21 ก.ย. 2023 เวลา 10:10 • อาหาร
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

ก่อนกิน มันสำปะหลัง คุณรู้จัก ‘มัน’ ดีหรือยัง?

ไซยาไนด์เป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีอนุมูลไซยาไนด์เป็นองค์ประกอบ บางชนิดออกฤทธิ์ทำอันตรายต่อชีวิตได้อย่างรวดเร็ว ที่น่าสนใจคือ ไซยาไนด์หลายชนิดพบได้พืช เช่น มันสำปะหลัง
มันสำปะหลัง เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในอุตสาหกรรมแป้งและเม็ดสาคู แต่ก่อนที่จะถูกแปรรูปเป็นอาหารหลากหลายรูปแบบให้เราได้รับประทาน เรารู้จักมันสำปะหลัง แค่ไหน เพราะหากรู้จักไม่มากพอ การเลี่ยงได้รับไซยาไนด์ตามธรรมชาติ...จะทำได้ยากเพราะ
.
 
มันสำปะหลังจะปล่อยก๊าซไซยาไนด์ออกมาระหว่างการเก็บและผลิตเป็นแป้งได้เสมอ
.
หัวและใบมันสำปะหลังดิบบริโภคไม่ได้ เนื่องจากมีสารไซยาโนเจนิกกลัยโคไซด์หลักถึง 2 ชนิด และจะออกฤทธิ์เมื่อถูกย่อยสลายโดยเอ็นซัมลินามาเรส
.
พนักงานที่ทำงานในอุตสาหกรรมการแปรรูปมันสำปะหลังได้รับไฮโดรเจนไซยาไนด์อย่างต่อเนื่อง ทั้งจากการหายใจ การสัมผัสทางผิวหนัง แต่ไซยาไนด์ปริมาณต่ำส่วนใหญ่จะถูกขับออกจากร่างกายภายใน 24 ชั่วโมง
.
มีการทดลองให้เกลือโซเดียมไซยาไนด์ในหนูแฮมสเตอร์ที่ตั้งท้อง ซึ่งผลการศึกษาพบว่า มีการชักนำให้เกิดการหายไปของตัวอ่อนในมดลูกของแม่หนู ลูกหนูที่คลอดออกมามีรูปร่างผิดปกติ ซึ่งความผิดปกติที่พบมากสุดคือ ความบกพร่องของท่อประสาท
.
นอกจากนี้ยังพบข้อมูลว่าการกินอาหารทำจากมันสำปะหลังที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ไม่ดีพอ ร่างกายจะได้รับผลจากสารประกอบไธโอไซยาเนต (ซึ่งเกิดในร่างกายหลังจากการพยายามกำจัดไซยาไนด์ทิ้ง) ทำให้เกิดอาการคอพอก
.
ในคน ทารกในครรภ์จะได้รับไซยาไนด์และไทโอไซยาเนตผ่านรก การศึกษาในสัตว์ทดลองแสดงให้เห็นว่า ไซยาไนด์และไทโอไซยาเนตสามารถขับออกมาในน้ำนมไปยังลูกได้อีกด้วย แม่ที่กินอาหารที่มีแป้งมันสำปะหลังเป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรตแล้วตั้งท้อง โอกาสที่จะเกิดปัญหากับลูกที่เกิดมาย่อมเป็นไปได้
.
.
ผู้คนในเขตร้อนบางประเทศที่กินมันสำปะหลังเป็นแหล่งของอาหารแป้งนั้น เด็กบางส่วนเกิดมาพร้อมด้วยปัญหาของไทรอยด์
.
การทดลองยังพบว่า การกินอาหารที่มีสารประกอบไซยาโนเจนิกกลัยโคไซด์ส่งผลให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ต่ำ การมีฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำของแม่นั้นมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของออทิสติกทั้งเด็กชายและเด็กหญิงอย่างชัดเจน
.
นอกจากเป็นอาหารอร่อยๆ แล้ว อีกด้านหนึ่ง มันสำปะหลังยังเป็นพืชที่ปล่อย ไซยาไนด์ตามธรรมชาติ ออกมาตลอดกระบวนการ เมื่อเข้าสู่ร่างกาย แม้ในปริมาณต่ำจะสามารถขับออกมาได้ ภายใน 24 ชั่วโมงแต่การได้รับปริมาณสูง หรือสม่ำเสมอ ไซยาไนด์ส่งผลให้ร่างกายเจ็บป่วยหลายอาการและยังส่งผลอันตรายได้ถึง ทารกในครรภ์ !
ช่องทางการร้องเรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
ติดตามข่าวสาร เพื่อสิทธิผู้บริโภคของท่านได้ที่
เฟสบุ๊ค เพจ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
เฟสบุ๊ค เพจ นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
โฆษณา