Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ก๋าไก่ Next Gen
•
ติดตาม
23 ก.ย. 2023 เวลา 00:05 • ไลฟ์สไตล์
วัดปงยางคก
ประเพณีสลากภัณฑ์ กิ๋นข้าวสลาก
วัดเก๊าเปิ้นกิ๋น เปิ้นตานกันแล้วเด้อ
🙏 ตานก๋วยสลากวัดปงยางคก เปิดศักราชใหม่ของประเพณีตานก๋วยสลากลำปาง
.
เมื่อประเพณีตานก๋วยสลากประจำปี 2566 กลับมาพบบรรจบอีกครั้งในวันนี้ (22 กันยายน 2566) ที่วัดปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นวัดลำดับแรกที่ต้องจัดประเพณีนี้ ก่อนที่วัดอื่น ๆ ในจังหวัดลำปางจะจัดตามกันมาจนถึงวัดลำดับสุดท้ายคือ วัดพระธาตุลำปางหลวง
.
🙏 ตานก๋วยสลาก หรือสลากภัต ประเพณีที่มีมาตั้งแต่ครั้งสมัยพุทธกาลและปัจจุบันยังคงปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยตานก๋วยสลากเป็นประเพณีการทำบุญครั้งใหญ่ชาวบ้านทางเหนือที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีวัฒนธรรมอันงดงาม เพื่อแสดงถึงความสามัคคีของคนในชุมชน ตลอดจนเพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว
.
สลากภัตของทางเมืองเหนือ ประกอบด้วย
🙏 สลากหน้อย คือ สลากกระชุเล็กสลากก๋วยใหญ่ หรือ สลากโชค
🙏 สลากก๋วยเล็ก ใช้ถวายอุทิศแด่ผู้ตาย หรือทำบุญเพื่อเป็นกุศลในภายหน้า ส่วนสลากก๋วยใหญ่ใช้ถวายเป็นมหากุศลสำหรับบุคคลผู้มีกำลังศรัทธาและร่ำรวยเงินทอง ทำถวายเป็นพลวปัจจัยให้มีบุญกุศลมากขึ้น
.
🙏 “เส้นสลาก” ตามที่เห็นในชุดภาพเกิดจากผู้เป็นเจ้าของก๋วยสลากนั้น ๆ จะต้องเอาใบลานหรือกระดาษมาตัดเป็นแผ่นยาวจารึกชื่อเจ้าของไว้ และบอกด้วยว่าอุทิศส่วนกุศลนั้นให้ใครบ้าง
.
คำจารึกในเส้นสลากนั้นมักจะเขียนว่า "สลากข้าวของนี้ หมายมีผู้ข้า นายเมือง นางดี ขอทานไว้กับตนตัวภายหน้า” ซึ่งหมายความว่า ถวายทานไว้อุทิศส่วนกุศลไว้สำหรับตัวเอง เมื่อล่วงลับไปแล้ว จะได้รับเอาของไทยธรรมนั้นในปรโลก
.
🙏 “เส้นสลาก” ที่กล่าวนี้ จะต้องเขียนไว้ให้ครบจำนวนก๋วยสลาก เมื่อชาวบ้านนำเอาก้อยสลากไปที่วัดแล้ว ก็จะเอาสลากไปรวมกันไว้ที่หน้าพระประธานในวิหาร ซึ่งผู้รวบรวมสลากมักจะเป็นมัคทายกหรือที่เรียกกันว่า “อาจารย์” รวบรวมได้เท่าไร ก็จะเอาจำนวนพระภิกษุสามเณรที่นิมนต์มาจากหัววัดต่าง ๆ นั้นหารจำนวนสลาก และหักเหลือไว้ ส่วนหนึ่งเป็นส่วนของ “พระเจ้า” (คำว่าพระเจ้า เมืองเหนือหมายถึง พระพุทธรูป เช่น พระเจ้าเก้าตื้อ พระเจ้าทองทิพย์ ฯลฯ)
และในที่นี้หมายถึงเป็นส่วนพิเศษของวัดที่จัดทำพิธีทานก๋วยสลากนั่นเอง สลากของ “พระเจ้า” นี้ เมื่อเสร็จจากการทำบุญแล้ว ก็จะแบ่งปันให้พระภิกษุสามเณรและเด็กวัด (ทางเมืองเหนือเรียกว่า ขะโยมวัด) โดยทั่วถึงกัน และอาจารย์หรือมัคทายก ก็จะได้ส่วนหนึ่ง แต่เงินยอดก๋วยสลากนั้น ส่วนของ “พระเจ้า” จะต้องเป็นเงินกองกลาง ของวัดสำหรับใช้จ่ายในกิจการของวัดต่อไป
.
🙏 ทำไมจังหวัดลำปางต้องตานก๋วยสลากที่วัดปงยางคกเป็นที่แรก
.
เพราะวัดปงยางคกเป็นวัดต้นตระกูลเจ้าเจ็ดตนของหนานทิพย์ช้าง (เป็นวัดที่เจ้าหนานฯ ศึกษาและบวชเรียน) และตำบลปงยางคกยังเป็นบ้านเกิดของเจ้าหนานทิพย์ช้างด้วย โดยที่นี่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงเจ้าหนานทิพย์ช้างเมื่อคราวที่พม่ายกทัพเข้ามายึดครองล้านนา เจ้าหนานทิพย์ช้างได้รวบรวมผู้คนเข้าต่อสู้และปลดแอกลำปางจากกองทัพพม่าได้
.
🙏 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เพื่อเป็นการรำลึกถึงความกล้าหาญของเจ้าหนานทิพย์ช้าง เมื่อถึงคราวจัดประเพณีตานก๋วยสลาก ชาวลำปางจะจัดงานฯ ที่วัดปงยางคกเป็นแห่งแรก และยึดถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียมว่า จะต้องจัดที่วัดสำคัญของเมืองนั้น ๆ ก่อน แล้ววัดอื่นถึงจะจัดตามได้
.
🔎 อ้างอิงข้อมูลจาก : ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
.
#ก๋าไก่NextGen #ลำปาง #ตานก๋วยสลาก #สลากภัต #ห้างฉัตร #วัดปงยางคก #หนานทิพย์ช้าง
เรื่องเล่า
สังคม
สื่อทางเลือก
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย