Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
•
ติดตาม
19 ก.ย. 2023 เวลา 03:00 • สิ่งแวดล้อม
ส่อง "นกกินเปี้ยว" ที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จ.พังงา
นกกินเปี้ยว (Collared Kingfisher) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Todirhamphus chloris (Boddaert) 1783.
นกกินเปี้ยว เป็นนกขนาดเล็ก มีขนาดประมาณ 24 เซนติเมตร หัวใหญ่ คอและหางสั้น ลำตัวป้อม ปากแบนข้างสีคล้ำด้านบนลำตัว มีสีฟ้าอมเขียว และมีแถบสีขาวเป็นวงรอบคอ ขนด้านล่างลำตัวมีสีขาว พบตามป่าชายเลน ลำน้ำ และแหล่งน้ำต่าง ๆ มักเกาะนิ่งตามกิ่งไม้ หรือเสาริมน้ำ เพื่อมองหาเหยื่อ เมื่อพบแล้วจะบินลงไปใช้ปากงับอย่างรวดเร็ว แล้วบินกลับมาเกาะ แล้วจึงค่อยกิน
นกกินเปี้ยว จะผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ทำรังตามฝั่งแม่น้ำ ลำคลอง หรือเนินดิน โดยการใช้ปากและเล็บขุดดินให้เป็นโพรง ไข่สีขาว ในแต่ละรังมีไข่ 4-6 ฟอง ระยะฟักไข่ 16-17 วัน
อาหารของนกกินเปี้ยว คือ ปูเปี้ยว กินสัตว์น้ำต่าง ๆซึ่งเป็นที่มาของชื่อเรียก "นกกินเปี้ยว" ซึ่งเป็นนกประจำถิ่น และสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562
ภาพจาก : Suchada panjan
ที่มา : อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช)
#อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา #กรมอุทยานแห่งชาติ #พังงา #นกกินเปี้ยว
ท่องเที่ยว
สิ่งแวดล้อม
สื่อทางเลือก
1 บันทึก
11
2
1
11
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย