15 ก.ย. 2023 เวลา 10:12 • ครอบครัว & เด็ก

ตอน ลูกติดหน้าจอแล้วหน้างอ

ไปเจอคอมเมนท์ในกระทู้ที่พูดเกี่ยวกับเทคโนโลยี เกม โปรแกรม Coding และต่างๆ พูดว่า แหมทำมาเป็นไม่ให้ลูกใช้สิ่งเหล่านี้ทั้งๆที่ตัวพ่อแม่ก็ติดมือถือ แทปเลท ส่งอีเมล์ ใช้ Social Media โลกนี้เค้า ก้าวกระโดดไปถึงไหนกันแล้ว มัวแต่ห้ามไม่ให้ใช้ เด็กก็ตามไม่ทันหรือไม่ก็ พ่อแม่เองยังทำได้เลย😒
เป็นความเห็นที่ถูกเพียงบางส่วน🤔
ถูกต้องที่สิ่งเหล่านี้ มันอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้ใหญ่เกือบทุกคน ทั้งใช้ทำงาน สื่อสาร ทำมาหากิน และสร้างความสัมพันธ์แต่สิ่งเหล่านี้สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย 🧐
พัฒนาการของเด็กตามวัยไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ต้องรวดเร็วขนาดนั้น🤯
คุณหมอประเสริฐ ได้กล่าวไว้ว่า👨‍🏫
""สมาคมกุมารแพทย์ทั่วโลก พูดว่า ไม่ควรให้เด็กเล็กดูจอก่อนอายุ 2 ขวบเพราะ 2 ขวบปีแรกเป็นเวลาวิกฤตของการสร้างใบหน้าแม่ ตามด้วยการสร้างแม่ หากปล่อยให้เด็กแหน้าจอมากเกินไปในแต่ละวัน ถ้าโชคไม่ดี เขาจะสร้างวงจรประสาทเพื่อ พัฒนามีปฏิสัมพันธ์กับจอสี่เหลี่ยมมากกว่าหน้าของแม่
เมื่อไม่สบตาแม่ แม่ยิ้มให้และไม่ตอบโต้ ตามมาด้วยการไม่มีความสามารถในการปฏิสัมพันธ์กับคนอาการนี้ เรียกว่า "ออทิสติกเทียม"
ทำให้เกิดพัฒนาการที่สูญหาย ไปเทียบเท่ากับพัฒนาการช้าไปเป็นปี ไม่นับกับผลกระทบเรื่องอื่นอีกมาก
ความเสียหายนั้นต้องใช้คุณหมอ นักจิตวิทยาและความร่วมมือเพื่อทำให้เด็กคนนึงกลับมาเป็นปกติ
สำหรับเด็กที่โตกว่า2 ขวบ ใช้สิ่งเหล่านี้ได้หรือไม่ ส่วนตัวอยู่ที่ครอบครัว และลักษณะของเด็ก รวมถึงวิธีการใช้ด้วย การใช้เทคโนโลยี เกม หรือหนัง การ์ตูน สื่อออนไลน์ต่างๆ ใช้มันเป็นส่วนประกอบการเรียนรู้นอกจะทำให้น่าสนใจ ทำให้สามารถจดจำและนำไปใช้ได้ดีมาก แต่ถ้านำมาใช้ในช่วงเวลาที่มากเกินไป หรืออยู่นอกเหนือการควบคุมตัวเอง หรือ มีการติด เช่น การติดเกม ติด Tiktok ติด Facebook อันนี้ก็เริ่มเป็นโทษ ต้องปรึกษาคุณหมอ
สิ่งสำคัญ น่าจะเป็นเรื่องการใช้เวลากับลูกมากกว่า เรามีเวลาด้วยกันอย่างเพียงพอหรือไม่ เราพูดคุยกับลูกเราเพียงพอหรือเปล่า เราเล่นกับลูกเพียงพอหรือเปล่า เรามีความทรงจำที่ดีให้กับเค้าพอ ลูกไม่มีความจำเป็นต้องติดอย่างอื่น เพราะเค้าติดพ่อติดแม่ ก็ดีอยู่แล้ว
เอาจริงๆ ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีหรอก กินเยอะไป กินน้อยไป นอนเยอะไป นอนน้อยไป อยู่คนเดียวมากไป อยู่คนเดียวน้อยไป ทุกอย่างเป็นพิษได้ ถ้ามันไม่พอดีกับเรา
เป็นกำลังใจให้กับทุกครอบครัว💖💖💖
ปล. อ้างอิงจาก หนังสือ เปลี่ยนผ้าพันแผลในหัวใจให้บุตรหลาน บท ความเสียหายระยะยาว ในยุคพัฒนาการถดถอย เขียนโดย นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
โฆษณา