15 ก.ย. 2023 เวลา 07:17 • การศึกษา

อำนาจดุลพินิจ? อำนาจผูกพัน?

สวัสดีครับท่านผู้อ่านหลังจากที่ห่างหายกันไปหลายวันเนื่องจากผมติดภารกิจหลายอย่างนิดหน่อยครับ
วันนี้กลับมาพบกันอีกครั้งผมเลยมีประเด็นทางกฎหมายหมายมหาชนนิดหน่อยมาฝากกันในเรื่องอำนาจดุลพินิจและอำนาจผูกพันที่อย่างน้อยๆก็น่าจะมีประโยชน์ในการปฎิบัติราชการครับติดตามกันได้เลยครับ
ครับในการปฎิบัติราชการนั้นเจ้าหน้าที่รัฐจะใช้อำนาจใดๆตามหลักการทางกฎหมายมหาชนอันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจรัฐอยู่แล้วนั้นเจ้าหน้าที่จะกรนะทำการใดๆก็ย่อมต้องมีกฎหมายให้อำนาจในการกระทำ
1
เหตุที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากในยุคที่เป็นรัฐสมัยใหม่ เจ้าหน้าที่ทำงานผ่านการใช้อำนาจรัฐอาจนำมาสู่ความฉ้อฉลในการทำงานได้ดังนั้นจึงต้องมีการ จำกัดอำนาจรัฐควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
จึงเกิดคำถามต่อมาว่าแล้วเราจะควบคุมรัฐ ควบผู้ปกครองรัฐ ควบคุมเจ้าหน้าที่ของรัฐผ่านอะไร กลไกไหน?
กลไกที่ฟังก์ชั่นที่สุดที่ถูกออกแบบมาก็คือการควบคุมผ่าน กฎหมาย ภายใต้หลักนิติรัฐ นิติธรรม อันเป็นผลทำให้ ไม่ว่ารัฐเจ้าหน้าที่ของรัฐจะกระทำการใดๆย่อมต้องมีกฎหมายให้อำนาจไว้เสมอครับ
แต่ทว่าอำนาจที่กฎหมายได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่รัฐหรือฝ่ายปกครองกระทำการต่างๆนั้นจะมีอยู่ได้แก่
1.อำนาจผูกพัน
 
2. อำนาจดุลพินิจ
ในแง่ของความหมายนั้นผมขอพามาดูก่อนว่าอำนาจดุลพินิจคืออะไรสำหรับอำนาจดุลพินิจนั้นเป็นกรณีที่ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่นั้นเกิดจากการที่กฎหมายตัวบทกฎหมายเปิดช่องให้โอกาสเจ้าหน้าที่ในการที่จะใช้กฎหมายได้อย่างยืดหยุ่นสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะราย
หรืออีกนัยหนึ่งก็มีนักวิชาการได้ให้ความหมายเอาไว้ว่า อำนาจดุลพินิจคืออำนาจที่กฎหมายได้เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐ ให้ฝ่ายปกครองสามารถเลือกตัดสินใจ และเลือกปฎิบัติด้วยตนเอง
อย่างอิสระเพื่ออที่จะให้การดำเนินการตามหน้าที่และความรับผิดชอบของตนนั้นภายใต้ของเขตที่กฎหมายกำหนดเอาไว้อีกทีหนึ่ง
ซึ่งถ้าหากให้ผมกล่าวอีกมุมหนึ่งแม้ในอำนาจดุลพินิจจะให้อิสระเจ้าหน้าที่ไว้แต่ทว่าอิสระดังกล่าวก็ต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายและไม่ขัดต่อกฎหมายกล่าวคือต้องชอบด้วยกฎหมายทั้งแง่กระบวนการและในแง่เนื้อหาครับ
ส่วนอำนาจผูกพันนั้นหมายถึง อำนาจที่องรค์กรฝ่ายปกครองของรัฐต้องปฎิบัติข้นเมื่อมีข้อเท็จจริงใดๆตามที่มีกฎหมายได้กำหนดในเรื่องนั้นๆไว้แล้วฝ่ายปกครองก็ต้องออกคำสั่งตามที่กฎหมายกำหนดไว้
เช่นในการร้องขอจดทะเบียนสมรสถ้าผู้ที่มาร้องขอเข้าหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดทั้งหมดเจ้าหน้าที่ทำได้อย่างเดียวคืออนุญาติให้มีการจดทะเบียนตัดสินทำไปในทางอื่นไม่ได้เป็นต้นเพราะมีกฎหมายกำหนดเป็นอำนาจผูกพันไว้แล้วไม่สามารถใช้ดุลพินิจเป็นอื่นได้ครับ
ท้ายสุดนี้ครับเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับประชาชนทั่วไปตรงที่ว่าเวลามีปัญหาเป็นคดีความกับเจ้าหน้าที่รัฐเราจะตั้งประเด็นในการฟ้องได้ถูกจนนำมาสู่การอาผิดต่อเจ้าหน้าที่ที่ทำราชการโดยฉ้อฉลได้ครับ
สำหรับโพสต์นี้ลาไปก่อนแล้วพบกันในโพสต์ถัดๆไปนะครับสวัสดีครับ
เอกสารอ้างอิง
โฆษณา