Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องน้ำมันน่ารู้
•
ติดตาม
19 ก.ย. 2023 เวลา 00:07 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“ค่าการตลาด” คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อการดูราคาน้ำมันขายปลีก ?
[เวลาอ่าน 7 นาที]
🛢️ Introduction
หลายคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้างว่า การที่ผู้ค้าน้ำมัน จะประกาศ “ขึ้นหรือลด” ราคาน้ำมันหน้าสถานีบริการ สิ่งหนึ่งที่จะพิจารณาเลยก็คือ “ค่าการตลาด” สูงหรือต่ำไป
.
สำหรับผู้ที่ไม่เคยทราบมาก่อน เราจะมาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กัน
🛢️ ค่าการตลาด คือ อะไร ?
.
ค่าการตลาด คือ ส่วนที่เป็นต้นทุน ค่าใช้จ่าย และกำไรของธุรกิจค้าปลีกน้ำมันทั้งระบบ ประกอบด้วย
✓
การจัดการคลังน้ำมัน
✓
การขนส่งน้ำมันมายังสถานีบริการ
✓
การให้บริการของสถานีบริการที่เติมน้ำมันแต่ละลิตรให้กับประชาชน
โดยสัดส่วนคิดเป็น 10 - 18% ของราคาน้ำมัน
ค่าการตลาด เป็นหนึ่งในองค์ประกอบในการคำนวณราคาน้ำมันขายปลีก
🛢️ ถ้างั้น หลายคนที่เข้าใจว่า ค่าการตลาด คือ กำไรปั๊มน้ำมัน ก็คือผิด ?
.
ใช่ครับ ถ้าพูดให้เห็นภาพ ค่าการตลาด ก็คือเป็นเพียงส่วนต่างราคาขายกับต้นทุนน้ำมันที่ผ่านโครงสร้างภาษี/กองทุนน้ำมันจากภาครัฐมาแล้ว ซึ่งกำไรสุทธิก็ต้องหักกับค่าใช้จ่ายด้านการขายดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นอีกที
🛢️ แล้วเราจะไป “หาข้อมูล” ค่าการตลาดได้จากที่ไหนกัน
.
เบื้องต้น มีในรายงานโครงสร้างราคาน้ำมันของเว็บไซต์ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (EPPO) หน้าตาจะประมาณนี้
🛢️ แล้วมันทำให้เรารู้อะไร ?
[7 ย่อหน้า]
⭐️⭐️⭐️ สำหรับกลุ่มเบนซิน กาดาวตรงนี้ไว้เลย ตรงนี้จะทำให้รู้ว่า “ราคาน้ำมัน” หนัาสถานีบริการ
“ มีแนวโน้มจะปรับ ขึ้น หรือ ลง”
โดย 14 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)
มีมติเห็นชอบค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหมาะสม
ทั้งกลุ่มน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และกลุ่มน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์เฉลี่ย 2.00 บาท/ลิตร
มติ กบง.
หากเรามาวิเคราะห์โครงสร้างราคาน้ำมันวันที่ 15 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ก็จะพบว่า
●
ค่าการตลาด กลุ่มเบนซินอยู่ระหว่าง 1.94 - 5.44 บาท/ลิตร
●
ค่าการตลาดเฉลี่ยทุกผลิตภัณฑ์ตั้งแต่วันที่ 1 - 15 กันยายน 2566 2.34 บาท/ลิตร
●
ค่าการตลาดเฉลี่ยทุกผลิตภัณฑ์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 15 กันยายน 2566 1.88 บาท/ลิตร
ผู้เขียนจะขอยกข้อมูล แก๊สโซฮอล์ 95 มาวิเคราะห์ เพราะมีปริมาณการใช้มากที่สุดในกลุ่มเบนซิน
.
จากข้อมูล จะเห็นว่า
✓
ถ้าดูกันรายวัน ค่าการตลาด 2.79 บาท/ลิตร
✓
สูงกว่ามติ กบง. ถึง 0.79 บาท/ลิตร
✓
ดูแล้วก็น่าจะลดราคาขายปลีกลงได้อีกเลขกลมๆ ประมาณ 0.70 บาท/ลิตร
แต่! บ่อยครั้งผู้ค้าไม่ได้ประกาศลงราคา (แถมวันที่ 15 ขึ้นราคามีผลเช้าวันที่ 16 อีก 0.40 บาท/ลิตร อีกต่างหาก)
หากพิจารณาข่าวย้อนหลังจากที่มติ กบง. ออกมา หน่วยงานของกระทรวงพลังงาน (เช่น กบน. ) ก็ได้ชี้แจงถึงเรื่องค่าการตลาดมาเป็นพักๆ ว่า
เนื้อหาข่าว กบน. ได้ชี้แจงว่าค่าการตลาดอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม หรืออาจสูงบ้างตามสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตลาดโลก
●
2.00 บาท/ลิตร ดังกล่าว ให้ดูค่าเฉลี่ยทุกผลิตภัณฑ์ (เฉลี่ยกลุ่มเบนซินและดีเซล)
●
ให้ดูเป็นช่วงเวลายาวๆ เช่น รายเดือน 2.34 บาท/ลิตร แม้จะสูงเกินเล็กน้อย ก็ให้ดูรายปี 1.88 บาท/ลิตรที่ยังไม่ถึงเกณฑ์
●
ค่าการตลาดสูงบ้างในบางช่วงตามสถานการณ์ตลาดโลก
ดังนั้น หากค่าการตลาดกลุ่มเบนซิน เกินเกณฑ์มติ กบง. แต่ราคาไม่ลง เราก็จะรอแถลงจาก หน่วยงานของกระทรวงพลังงาน ชี้แจงอีกที
ส่วนจะถูกใจหรือไม่ถูกใจผู้อ่านนั้น อันนี้ให้พวกเราไปอภิปรายต่อกันเอง ตรงนี้ผู้เขียนอยากให้พอทราบเรื่องค่าการตลาดก่อนว่าหากราคาน้ำมันจะปรับขึ้น หรือ ลง
🤔 สำหรับตัวผู้เขียนเอง คาดว่า
✓
หากค่าการตลาด < 2.7 บาท โอกาสสูงที่ปรับราคาขึ้น
✓
ตรงกันข้าม หากค่าการตลาด > 3.5 บาท โอกาสสูงที่จะปรับราคาลง
หมายเหตุ : เป็นเพียงการคาดการณ์เบื้องต้นพอเห็นภาพ
🛢️ เห็นพูดแต่กลุ่มเบนซิน แล้ว “กลุ่มดีเซลล่ะ ?”
กลุ่มดีเซล ราคาหน้าสถานีบริการ จะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงบ่อย แต่เขาจะใช้กลไก “กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง” ปรับค่าการตลาดแทน
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าราคาจะนิ่งตลอดนะครับ ต้อง “พิจารณาสถานะกองทุนน้ำมัน” เป็นหลักด้วย
คร่าวๆ หากตลาดโลกขึ้นมากจนกองทุนฯ ติดลบจากการชดเชยให้กลุ่มดีเซลมาก ก็อาจต้องขึ้นราคาช่วย ตรงกันข้ามหากตลาดโลกลงจนส่งเงินคืนกองทุนฯ ราคาก็ “มีโอกาส” ปรับลงได้
🛢️ แล้วธุรกิจปั๊มน้ำมันส่วนใหญ่ ค่าการตลาดเท่าไหร่ ?
จากข้อมูลคร่าวๆ ตามรายงานแบบ 56-1 ของแต่ละบริษัท ปี 2565 พอสรุปค่าการตลาดน้ำมันทุกผลิตภัณฑ์ คร่าวๆ 2 ค่ายใหญ่ๆ ได้ดังนี้
★
OR 0.98 บาท/ลิตร
★
BCP 0.81 บาท/ลิตร
ซึ่งจะเห็นว่า แต่ละบริษัทมีค่าการตลาดไม่ได้เท่ากันกับที่รายงานในตาราง สนพ.
ทั้งนี้ก็ขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ร่วมด้วย เช่น ราคาและปริมาณน้ำมันดิบที่ซื้อมากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปในแต่ละช่วงเวลาด้วย
🔥 สรุป ค่าการตลาด ?
ก็เป็นส่วนต่างขั้นต้นของราคาหน้าคลังกับราคาหน้าปั๊ม
ประโยชน์ก็เอาไว้ใช้ดูว่าถึงเวลาที่ผู้ค้าจะประกาศขึ้นลงน้ำมัน และได้เวลาไปเติมน้ำมันหรือยัง โดยใช้มติ กบง. ประกอบข้อมูลการวิเคราะห์นั่นเอง
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
https://www.eppo.go.th/index.php/th/
Facebook ศูนย์บริการข้อมูลมติ กพช. / กบง.
https://www.isranews.org/article/isranews-short-news/119385-offo-oil-marketing-cost-news.html
เศรษฐกิจ
ราคาน้ำมัน
ค่าครองชีพ
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย