19 ก.ย. 2023 เวลา 15:20 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

แบคทีเรียเข้ามาอยู่ในตัวเราตอนไหน? EP.2

แบคทีเรียเข้ามาอยู่ในตัวเราตอนไหน Ep.2 การดูดน้ำนมและการคัดเลือกแบคทีเรียเข้าร่างกายผ่านการหายใจครั้งแรก จากบทความที่แล้วเราพอจะทราบกันแล้วว่าแม่เป็นส่งต่อแบคทีเรียในร่างกายให้กับเรา ไม่ว่าจะผ่านทางช่องคลอดโดยธรรมชาติ หรือการปรับเปลี่ยนระบบนิเวศในลำไส้ของคุณแม่เพื่อเตรียมให้กับลูกน้อย
เมื่อลูกน้อยได้ลืมตาตื่นและหายใจเป็นครั้งแรก ในอากาศที่เต็มไปด้วยแบคทีเรียหลากหลายชนิดก็เข้าไปพร้อมกับอากาศหายใจนั้นด้วย ในการคัดเลือกว่าแบคทีเรียตัวไหนบ้างที่ผ่านด่านกลไกก็ง่ายมากโดยปกติแล้วร่างกายจะมีการหลั่งสารเคมีหลายชนิด เช่น Lysozyme ที่สามารถทำลายแบคทีเรียได้ ถ้าเเบคทีเรียผ่านด่านนี้ไปได้ก็เเปลว่าได้ถ฿กเลือกให้ตั้งรกรากในจมูกได้ ดังนั้น การตั้งรกรานนี้ไม่ใช่ว่าแบคทีเรียชนิดไหนมาก่อนได้ก่อนแต่เป็นการคัดเลือกมาเเล้วนั่นเอง
เมื่อทารกตัวน้อยได้เริ่มดูดนมแม่ กรดจากช่องคลอดที่ยังพอมีหลงเหลืออยู่ในปาก กรดอ่อนๆนี้ก็สามารถช่วยคัดเลือกเเบคทีเรียเข้ามาอยู่ในปากได้เช่นกัน เมื่อน้ำนมของแม่ไหล่ผ่านปากของทารกน้อยที่เต็มไปด้วยแบคทีเรีย น้ำตาลแล็กโตสในน้ำนมก็จะถูกจุลินทรีย์ที่เป็นพวกแล็กโตบาซิลไลที่มีคุณสมบัติย่อยน้ำตาลเก่งช่วยให้ทารกสามารถย่อยน้ำตาลได้ดีมากขึ้น
นอกจากนั้นแลกโตบาซิลไลนี้ยังสามารถไฟลไปพร้อมกับน้ำนมลงไปสู่ลำไส้ทำให้ทางเดินอาหารเต็มไปด้วยแบคทีเรียย่อยนมเก่งและยังผ้องกันแบคทีเรียก่อโรคอื่นๆมาตั้งรกรากในทางเดินอาหารอีกด้วย
ส่ิงที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ ไม่ได้มีเพียงแค่เราเท่านั้นที่มีการส่งต่อเชื้อแบคทีเรีย ในสัตว์อื่นๆก็มีเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น แมลงสาบ แม่แมลงสาบจะรวมแบคทีเรียจากทางเดินอาหารไว้เป็นเเพ็กเกจที่เรียกว่า ‘Bacteriocyte’ เมื่อตัวอ่อนของมันเริ่มเติบโตก็จะกิน Bacteriocyte เข้าไปก็จะได้รับแบคทีเรียเพื่อช่วยย่อยอาหาร
หมีโคอาลา เมื่อช่วงเวลาเติบโตของลูกน้อยมาถึง ลูกของมันจำเป็นต้องเปลี่ยนไปกินใบยูคาลิปตัสซึ่งเป็นใบไม้ที่มีลักษณะเเข็ง ดังนั้น ก่อนกินใบไม้จริงครั้งแรกของลูกน้อย แม่หมีโคอาลาจะให้ลูกฝึกฝนการก่อนโดยทำการสร้างสารที่เหมือนครีมนิ่มๆ มีกลิ่นคล้ายใลยูคาลิปตัส เรียกว่า pep ให้ลูกกิน
จนถึงตรงนี้ อาจกล่าวได้ว่าการส่งต่อแบคทีเรียไม่ใช่แค่การปนเปื้อนแต่เปรียบเสมือนกระบวนการวิวัฒนาการที่ถูกเลือกมาแล้วเพื่อการดำรงเผ่าพันธุ์ให้คงอยู่ต่อไปค่ะ จบกันไปแล้วกับเรื่องราวของแบคทีเรียเข้ามาอยู่ในตัวเราตอนไหน ในบทความครั้งถัดไป เราจะมาแลกเปลี่ยนเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับโลกใบจิ๋วนี้อีก อย่าลืมติดตามกันนะคะ
ขอบคุณค่ะ
ของคุณหนังสือดีๆ : Microbiota อวัยวะที่ถูกลืม โดย หมอผิง และเพื่อนเก่าที่หายสาบสูญ โดย นพ.ชัชพล เกียรติขจรธาดา
โฆษณา