมีมุมมองหรือแนวทางในการบริหารเวลามากขึ้น หนังสือเล่มนี้ มีชื่อว่า วิธีหารเวลาให้คุ้มค่าที่สุดในแต่ละวัน 30 Minute Time managerment เหมาะสมสำหรับคนที่มีอะไรอย่างๆหลายต้องทำแล้วควบคุมเวลาของตนเองไม่ได้ หรือคุณที่กำลังทำทีม Projectต่างๆขอแนะนำ เท่าที่แอดมินได้อ่านนั้น
Ok ทุกคนจำหนังสือที่เรารีวิวได้ ถ้ายังไม่เคยว่ากลับมาอ่านได้ที่ : https://www.blockdit.com/posts/64fd7e106586a7307aa37ba3 นั้นละมีตอนหนึ่งบอกว่า หนังสือที่ให้อ่านคู่ขนานด้านการบริหารเวลา แล้วเรายังนึกไม่ออกว่าแนะนำเล่มไหนดี แต่วันนี้เราจะมาแนะนำบริหารแล้วนะ พอดีเรานึกขึ้นได้ว่าเราเคยอ่านอยู่ตอนสมัยมหาลัย เป็นที่บาง แต่เนื้อหาคุณภาพอัดแน่น อยากให้คุณได้ลองอ่าน มันดูว่าเป็นอย่างไร มาเราจะมาสรุป รีวิว และแสดงความเห็นของเรา กันเลย โดยที่หนังจะแบ่งเนื้อหาได้เป็น 5 ส่วนคือ
1. ทบทวนการใช้เวลาของคุณใน ณ ปัจจุบัน และจับโจรขโมบเวลาของคุณให้ได้
หนังสือได้บอกไว้ว่า เวลานั้นทรัพย์สินที่ค่ามากที่สุดที่มนุษย์พึ่งจะมีได้ แอดมินคิดว่าเวลานั้นทรัพย์สินที่มีค่ายิ่งกว่าเงินทอง เพราะมันไม่สามารถเอากลับมาได้ หรือจะเพิ่มได้เลย ก็ตามที่คนส่วนใหญ่แค่ได้ยินมา แต่เราส่วนได้คิดทบทวนกลับการใช้ทรัพย์ยากรนี้อย่างจริงจังแล้วหรือยัง ? ในหนังสือได้บอกวิธีการทบทวนว่าเราใช้เวลากับอะไรบ้าง กับใคร อย่างไรบ้าง โดยการให้เรานั้นเขียนแผนภาพลงบนกระดาษ ว่าเราทำอะไรไปบ้าง
แต่ในความคิดเห็นส่วนตัวของแอดมินนั้น คิดว่าควรเพิ่ม ไฮไลท์ว่า สิ่งไหนเราควบคุมไม่ได้จริงเพราะเกินเหตุปัจจัยภายนอก แต่จำเป็นต้องทำ ต้องมี(เวลาทำงานประจำ,ไปหาหมอ, เวลาเรียน เป็นต้น) , สิ่งไหนที่ต้องทำและเราความควบคุมได้ (นัดลูกค้า, นัดอาจารย์คุยงานวิจัย ), และสิ่งไหนไม่จำเป็น แต่ต้องมี (ดูหนัง,ฟังเพลง,ไถทวิตเตอร์ ) เพราะให้เพิ่มการพักกายและใจให้ดี
เพราะแอดมองว่าถ้ากายกับใจไม่ดีหรือไม่พร้อมต่อให้เราวางแผนมาดีแค่ไหน สุดท้ายก็ไม่เป็นอยู่ดีเพราะไม่ได้ทำเลย กับเขียนทุกกิจกรมที่ทำเกิน 3-5 ครั้งในรอบปีที่ผ่านมา ทุกกิจกรรม เพราะให้ภาพอย่างแท้จริง เราเองจะรู้แล้วว่าในหนึ่งวันเราทำอะไรบ้าง กับขีดเส้นโยงสัมพันธ์กับบุคคลที่เราพบเจอบ่อยๆ เพื่อให้ได้รู้ว่าเราทำอะไร กับใคร (ถ้ามีสถานด้วยจะดีมาก)
2. เริ่มตั้งเป้าหมาย เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ
หนังสือได้บอกว่า เป้าหมายนั้นคือ มาตราวัด ที่จะใช้วัดทุกๆ กิจกรรมที่คุณทำ คือตามความเข้าใจของแอดมิน ว่า เป้าหมายนั้นคือภาพสุดท้ายหรือจุดจบของกิจกรรมนั้นเป็นอย่างไร หน้าตาอย่างไร แล้วค่อยกำหนดวิธีการ เพราะ ถ้าเรายังไม่เห็นภาพก็จะนึกวิธีการจัดการไม่ได้ประสิทธิภาพสูงสุดตามใจเราปราณาไว้ แต่แอดมิน(ความคิดส่วนตัว)กลับมีความคิดอีกอย่างว่า
(ถ้าได้อ่านกันมาแล้วนะ)สมมุติว่าถ้าคนที่เขาไม่เป้าหมายอะไร ฉันพอใจ แค่นี้ แค่ทำงาน เท่านี้ก็พอกินกอใช้ ไม่ต้องการดิ้นไปมากว่านี้ แสดงว่าหนังสือนี้ไม่เหมาะกับเขาหรอ??? แอดมินมองกลับว่า ถ้าเขาได้อ่าน เขาจะทำมาปรับใช้จุดของการใช้ชีวิตเขา ชีวิตเขาสบายขึ้นมากเลยนะ แถมเวลาพักผ่อนก็มาขึ้นอีก ทำให้เรื่องปวดหัวลงลดได้ เพราะมีหลักการบ้างอย่าง
ไปช่วยให้เขานั้นใช้ชีวิตให้แฮปปี้ขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่ามองมันอย่างไรกับหนังสือเล่ม อย่างที่เคยบอกว่า จริยติแต่ละคนไม่เหมือน กันด้วยกับการผ่านประสบการณ์มาของแต่ละคนไม่เหมือนเลย จึงมาใช้ไม่ได้ 100% หรอ เลยอยากให้ลองไปอ่านดูก่อนว่าเหมาะสมกันเราจริงๆไหม
Okกลับมาเรื่องของเราต่อ(แม้ออกนอกเรื่องไปไกลจริงๆ) หนังสือเองได้บอกว่าวิธีการมีดังนี้
กำหนดเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็น เป้าหมายเรื่องการงาน การเงิน หรือ การดำรงชีวิต โดยต้องมีระยะเวลากำหนดด้วยว่าเท่าไร ต้องมี ทั้ง ระยะสั้น กลาง และยาว จากความเห็นของแอดมิน สั้นควรไม่เกิน 1 ปี กลาง 1-5 ปี ยาว 5 ปีขึ้นไป
วางแผนไปสู่เป้าหมาย ว่าจะใช้วิธีการใด และต้องจุดแข็ง อุปสรรค์ กับเราเป็นอย่างไร เพื่อให้แผนเข้าเป้าหมายและจริยติเรามากที่สุด
ดำเนินการ หรือ การลงมือทำ สำหรับแอดว่าสิ่งนี้สำคัญที่สุดกับการบริหารเวลาเพราะต่อแผนเราดีแค่ไหน ถ้าไม่ทำ ก็ไม่อะไรเกิด แถมจะเสียเวลากับการวางแผน
ตรวจสอบและประเมินผลว่าดีหรือไม่ ที่ทำมาเป็นอย่างไรบ้าง และปรับเปลี่ยนถ้ายังไม่ค่อยเข้าที่
ทำอย่างนี้ไปจนถึงเป้าหมายที่เราต้องการ
แต่หนังสือได้บอกหลักการ ของ นักรคิด หรือ นักจิตวิทยา ได้บอกเอาไว้ สามารถหาค้นหาเพิ่มเติมได้
  • เคล็ดซาลามี ของ เดการ์ต
  • หลักการ พาเรโท กฎเกณฑ์ 80:20
  • Mind map เพื่อเราเห็นภาพมากขึ้น
3. วิธีการวางแผนการใช้เวลา เพื่อให้คุ้มค่าที่สุดในแต่ละวัน
โดยหนังสือจะบอกว่า จะแนะนำให้เขียนลงกระดาษ หรือบันทึกลงคอมไม่โทรศัพท์ เพราะ ถ้าเรานึกในหัวสมอง เราไม่เห็นภาพว่าเราจะทำอะไรบ้าง และควรแบ่งหน่วยเล็กที่สุดคือ แต่ละวันก่อน เพราะจะเราสามารถโฟกัสได้ว่าเรา จะต้องทำอะไรที่ไหนอย่างไรบ้างและกับใคร และการวางแผนในหนึ่งวัน และ ค่อยๆขยันวางแผนรายสัปดาห์ รายเดือน รายปี ระยะกลาง และระยะยาวเกิน 3 ปี ว่าต้องทำอะไร
และควรจะเริ่มทันทีหลังอ่านบทความนี้จบ
แอดมินเองจ้า
เขาได้นำหลักการ ชื่อว่า A-L-P-E-N เพราะจากหนังสือที่บอกไว้ว่าวิธีนี้จะใช้เวลาเฉลี่ย 8 นาทีในการวางแผน (ขึ้นแต่ละบุคคล) โดยที่
A = บันทึกงานที่ต้องทำ กิจกรรม และการนัดหมายต่างๆเอาไว้ ที่ควรจะมีคือ (จากหนังสือ)
  • งานตามหน้าที่สำหรับสัปดาห์หรือเดือนนั้น
  • งานที่ยังทำค้างไว้จากเมื่อวันก่อนหน้า
  • งานใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาในวันนั้น
  • นัดหมายที่ต้องปฎิบัติ
  • โทรศัพท์และการติดต่อสื่อสารที่ต้องทำ
  • งานเก่าที่วนกลับมาตามวาระ
L กำหนดระยะเวลาต่อกิจกรรมแต่ละครั้ง
คือ คุณต่อทำกิจกรรมอะไร ใช้เวลาเท่าไรคือเท่านั้น คือ 5 ชั่วโมง ก็ต้องแค่ 5 ชั่วโมง ทำให้คุณมีสมาธิกับกิจกรรมนั้นมากขึ้น ถ้าคิดแล้วไม่ทำตามอาจเกิดความผิดหวังได้ตัวคุณและไม่ชอบแผนในชีวิตประจำวันเลยก็ได้
P เผื่อเวลาไว้กันชน
โดยมีหลักการจากหนังสือว่า แผนที่วางไว้ 60% ส่วนที่ไม่คาดคิด 20 % และสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ 20%
E ต้องตัดสินใจ
โดยจากหนังสือได้บอกไว้ว่า จากสถิติบอกไว้ว่า คนเราส่วนจะทำงานเกินไป 50-60% ของจากแผนที่วางเอา เราควรจะจัดลำดับความสำคัญว่าจะต้องทำอะไร และเรียงลำดับ และอันไหนที่สามารถโอนไปให้ผู้อื่นได้ ( จะอยู่บทถัดไป)
N ตรวจสอบภายหลังและโอนงานที่ยังไม่สำเร็จไปในวันรุ่งขึ้น
คือ หลังจากการทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ เราควรมีตรวจสอบว่าเราทำอะไรไปสำเร็จบ้างแล้วมีอันไหนที่ยังไม่ต้องโอนไปวันถัดไป หนังสือได้บอกว่า เราควรจะต้องช่วงเผื่อเวลาสำหรับสิ่งเหล่านี้ เพื่อคุณจะไม่ลนลานกับกิจกรรมที่ยังไม่ได้ทำ
ส่วนอุปกรณ์บันทึก หรือช่วยวางแผน เอาที่เราถัดใช้ เช่น สมุดบันทึกปฎิทิน หรือ App Calendar ต่างๆ แต่เราควรที่จะบันทึกลงไป เพื่อเตือนความจำเรา เพราะเราต้องมีสิ่งอื่นที่ต้องทำอีกมามายในความแอดมิน แอดมินจะชอบใช้ App Calendar ที่อยู่ในโทรศัพท์ เพราะ รู้สึกสะดวกและสามารถเชื่อมกับ Calendar ใน Gmail หรือ Outlook ได้ เผื่อนัดหมาย หรือมีประชุม เขาสามารถแชร์ผ่านมาทาง Mail เราได้เลย
4. วิธีจัดลำดับความสำคัญ
จากหนังสือ ตามแอดมินเข้าใจว่า เราควรจะต้องจัดลำดับความสำคัญก่อนว่าอะไรสำคัญที่สุด โดยใช้หลักการ ABC คือ A สำคัญ,มีความจำเป็น,เร่งด่วนที่สุด B สำคัญ,มีความจำเป็น แต่ยังไม่เร่งด่วน ส่วน C งานประจำปกติ งานในหน้าที่ของตนเอง และ งานไหนที่โอนให้ผู้อื่นได้ ก็ควรที่จะโอน แต่หนังสือได้วิธีการคิดว่าอันไหนที่สามารถจะโอนได้บ้าง
โดย งานนี้เราเท่านั้นใช่หรือไหม ถ้าไม่ ควรที่โอนพร้อมทั้งควบคุมตรวจสอบ ว่าเป็นตามที่เราต้องการหรือไม่อย่างไร โดยหนังได้บอกหลักการชื่อว่า กฎของไอเซนฮาวร์ โดยวิธีประเมินได้ 4 ประเภท คือ
กฏโอเซนฮาวร์
โดยสามารถไปประยุกต์ใช้ได้ แอดมินคิดว่าเป้นสิ่งดีมาก อย่างหนึ่งเลย ทำให้เราสร้างจัดการงานได้อย่างเป็นระบบระเบียบมาขึ้น ได้เห็นภาพชัดมากขึ้น
5. วิธีจัดระเบียบแต่ละวันและวิธีการวางแผนการทำงานที่ดีที่สุด
จากหนังสือบอกไว้ ตามความเข้าใจของแอดมินเอง คือ เราต้องพยายาม คิดบวก ในแต่ละวัน และจบแต่งานหรือวัน พยยามให้บวกเสมอ ถือมันจะไม่ค่อยสวยก็ตาม
มนุยษ์ส่วนใหญ่จะทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุดในช่วงเช้า และ ช่วงเย็นนั้นจะทำไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าไร จนถึงเที่ยงคืน
เราควรทำงานไปสักประมาณ 1 ชั่วโมงแล้ว พักสมองแปป เพราะ สมองเราจะสามารถโฟกัสได้สูงสุดแค่หนึ่งชั่วโมง
ถ้าตารางที่กำหนดเราควรที่ สงบแปปหนึ่งให้รีเซตพร้องกันงานเริ่มใหม่
พยายามทำนัดกับกับตนเอง คือ ช่วงให้เบรกหรือสงบไม่คุยกับใคร เพื่อให้ร่างกายได้เบรกบ้าง
ทั้งนี้ทั้งนั้นที่กล่าวมาก็ตาม ถ้าเครื่องมือที่ช่วยเราดีแค่ไหนก็ตามถ้าไม่วินัยที่ปฎิบัติแล้ว แอดมินคิดว่ามันก็ไร้ความหมายทันที
ถ้าคนไหนมีความเห็นอย่างไร ก็แสดงเห็นได้เลยนะ อย่างลืมกดติดต่อตาม ทุกช่องทางไว้ด้วยนะ วันนี้ขอตัวไปอ่านหนังสือเผื่อจะมาเล่าให้ฟังในครั้งหน้า วันนี้ขอสวัสดี.
ติดต่อสอบถาม
ติดตามได้ที่:
🙏🏻🙏🏻ขอขอบคุณผู้สนันสนุนและซับพอร์ตนะครับ🙏🏻🙏🏻
โฆษณา