25 ก.ย. 2023 เวลา 15:17 • การเมือง

สถาบันกษัตริย์ รัฐบาล กับความบิดเบี้ยวของอำนาจและอธิปไตยไทย (1)

เช่นนั้นแล้ว รัฐบาลที่เลือกตั้งมาจะมีความหมายอย่างไรหากการแก้ไขปัญหาต้องคอยหรือสุดท้ายมันต้องลงเอยที่สถาบันกษัตริย์เป็นผู้ทรงให้คำแนะนำและลงมาแก้ไขปัญหาเอง และอะไรทำให้สถาบันกษัตริย์กลายเป็นที่พึ่งในการแก้ปัญหาต่างๆ ความจริงแล้วมันควรเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลในฐานะผู้บริหาร มันควรจะเป็นเช่นนั้น
ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข หากว่ากันตามตรงคือการได้มาซึ่งอำนาจอธิปไตยนั้นมาจากประชาชนเรายกสิทธิ์แห่งอำนาจนั้นให้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อบริหารราชการแผ่นดิน โดยที่มีสถาบันกษัตริย์เป็นประมุขสัญลักษณ์ของประเทศ การบริหารราชการแห่นดินนั้นจะมาจากสถาบันทั้งสามอันมีนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ สามสถาบันนี้คือปัจจัยลักสำคัญของความมั่นคงทางอธิปไตยของประชาชน
แต่ปัญหาของอำนาจในประเทศไทยนั้นคือการที่รัฐบาลนั้น ไม่มีสิทธิ์เด็ดขาดในการตัดสินใจบางอย่าง เพราะที่่ผ่านมานั้น หลักการแก้ไขปัญหาต่างๆ เราให้สถาบันกษัตริย์ เป็นผู้ทรงเสนอแนวทางแก้ไข แล้วรัฐบาลจึงน้อมนำมาใช้ในการบริหารและถือเป็นคติสูงสุดของการปกครอง และในสิ่งๆนั้น ปรากฏการณ์ของการเทิดพระเกียรติโดยใช้พ่วงห้อยท้ายเพื่อสถาบันกษัตริย์ทั้งหลาย กลายเป็นเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจการใดๆได้อย่างรวดเร็วและการปกปิดความลับมืดมิดบางอย่างของราชการไทย
การนำเอาสถาบันกษัตริย์มาเป็นเครื่องหมายเครื่องมือของการสร้างความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์และความศรัทธาต่อรัฐบาลได้เริ่มต้นอย่างชัดเจนเมื่อการรัฐประหารปี 2500 ได้เกิดขึ้น บวกกับสถานการณ์โดยรอบข้างอันเป็นปัจจัยภายนอกที่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงภายในชาติ เป็นจุดสำคัญที่เหมาะแก่การกอบกู้ความมั่นคงของราชบัลลังก์และฟื้นฟูพระราชอำนาจหลังจากที่สูญเสียไปในเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
การฟื้นฟูระบอบสถาบันกษัตริย์ของไทยนั้นได้รับการสนับสนุนจากกองทัพและทางสหรัฐอเมริกาที่มีเป้าหมายที่จะสกัดกั้นการขยายอำนาจในทางภูมิภาคเอเชียของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลงไปได้ไม่กี่ปี ด้วยสถานการณ์แบบนี้นั้นได้เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการอ้างสิทธิ์ความชอบธรรมของกองทัพในการขึ้นสู่อำนาจทางการเมือง ด้วยเหตุผลของการรักษาสถาบันกษัตริย์และต้านภัยคุกคามคอมมิวนิสต์
โฆษณา