Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นิราจันทรา
•
ติดตาม
16 ก.ย. 2023 เวลา 08:07 • ปรัชญา
ปฏิจจสมุปบาท
หัวข้อที่ 3 แล้วที่สืบเนื่องจากการไปธรรมอาภา ตอนต่อไปจะเป็นบารมี 10 ทัต ซึ่งในหัวข้อนี้เป็นอีก 1 ที่จัดอยู่ในหมวดของ อริยสัจ4 (ข้อที่2) คือ เหตุที่ทำให้ทุกข์เกิด(สมุทัย) คำจำกัดความจะเป็นการเกิดขึ้นร่วมกันโดยอาศัยกัน ซึ่ง เป็นชื่อพระธรรมหัวข้อหนึ่งในศาสนาพุทธ เรียกอีกอย่างว่า "อิทัปปัจจยตา" หรือ "ปัจจยาการ" เป็นหลักธรรมที่อธิบายถึงการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน จัดเป็นธรรมลึกซึ้งสุดประมาณและปรากฏเป็นของลึก ดังคำกล่าว
●
อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย สังขาร จึงมี (Dependent on lgnorance arise Kamma-Formations)
●
สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณ จึงมี (Dependent on Kamma-Formations arise Consciousness)
●
วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูป จึงมี (Dependent on Consciousness arise Mind and Matter)
●
นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ จึงมี (Dependent on Mind and Matter arise the Six Sense-Bases.)
●
สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะ จึงมี (Dependent on the Six Sense-Bases arises Contact)
●
ผสฺสปจฺจยา เวทนา เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา จึงมี(Dependent on Contact arise Feeling)
●
เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหา จึงมี(Dependent on Feeling arise Craving.)
●
ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทาน จึงมี (Dependent on Craving arises Clinging.)
●
อุปาทานปจฺจยา ภโว เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพ จึงมี (Dependent on Clinging arises Becoming)
●
ภวปจฺจยา ชาติ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติ จึงมี (Dependent on Becoming arises Birth.)
●
ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ จึงมี (Dependent on Birth arise Decay and Death.)
โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม
(There also arise sorrow, lamentation, pain, grief and despair.)
เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ.
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้
(Thus arises this whole mass of suffering.)
เราขอกล่าวแต่เพียงสั้นๆง่ายล่ะกันเนอะ ถ้าทำให้ยากคนก็ยิ่งไม่อยากศึกษา เราเคยต้องทำงานส่งอาจารย์ว่าด้วยเรื่องนี้ ช่วงนั้นมีความงงมาก งั้นมาทำความรู้จักกับคำจำกัดความกันก่อนล่ะกัน
อวิชชา : ความไม่รู้แจ้ง ไม่รู้ตามเป็นจริง ตรงข้ามกับวิชชา นี่คือจุดเรื่มต้นของวงจรอุบาทว์ ซึ่งท่านอาจารย์โกเอ็นก้าค่อนข้างให้ความสำคัญจะมีพูดในคำสอนเรื่อยๆ เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสังขาร
สังขาร : การปรุงแต่งทาง กาย วาจา ใจ อันมีเจตนาเป็นตัวนำ ซึ่งท่านอาจารย์โกเอ็นก้าค่อนข้างให้ความสำคัญ ซี่งเป็นจุดประสงค์หลักของการปฏิบัติ เพื่อจัดการกับสังขารเก่าที่ลอยเนื่องอยู่ในส่วนลึกของจิต ให้ลอยออกมา
เมื่อเราวางอุเบกขาได้ สังขารนั้นก็จะหลุดล่อนไป และที่เก่ากว่าก็ลอยขึ้นมาแทนที่ สุดท้ายแล้วถ้าเราจัดการไปได้เรื่อยๆโดยสามารถวางอุเบกขาได้ ก็จะไปถึงสถานที่สุดท้ายคือการชำระจิตให้บริสุทธิ์
วิญญาณ : ปฏิสนธิวิญญาณ // ความรู้ต่ออารมณ์ต่างๆ คือ การเห็น-ได้ยิน-ฯลฯ-รู้เรื่องในใจ
นามรูป : ส่วนประกอบของชีวิต ทั้งกายและใจ // ส่วนต่างๆของร่างกายและจิตใจที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพจิตแต่ละขณะ
สฬายตนะ : ช่องทางรับรู้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนะภายใน) // ภาวะที่อายตนะปฏิบัติหน้าที่โดยสอดคล้องกับสถานการณ์นั้นๆ ผ่านอายตนะ 6
ผัสสะ : การเชื่อมต่อรับรู้อารมณ์ (อายตนะภายใน+อารมณ์+วิญญาณ) ได้แก่ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส
เวทนา : ความเสวยอารมณ์ ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆไม่สุขไม่ทุกข์ (สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา) นี่คือสิ่งสุดท้ายที่ท่านอาจารย์โกเอ็นก้าค่อนข้างให้ความสำคัญ เพราะเมื่อเราปฏิบัติเราได้พบกับเวทนาไม่ว่าจะหยาบหรือละเอียด สิ่งที่เราพบคือไม่ปรุงแต่ง ง่ายๆคือการวางจิตให้เป็นกลาง ไม่ทำให้เกิดตัณหา นั่นคืออุเบกขานั่นเอง ซึ่งเป็น 1 ในหลักธรรมพรหมวิหาร 4
ตัณหา : ความทะยานอยากในอารมณ์ทั้ง 6 (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์), ความทะยานอยากเมื่อได้เสวยอารมณ์ที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจ คือ อยากได้ (กามตัณหา) อยากให้คงอยู่ (ภวตัณหา) อยากให้ดับสูญ (วิภวตัณหา)
อุปาทาน : ความยึดติดถือมั่น ความผูกพันถือค้างไว้ในใจ การถือรวมเข้ากับตัว (กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน) ความยึดมั่นถือมั่นในเวทนาที่ชอบหรือชัง จนเกิดความหลงยึดติด
ภพ : เจตจำนงที่จะกระทำการอันนำให้เกิดกระบวนพฤติกรรม ทั้งดีและชั่ว ภาวะแห่งชีวิต คือ ความมีขันธ์หรือมีนามรูป
ชาติ : ความเกิด ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย (ในภพใหม่) // ความปรากฏของรูปนามที่เกิดดับหรือเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอในแต่ละขณะจิต ความเกิด ได้แก่ ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การได้อายตนะ
ชรามรณะ : ความแก่-ความตาย // ความแก่และความตายของรูปนามแต่ละขณะจิต
(ความเสื่อมอายุ, ความหง่อมอินทรีย์) กับมรณะ (ความสลายแห่งขันธ์, ความขาดชีวิตินทรีย์)
วงจรแห่งปฏิจจสมุปบาทตามคำอธิบายแบบในช่วงกว้าง (คือข้ามภพชาติ) นิยมเรียกว่า “ภวจักร” ซึ่งแปลว่าวงล้อแห่งภพ หรือ “สังสารจักร” ซึ่งแปลว่า วงล้อแห่งสังสารวัฏ และจะเห็นได้ว่าคำอธิบายคาบเกี่ยวไปถึง 3 ช่วงชีวิต และเมื่อแยกออกเป็น 3 ช่วงเช่นนี้ย่อมถือเอาช่วงกลาง คือ ชีวิตปัจจุบัน หรือชาตินี้ เป็นหลัก เมื่อถือเอาช่วงกลางเป็นหลัก ก็ย่อมแสดงความสัมพันธ์ในฝ่ายอดีตเฉพาะด้านเหตุ และในฝ่ายอนาคตเฉพาะด้านผล ดังนี้
อดีตเหตุ = อวิชชา สังขาร
ปัจจุบันผล = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
ปัจจุบันเหตุ = ตัณหา อุปาทาน ภพ
อนาคตผล = ชาติ ชรามรณะ (+โสกะ ฯลฯ)
สรุปสั้นๆ ที่ท่านอาจารย์โกเอ็นก้าค่อนข้างให้ความสำคัญ คือ อวิชชา สังขาร และเวทนา ศิษย์ทั้งหลายมักได้ยินในคำสอนบ่อยมาก โดยเฉพาะช่วงวิปัสนาฯ ถ้าใครได้มีโอกาสปฏิบัติในแนวทางนี้จะยิ่งเข้าใจในส่วนคำสอนนี้ชัดเจนขึ้น เพราะท่านอาจารย์ย่อยให้เข้าใจง่ายมาก โดยเฉพาะในช่วงธรรมะบรรยายในตอนค่ำ มักมีนิทานประกอบให้คนฟังไม่เบื่อ เราแนะนำให้ฟังภาษาอ. สักครั้งต้องลอง ส่วนภาษาท.ฟังแล้วแอบง่วงสำหรับเรา
อ้างอิง
axmodify.com/article_detail/41/ปฏิจจสมุปบาท
uttayarndham.org/ธรรมานุกรม/1047/ป-ปฏิจจสมุปบาท
84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=340
buddhadhamma-memo.blog/ปฏิจจสมุปบาท-อิทัปปัจจย/
facebook.com/224466014238873/posts/2125516964133759/(รูปภาพ)
จิต
ฝึกฝนจิตให้เกิดปัญญา
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย