15 ก.ย. 2023 เวลา 14:56 • การศึกษา

ใบแต่งทนายความ

คนทั่วไปที่เป็นตัวความ (โจทก์ /จำเลย/ผู้ร้อง ) แม้ว่าจะไม่ใช่ทนายความ ก็มีสิทธิว่าความให้ตนเองได้ตาม ป.วิ.พ. ม.60
 
แต่ถ้าตัวความไม่ว่าความเอง  ตัวความอาจจะให้คนอื่นว่าความแทนตน คนที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าความแทนนั้นต้องเป็นทนายความที่มีใบอนุญาต หรือเป็นผู้มีอำนาจว่าความได้ตามกฎหมาย
กรณีทนายความเป็นตัวความเอง ไม่ว่าจะเป็นโจทก์ จำเลย หรือผู้ร้อง ทนายความอาจจะว่าความเองในฐานะตัวความ โดยไม่ต้องใช้ฐานะความเป็นทนายความและไม่ต้องแต่งตั้งทนายความ
ถ้าต้องการตั้งทนายความจะต้องทำเป็นหนังสือตามแบบพิมพ์ศาล เรียกว่า “ ใบแต่งทนายความ ” ซึ่งจะต้องลงลายมือชื่อตัวความและทนายความ ยื่นต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวน โดยใบแต่งทนายนั้น ใช้ได้เฉพาะคดีเรื่องหนึ่ง ๆ ตามที่ได้ยื่นไว้เท่านั้น
การยื่นใบแต่งทนายความต่อศาล สิ่งที่ต้องใช้ประกอบคือใบอนุญาตให้ว่าความของทนายความ
ถ้าตัวความเป็นนิติบุคคล นอกจากต้องเซ็นชื่อผู้มีอำนาจแล้ว ต้องประทับตราสำคัญของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนด้วย
อำนาจของทนายความ
ทนายความซึ่งคู่ความได้ตั้งแต่งนั้นมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อรักษาผลประโยชน์ของคู่ความนั้น
แต่ถ้าเป็นการดำเนินการที่เป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ ทนายความไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณานั้นได้ หากตัวความจะให้ทำได้ ต้องระบุไว้โดยชัดแจ้งในใบแต่งทนายความ เช่น การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิ หรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา หรือในการขอให้พิจารณาคดีใหม่
ถึงแม้ว่าตัวความจะไม่ได้สงวนสิทธิเช่นนั้นไว้ในใบแต่งทนายความก็ตาม ตัวความก็สามารถที่จะปฏิเสธ หรือแก้ไขข้อเท็จจริงที่ทนายความของตนได้ โดยกล่าวด้วยวาจาต่อหน้าตนในศาลในขณะนั้นก็ได้
Cr : ทนายดลตร์
ติวสอบ การเขียนใบแต่งทนายความ
🙏 ถ้าเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ กรุณากด “ถูกใจ” และกด “แชร์” ด้วยครับ 🙇‍♀️🙇🙇‍♂️
โฆษณา