Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
My Bike Journey
•
ติดตาม
27 ก.ย. 2023 เวลา 09:14 • ประวัติศาสตร์
Bangkok
จุดยึด "ขากระบอกน้ำ" ได้ถูกเพิ่มบนท่อนั่งเฟรมจักรยานเมื่อใด?
เท่าที่ความทรงจำระลึกได้...จักรยานสมัยใหม่ไม่ว่าจะทำจากวัสดุอะไรก็มีจุดยึดขากระบอกน้ำ ๒ จุดมานานหลายปีแล้ว ซึ่งโดยปกติจะอยู่บนท่อนั่ง(seat tube) และท่อล่าง(down tube) ของเฟรมจักรยาน.
อย่างไรก็ตาม เฟรมจักรยานเหล็กสมัยก่อนกลับมีจุดยึดขากระบอกน้ำเพียงจุดเดียวที่ท่อล่าง ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปในยุค ๗๐ หรือก่อนหน้านั้น ทำให้เกิดข้อสงสัยตามมาว่า...
เฟรมจักรยานเหล็กในยุค ๗๐ ที่มีจุดยึดขากระบอกน้ำจุดเดียวที่ท่อล่าง.
●
เหตุใดถึงมีที่ยึดขากระบอกน้ำจุดเดียว จากการค้นคว้าในเว็บต่างๆ รวมถึงเว็บของนักปั่นจักรยานชาวเยอรมันท่านหนึ่งที่อ่านเป็นประจำพบว่า ในช่วงแรกบ่อยครั้งพบว่านักปั่นจักรยานจะยึดกระบอกน้ำที่สองไว้กับแฮนเดิลบาร์หรือสเตม เนื่องจากเฟรมจักรยานสมัยก่อนจะถูกออกแบบท่อนั่งมาเพื่อทำที่ยึดสูบลมที่นักปั่นต้องพกติดไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแข่งขันจักรยานรายการใหญ่ๆ ที่มีกฎให้นักแข่งต้องพกสูบลมไปด้วย.
จุดยึดขากระบอกน้ำที่สองและสามบนจักรยานมีผลทำให้จุดศูนย์ถ่วงโดยรวมสูงขึ้น.
■
นอกจากนี้ สูบลมพกพาสมัยก่อนนั้นมีขนาดยาวกว่าสมัยนี้และแน่นอนว่าไม่มี CO2 หลอดเติมลมยางไว้ทุ่นแรง ทำให้ไม่สามารถพกสูบลมใส่กระเป๋าหลังเสื้อปั่นจักรยานได้ จึงต้องทำที่ยึดฯ ไว้ที่ท่อนั่ง ดังนั้น ที่ยึดกระบอกน้ำจึงต้องหลึกทางให้.
■
แม้จะมีแค่กระบอกน้ำเดียว แต่นักปั่นแข่งรายการยังได้เปรียบนักปั่นทั่วไปตรงที่มีทีมเซอร์วิสคอยส่งน้ำให้ตลอดทางการแข่งขัน ขณะที่นักปั่นทั่วไปจะต้องจอดแวะเติมน้ำระหว่างทางเมื่อน้ำหมดกระบอกที่มีเพียงหนึ่งเดียว.
■
ต่างจากในปัจจุบันที่เราสามารถพกกระบอกน้ำที่ใส่เครื่องดื่มเกลือแร่และน้ำเปล่าไปพร้อมกันได้ แต่ลองนึกดูว่าถ้าย้อนไปสมัยก่อนเราคงคิดถึงกระบอกน้ำอีกอันแน่นอน.
เฟรมจักรยานสมัยก่อนยุค ๗๐ ที่มีจุดยึดสูบลมพกพาที่ท่อนั่ง ทำให้จุดยึดขากระบอกน้ำที่สองต้องหลึกทางให้.
■
ช่วงปลายยุค ๘๐ ผู้ผลิตเฟรมจักรยานบางรายอย่างเช่น Colnago ได้เริ่มเพิ่มจุดยึดขากระบอกน้ำที่สองบนท่อนั่งขึ้นมา แต่ยังคงเป็นออพชั่นเสริมสำหรับลูกค้าที่ต้องการจ่ายเพิ่ม ยกเว้นในเฟรมจักรยานรุ่นพิเศษบางรุ่นที่ทำขึ้นมาเพื่อฉลองโอกาสพิเศษเท่านั้น.
■
หรือในกรณีของจักรยานทัวร์ริ่งสมัยก่อนที่ติดตั้งตะแกรงกระเป๋าหลังที่สามารถใส่สูบลมพกพาได้ ก็จะสามารถเพิ่มจุดยึดขากระบอกน้ำที่สองได้เช่นกัน.
จะเห็นได้ว่าการมีอยู่หรือต้องพกพาสูบลมขนาดใหญ่นั้นเป็นตัวชะลอการเกิดของจุดยึดขากระบอกน้ำที่สองอยู่พักใหญ่ ซึ่งปัจจุบันหลังจากการมาของสูบพกพาที่มีขนาดเล็กลงและสามารถใส่กระเป๋าหลังเสื้อปั่นจักรยานได้ หรือการมาของกระบอก CO2 ที่ทำให้ไม่ต้องพกสูบลมอีกต่อไปได้ปลดเปลื้องพันธนาการในเรื่องนี้ ทำให้เราเห็นจุดยึดขากระบอกน้ำที่เกิดขึ้นอีกหลายจุดในเฟรมจักรยานทั้งท่อบน ใต้ท่อล่าง ใต้เบาะนั่ง แม้กระทั่งยึดกับตะเกียบหน้าและหางหลัง(seat stay) ที่ไม่ใช่คารบอน ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปในจักรยานทัวร์ริ่ง.
ข้อมูลอ้างอิง:
https://cycling-obsession.com/when-did-colnago-add-bottle-cage-mount-to-seat-tube/
รูปภาพ:
https://www.radicalvelo.com/road/jp-56cm-weigle-special-vintage-road-bicycle-campagnolo-record-c
https://www.pedalpedlar.co.uk/products/u-gb-r4v-54cm-fanini-super-vintage-road-bike
ประวัติศาสตร์
จักรยาน
จักรยานเสือหมอบ
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย