20 ก.ย. 2023 เวลา 08:49 • ข่าว

เงินบาทอ่อนหนักทะลุ 36 บาทต่อดอลลาร์ กังวลปัจจัยในประเทศ หุ้น TU-CPF ได้ประโยชน์

ความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในเช้าวันนี้ยังคงอ่อนค่าอย่างหนัก โดยในเช้าวันนี้ โดยทะลุ 36.261 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าสุดในรอบ 10 เดือน โดย เป็นผลจากการเทขายสินทรัพย์ในประเทศ จากความกังวลปัจจัยในประเทศเป็นหลัก
2
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มของค่าเงินบาท การอ่อนค่าของเงินบาทในวันก่อนหน้า เป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมายของเราไปมาก โดยเงินบาทอ่อนค่าหนักกว่าสกุลเงินเอเชียอย่างเห็นได้ชัด สะท้อนว่า การอ่อนค่าของเงินบาทอาจมาจากปัจจัยภายในประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากแรงขายสินทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างชาติ
3
โดยเฉพาะบอนด์ หลังนักลงทุนต่างชาติต่างไม่มั่นใจต่อแนวโน้มปริมาณการออกบอนด์ของรัฐบาล นอกจากนี้ แรงขายเงินดอลลาร์จากฝั่งผู้ส่งออกได้ชะลอลงไปมาก เนื่องจากผู้ส่งออกส่วนใหญ่อาจทยอยขายเงินดอลลาร์ไปพอสมควรแล้วในช่วงก่อนหน้า ทำให้การอ่อนค่าทะลุโซนแนวต้าน 35.85 บาทต่อดอลลาร์ เปิดทางให้เงินบาทอ่อนค่าทดสอบ 36.00 บาทต่อดอลลาร์ได้ไม่ยาก
ทั้งนี้ เรายอมรับว่า การอ่อนค่าของเงินบาทที่มากกว่าคาดนั้น ได้เปิดโอกาสให้เงินบาทสามารถอ่อนค่าต่อทดสอบโซนแนวต้านถัดไปแถว 36.30 บาทต่อดอลลาร์ได้เช่นกัน ซึ่งต้องจับตาทิศทางการเคลื่อนย้ายเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติว่าจะเดินหน้าเทขายสินทรัพย์ไทยเพิ่มขึ้นหรือไม่ โดยเฉพาะในส่วนบอนด์ หลังบอนด์ยีลด์ฝั่งสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวสูงขึ้น
1
อย่างไรก็ดี เรามองว่า เงินบาทอาจไม่ได้อ่อนค่าต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผู้เล่นส่วนใหญ่ต่างรอลุ้น ผลการประชุม FOMC ในช่วงเช้าตรู่ของวันพรุ่งนี้ โดยเราประเมินว่า เงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้นต่อได้บ้าง หาก Dot Plot ใหม่ ชี้ว่าเฟดมีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่ออีก 1 ครั้งในปีนี้ และเฟดอาจไม่ได้ลดดอกเบี้ยลงเกินกว่า -1% ในปีหน้า ตามที่เคยประเมินไว้ใน Dot Plot เดือนมิถุนายน
ซึ่งภาพดังกล่าวอาจหนุนให้เงินบาททยอยอ่อนค่าทดสอบโซน 36.30 บาทต่อดอลลาร์ได้ ขณะที่ หาก Dot Plot ใหม่ ไม่ได้ชี้ว่า เฟดพร้อมเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ หรือ สะท้อนว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยลงราว -1% (หรือมากกว่านั้น) ในปีหน้า เราคาดว่า เงินดอลลาร์อาจย่อตัวลงบ้าง หนุนให้เงินบาทมีโอกาสกลับมาแข็งค่าหลุดระดับ 36.00 บาทต่อดอลลาร์ ได้เช่นกัน
อนึ่ง ในช่วงนี้ เรามองว่า ทุกสินทรัพย์ยังอยู่ในช่วงเผชิญความผันผวนสูง จากทั้งความไม่แน่นอนของทิศทางนโยบายการเงิน ความกังวลแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ทำให้เราคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย
2
อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และนอกเหนือจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว การเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ก็เป็นอีกแนวทางในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้ง
1
มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.00-36.15 บาท/ดอลลาร์ ในช่วงก่อนทยอยรับรู้ผลการประชุม FOMC และ ประเมินกรอบเงินบาท ในช่วง 35.80-36.30 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงทยอยรับรู้ผลการประชุม FOMC
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส ประเมินว่า เงินเฟ้อเสี่ยงเพิ่ม ฐานะการคลังไทยเสี่ยงอ่อนแอ...พาเงินบาท อ่อนค่า โดยวานนี้เงินบาทวิ่งทะลุ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทำจุดสูงสุดในรอบ 10 เดือน แม้ ดอลลาร์อินเด็กซ์ จะปรับลดลง ซึ่งการที่เงินบาทอ่อนค่าอย่างรวดเร็วเช่นนี้ สะท้อนถึงความผิดปกติที่ เกิดขึ้นด้วยแรงกดดันหลักๆ
ดังนี้ แรงกระตุ้นเงินเฟ้อ ทั้งจากฝั่ง Demand ด้วยความหวังเศรษฐกิจจีนฟื้นตัว รวมถึงฝั่ง Supply จากความรุนแรงของปรากฏการณ์เอลนีโญ บวกกับ ราคาพลังงานที่ยังเห็นปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยล่าสุดราคาน้ำมัน Brent อยู่เหนือ 94 เหรียญฯ/บาเรล (เพิ่มขึ้น 9% จากต้นเดือนถึงปัจจุบัน และ เพิ่มขึ้น 10% จากต้นปี ทั้งนี้ในเชิงเทคนิค อาจมี Momentum ขยับขึ้นต่อไปถึง 100 ดอลลาร์ต่อบาเรล
ความเสี่ยง ค่าเงินบาทอ่อนค่า จากผลต่างระหว่าง Bond Yield 1 ปีไทย ที่ 2.4% กับสหรัฐฯ ที่ 5.42% โดยมี Gap ที่กว่างขึ้นเป็น 302 bps. ขณะเดียวกันยังมีความกังวลว่า Fitch Rating จะปรับอันดับความน่าเชื่อถือ ลงไทยลง (ปัจจุบันอยู่ระดับ BBB+) หากฐานะทางการคลังในบ้านเราอ่อนแอจากผลของนโยบายรัฐบาลใหม่ที่อาจทำหนี้พุ่ง ถือเป็นความเสี่ยงต่อ Fund Flow รวมถึงค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า กลยุทธ์ระยะสั้นเน้นหุ้น ได้ประโยชน์จากบาทอ่อนค่า แนะนำ CPF-TU
ติดตามข่าวสารและบทความด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจการตลาด การเงินการลงทุน นวัตกรรมเทคโนโลยีและสินทรัพย์ดิจิทัล เพิ่มเติมได้ที่ Thairath Money #การเงินดีชีวิตดี
โฆษณา