Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BrandCase
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
26 ก.ย. 2023 เวลา 05:40 • ธุรกิจ
เจ้าของ Bangkok Airways รายได้เกือบ 50% มาจาก เที่ยวบินสมุย
เจ้าของ บางกอกแอร์เวย์ส (Bangkok Airways) คือ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
ซึ่งรายได้ครึ่งแรกปีนี้ ของบริษัทนี้ ทุก ๆ 100 บาท มาจากเที่ยวบินสมุย ถึง 43 บาท
ซึ่งที่สนามบินสมุย มีเที่ยวบินประมาณ 60 เที่ยวบินต่อวัน มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ
โดยเป็นเที่ยวบินของ บางกอกแอร์เวย์ส เกือบทั้งหมด
โมเดลรายได้ของ เจ้าของบางกอกแอร์เวย์ส เป็นอย่างไร ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
1
สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส และกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ
มีเจ้าของคนเดียวกัน คือคุณหมอปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ
ซึ่งเที่ยวบินชุดแรก ที่บางกอกแอร์เวย์ส เริ่มให้บริการ
คือเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และกรุงเทพฯ-กระบี่ ในปี 2529
แต่ก็ต้องบอกว่า สำหรับธุรกิจการบินแล้ว
คุณหมอปราเสริฐ ไม่ได้หยุดเพียงแค่ทำสายการบินอย่างเดียว แต่เขามองไปไกลกว่านั้น
นั่นคือ การเป็นเจ้าของสนามบิน โดยเมืองที่เขาต้องการสร้างสนามบิน ไม่ใช่หัวเมืองหลักที่จะมีสนามบินไปลงจอดเยอะ ๆ
แต่เป็นเมืองท่องเที่ยวแทน..
ซึ่งคุณหมอปราเสริฐ ก็มองเห็นศักยภาพของพื้นที่ในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ว่ามีธรรมชาติ ชายหาดที่สวยงาม และมีศักยภาพพอที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกในอนาคต
ทำให้ในปี 2527 คุณหมอปราเสริฐ ตัดสินใจกว้านซื้อที่ดิน 500 กว่าไร่ บนเกาะสมุย มาพัฒนาเป็นสนามบิน
พร้อมกับตั้งสำนักงานขายตั๋วเดินทางของบางกอกแอร์เวย์ส
ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เพื่อโปรโมตนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก ให้มาเที่ยวเกาะสมุย
สนามบินเกาะสมุย สร้างเสร็จในปี 2532
นับเป็นสนามบินเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีเจ้าของเป็น สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส
หลังจากที่สนามบินเกาะสมุยเปิดให้บริการ ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเกาะสมุยง่ายขึ้น
2
เครื่องบินกลายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนักท่องเที่ยว
ซึ่งสามารถบินตรงมายังเกาะสมุยได้เลย จากแต่เดิมที่เส้นทางหลักคือ ต้องนั่งเรือเฟอร์รีข้ามฟากมาจากฝั่งสุราษฎร์ธานี
1
ในเวลาต่อมา เครื่องบินที่บินตรงมายังเกาะสมุย ก็ได้รับความนิยมมากขึ้น
โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่กระเป๋าหนักหรือมีกำลังซื้อสูง
สามารถนั่งเครื่องบินจากกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ต หรือจะบินตรงจากต่างประเทศ
อย่างเช่น ฮ่องกงและสิงคโปร์ สามารถนั่งมาลงที่สนามบินสมุยได้เลย
โดยถ้าดู รายได้ครึ่งแรกของปี 2566 ของ บมจ.การบินกรุงเทพ เจ้าของบางกอกแอร์เวย์ส
- รายได้จากค่าโดยสาร 69%
- รายได้จากบริการ เช่น บริการภาคพื้นดิน และครัวการบิน 18%
- รายได้อื่น ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมในการออกตั๋ว และเงินปันผล 13%
ที่น่าสนใจคือ ถ้าเจาะลงไปอีกที่ค่าโดยสารของสายการบินนั้น
คือมาจากเที่ยวบินไป-กลับ เกาะสมุย คิดแล้วเป็น 43% ของรายได้ครึ่งแรกของปี 2566 เลยทีเดียว
1
แล้วทำไมถึงเป็นแบบนี้ ?
อย่างที่บอกว่า สนามบินสมุย เป็นสนามบินที่สร้างโดยคุณหมอปราเสริฐ เจ้าของบางกอกแอร์เวย์ส
ซึ่งใน 60 เที่ยวบินต่อวัน ที่เข้า-ออกจากสนามบินสมุย บางกอกแอร์เวย์ส กินส่วนแบ่งตลาด เที่ยวบินในสนามบินเกาะสมุย เกือบ 100%
ทำให้นักท่องเที่ยว ที่ต้องการขึ้นเครื่องบินมาเกาะสมุยโดยตรง
เกือบ 100% จำเป็นต้องใช้บริการของ บางกอกแอร์เวย์ส
โดยเครือการบินกรุงเทพ ได้ตั้ง BAREIT หรือ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์สนามบินการบินกรุงเทพ ขึ้นมาในเดือนกันยายน ปี 2565
และก็มี บริษัท กรุงเทพบริหารสนามบิน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บมจ. การบินกรุงเทพ เข้าเป็นผู้เช่าสินทรัพย์ของ BAREIT ในระยะยาว
1
ซึ่งบางกอกแอร์เวย์ส ก็มีสำนักงานขายบัตรโดยสาร
และตัวแทนจำหน่ายบัตรโดยสารของสายการบินบางกอกแอร์เวย์สทั่วโลก
เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และประเทศในทวีปยุโรป
อย่างที่คุณหมอปราเสริฐเคยทำมา ตั้งแต่เมื่อ 30 กว่าปีก่อน
นอกจากมีสำนักงานและตัวแทนจำหน่ายทั่วโลกแล้ว
สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ยังเลือกที่จะเป็นพาร์ตเนอร์ กับสายการบินอื่น ๆ
อย่างเช่น การบินไทย, Qatar airways, EVA Air
เพื่อเป็นการแชร์เส้นทางบิน ที่บินจากต่างประเทศ มายังเกาะสมุย
ตัวอย่างเช่น
- ถ้านักท่องเที่ยว ต้องการบินจากไต้หวัน มายังเกาะสมุย เส้นทางการบินก็เช่น
นั่งสายการบิน EVA Air จากสนามบินเถาหยวน ไต้หวัน-สนามบินสุวรรณภูมิ
แล้วต่อด้วย บางกอกแอร์เวย์ส จากสนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินสมุย
1
- ถ้านักท่องเที่ยว ต้องการบินจากประเทศกาตาร์ มายังเกาะสมุย เส้นทางการบินก็เช่น
นั่งสายการบิน Qatar Airways สนามบินฮาหมัด ประเทศกาตาร์-สนามบินสุวรรณภูมิ
แล้วต่อด้วย บางกอกแอร์เวย์ส จากสนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินสมุย
ซึ่งการที่บางกอกแอร์เวย์สทำแบบนี้ เราเรียกว่าการทำ “Codeshare Agreement”
ถือเป็นการดึงนักท่องเที่ยวจากต่างชาติ ให้เข้ามาเที่ยวได้สะดวก โดยที่ไม่ต้องขยายเส้นทางบินไปต่างประเทศไกล ๆ ด้วยตัวเอง
ปัจจุบัน สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส มี Codeshare Agreement
ร่วมกับสายการบินอื่น ๆ กว่า 27 สายการบินทั่วโลก
และมีเส้นทางการบิน จากสนามบินต่าง ๆ มาลงที่สนามบินสมุยกว่า 7 เมือง คือ
- กรุงเทพฯ (สนามบินสุวรรณภูมิ) - สมุย
- เชียงใหม่-สมุย
- ภูเก็ต-สมุย
- กระบี่-สมุย
- พัทยา (สนามบินอู่ตะเภา) - สมุย
- สิงคโปร์-สมุย
- ฮ่องกง-สมุย
1
และกำลังจะเพิ่มเส้นทางบินมาสมุยอีกจาก 3 แห่ง คือ
- จากกรุงเทพฯ (สนามบินดอนเมือง)
- จากเมืองฉงชิ่ง ประเทศจีน
- จากเมืองเฉิงตู ประเทศจีน
1
ด้วยเที่ยวบินจาก 7 เมือง ที่มาเยือนเมืองท่องเที่ยวอย่าง เกาะสมุย
ทำให้ สนามบินสมุย มีจำนวนเที่ยวบินประมาณ 60 เที่ยวบินต่อวัน
2
มากกว่าสนามบินหาดใหญ่ ที่เป็นสนามบินหัวเมืองหลักของภาคใต้
มีจำนวนเที่ยวบินประมาณ 52 เที่ยวบินต่อวัน
และสนามบินกระบี่ สนามบินเมืองท่องเที่ยวหลักของภาคใต้
ที่มีจำนวนเที่ยวบินประมาณ 36 เที่ยวบินต่อวัน
1
และที่ว่ามาทั้งหมดนี้ก็เลยทำให้ บมจ.การบินกรุงเทพ เจ้าของบางกอกแอร์เวย์ส
มีรายได้เกือบ 50% มาจาก เที่ยวบินสมุย นั่นเอง
และปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
นอกจากสนามบินสมุยแล้ว
บมจ.การบินกรุงเทพ ยังได้สร้างสนามบิน เป็นของตัวเองเพิ่มอีก 2 แห่ง นั่นคือ
1. สนามบินสุโขทัย เปิดให้บริการเมื่อปี 2541
เพื่อเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยว ที่ต้องการไปเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ซึ่งเป็นมรดกโลก
1
2. สนามบินตราด เปิดให้บริการเมื่อปี 2546
เพื่อเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยว ที่ต้องการไปเที่ยว หรือพักผ่อนตากอากาศ ที่เกาะช้างและเกาะกูด
และในขณะนี้ ก็กำลังหารือ กับ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT)
เพื่อลงทุนก่อสร้างสนามบินพังงา ซึ่งเป็นสนามบินส่วนต่อขยาย ต่อจากสนามบินภูเก็ตอีกด้วย..
References
-รายงานประจำปี 2565 บมจ.บางกอกแอร์เวย์ส
-Opportunity day Q2/2023 Bangkok Airways PCL
-
https://www.bangkokair.com/tha/company-profile
-
https://www.bangkokair.com/tha/pages/view/samui-international-airport
-
https://www.aerothai.co.th/th/home
-
https://www.longtunman.com/43585
-
https://marketeeronline.co/archives/272376
ธุรกิจ
เศรษฐกิจ
7 บันทึก
28
20
7
28
20
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย