21 ก.ย. 2023 เวลา 09:43 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ทศวรรษที่สูญหายของการลงทุน

ในรอบปีสองปีที่ผ่านมา การปรับตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อทั่วโลกทำให้สินทรัพย์ในกลุ่มตราสารหนี้ระยะยาวปรับตัวลดลงอย่างน่าใจหาย
โดยกองทุน ETF ของตราสารหนี้อายุ 20 ปีขึ้นไปอย่าง iShares 20 Plus Year Treasury Bond ETF (TLT) ปรับลดลงไปกว่า 40% ในช่วงเวลาดังกล่าว
การปรับตัวลดลงที่รุนแรงขนาดนี้ทำให้ผลประกอบการที่สะสมมาเกือบ 10 ปีหายไปหมดทั้งสิ้นแม้จะร่วมอัตราดอกเบี้ยที่ได้มาตลอดทางแล้วก็ตาม เหตุการณ์แบบนี้เราเรียกว่าเป็น “ทศวรรษที่สูญหาย (lost decade)”
โพสต์นี้เราจะมาดูกันว่าที่จริงแล้ว #ทศวรรษที่สูญหาย มันเป็นเรื่องปกติขนาดไหน⁉ และเราควรมีวิธีรับมืออย่างไร 🧐
ก่อนที่อัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อจะพุ่งขึ้นสูงอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ถ้ายังจำกันได้ช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา (1995-2020) อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกถือว่าอยู่ในช่วงขาลงมาโดยตลอด ทำให้สินทรัพย์ประเภท #ตราสารหนี้ อยู่ในภาวะตลาดกระทิงที่ร้อนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์ 📈
ในช่วงเวลาดังกล่าว ตราสารหนี้ที่ความผันผวนต่ำให้ผลตอบแทนดีกว่าหุ้นที่เสี่ยงกว่าด้วยซ้ำไป โดย S&P500 ให้ผลตอบแทนรวมต่อปีที่ 8.0% ในขณะที่ตราสารหนี้ระยะยาวให้ผลตอบแทนที่ 8.2% ต่อปี
อย่างไรก็ตาม ถ้าเรามองย้อนกลับไปไกลกว่านั้นในช่วงปี 1950-1981 ตราสารหนี้ระยะยาวกลับทำผลตอบแทนติดลบเพราะเงินเฟ้อและดอกเบี้ยปรับขึ้นต่อเนื่อง
เหตุการณ์เหล่านี้ถือว่าเป็นปกติมากสำหรับตลาดการเงินการลงทุน เพราะทุกสินทรัพย์มีช่วงเวลาที่ดีและแย่ วนไปเป็นวัฏจักรเสมอ 💌
ยกตัวอย่างเช่น ดัชนี S&P500 ในช่วงปี 2000-2009 ทำผลตอบแทนติดลบราว 10% ถือเป็นทศวรรษที่สูญหายของตลาดหุ้นอเมริกา แต่ในช่วงเวลานั้นดัชนีหุ้นตลาดเกิดใหม่กลับทำผลตอบแทนได้ 160% ในขณะที่ทองคำปรับขึ้นถึง 275%
แต่พอมาในช่วงปี 2008-2016 ตลาดหุ้นเกิดใหม่กลับทำผลตอบแทนติดลบไป 11% ในขณะที่ทองคำไปทำจุดสูงสุดที่ $1900 ในปี 2011 ก่อนจะไม่สามารถกลับมาผ่านจุดนี้ได้อีกเลยจนกระทั่งปี 2020 เรียกได้ว่าเป็นทศวรรษที่สูญหายของทั้งสองสินทรัพย์
ทศวรรษที่สูญหายไม่ได้เกิดแต่เฉพาะกับประเภทสินทรัพย์ แต่ยังเกิดกับสไตล์การลงทุนด้วย ยกตัวอย่างเช่น
#หุ้นเติบโตสูง โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยี มักทำผลตอบแทนได้เหนือกว่ากลุ่มอื่นอย่างชัดเจนในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในขาลง ในขณะที่การลงทุนในลักษณะ VI หรือ #ValueInvestor ที่เน้นหุ้นที่มี valuation ต่ำบวกพื้นฐานโอเค กลับทำผลตอบแทนไม่ดีนัก
แต่เมื่อดอกเบี้ยเริ่มขึ้นกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ผลประกอบการของหุ้นเริ่มสะท้อนพื้นฐานของบริษัทมากขึ้น หุ้นในกลุ่ม VI ก็มักจะกลับมาทำได้ดีกว่า
ยิ่งเราทุ่มการลงทุนของเราลึกลงไปในสินทรัพย์ย่อย เช่น หุ้นรายประเทศ หุ้นรายอุตสาหกรรม หรือสินค้าโภคภัณฑ์ ความเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะทศวรรษที่สูญหายของสินทรัพย์นั้นๆ จะยิ่งเพิ่มขึ้นทวีคูณ เช่น
ในช่วง 10ปี ที่ผ่านมา ถ้าเกิดใครลงทุนแล้วเน้นแต่หุ้นจีน หรือหุ้นพลังงานเพียงอย่างเดียว อาจแทบไม่ได้ผลตอบแทนเลยก็ได้ 😰
วัฏจักรของสินทรัพย์ที่มีทั้งขาขึ้นและขาลงนี่เอง ที่เป็นตัวเน้นความสำคัญของการ #กระจายความเสี่ยง การลงทุนของเราออกไปในสินทรัพย์หลากหลายประเภท เพราะการลงทุนในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งเพียงอย่างเดียวอาจทำให้พอร์ตการลงทุนของเราเสี่ยงเกินไป
วางแผนลงทุนกับ EDGE ผ่าน
KKP MOBILE APP โหลดเลย!
#EDGE #EDGEInvest #กองทุนรวม #ลงทุน #วางแผนลงทุน #Oneofakind
โฆษณา