26 ก.ย. 2023 เวลา 12:00 • ธุรกิจ

ทำไมเราถึงต้องเสียเงินให้ IKEA 8 เบื้องหลังจิตวิทยา ที่อิเกียไม่เคยบอกคุณ

#ถ้าพูดถึงอิเกียคุณจะนึกถึงอะไร 🤔
อิเกีย (IKEA) บริษัทเฟอร์นิเจอร์ยักษ์ใหญ่จากสวีเดน ที่ถูกก่อตั้งโดย อิงวาร์ คัมพราด (Ingvar Kamprad) ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตในบ้านให้เปลี่ยนไปตลอดกาล
1
แต่รู้ไหมว่าในทุก ๆ การเปลี่ยนไปนั้น คือสิ่งที่อิเกียได้ ‘ดีไซน์ไว้ให้ลูกค้า’ เรียบร้อยแล้ว บางครั้งเราอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ ว่าต้องเสียเงินให้กับอิเกียครั้งแล้วครั้งเล่า มาดูกันดีกว่าว่าแบรนด์ระดับโลกอย่างอิเกีย ใช้จิตวิทยาแบบไหนกับเราบ้าง ?
1. The Gruen effect เขาวงกตแห่งอิเกีย
เป็นจิตวิทยาที่อิเกียเก่งมาก คือการจัดบรรยากาศร้านค้า ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกอิน ประทับใจที่ได้มาใช้บริการ และมีโอกาสเกิดการซื้อซ้ำ เพราะอิเกียได้ออกแบบผังร้านเป็นแบบ fixed path เป็นเขาวงกตที่จะบังคับเราให้เดินตามเส้นทางที่กำหนดไว้ ฟังดูไม่น่าดี ทำไมเธอต้องมากำหนดชะตาชีวิตฉัน…. แต่กลับกันเราสนุกจนลืมไปเลยว่าตอนนี้กี่โมงแล้ว ทำให้เราในฐานะลูกค้าอยากเดินต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของลูกค้าได้
1
โดยปกติแล้วบริษัทค้าปลีกมักจะให้ลูกค้ามีอิสระในการเลือกดูสินค้า และมักจะออกแบบร้านโดยมีเป้าหมาย 3 ประการ คือ
👉 Intelligibility: รู้ว่าสินค้าที่เราจะซื้ออยู่บริเวณไหน
👉 Accessibility: มีป้ายบอกทาง ง่ายต่อการนำทาง
👉 A clear visual field: เห็นสินค้า และพื้นที่อย่างชัดเจน
2
แต่ IKEA กลับฉีกกฎทุกอย่างที่กล่าวมา!!
1
ยกตัวอย่าง หากต้องการซื้อพรมเช็ดเท้า?
ร้านค้าส่วนใหญ่ก็จะวางไว้ในโซนขายพรม ซึ่งเราจะสามารถเดินไปบริเวณนั้นได้ทันทีโดยไม่ต้องแวะไปจุดอื่น แต่อิเกียกลับดีไซน์ให้เราเดินผ่านห้องเฟอร์นิเจอร์ก่อน เดินผ่านโคมไฟ เดินผ่านอุปกรณ์ห้องครัวมากมาย ซึ่งวิธีการนี้มีวิธีคิดที่น่าสนใจ
🎯 อิเกียต้องการให้ลูกค้าเห็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
อิเกียรู้ว่าลูกค้าส่วนใหญ่เวลามาซื้อสินค้ามักจะมีสินค้าในใจอยู่แล้ว ดังนั้นก่อนที่จะไปเจอสินค้าในใจของเรา อิเกียจึงได้วางสินค้าประเภทอื่น หรือสินค้าที่เกี่ยวข้องไว้เสมอ
2
🎯 เทคนิคนี้เพิ่มยอดขายให้กับอิเกีย
ยิ่งลูกค้าเห็นสินค้ามากขึ้น ก็จะยิ่งมีโอกาสขายสินค้าเหล่านั้นมากขึ้น
🎯 ยืดเวลาการซื้อสินค้า
ยิ่งมีสินค้าน่าสนใจมากเท่าไหร่ ก็จะช่วยให้ลูกค้ามีแนวโน้มใช้เวลานานมากขึ้น
1
🎯 เพื่อสร้างประสบการณ์ให้น่าจดจำ
การออกแบบประสบการณ์ใหม่ ๆ สำคัญมาก อิเกียดีไซน์เส้นทางเป็นเขาวงกตที่ไม่เหมือนใคร เป็นเขาวงกตที่ทำให้เราอยากกลับไปอีกครั้ง และมักจะเป็นที่จดจำ เกิดความประทับใจ เป็นประสบการณ์ช็อปปิงที่ไม่เหมือนใคร
1
2. Scarcity Effect ยิ่งมีน้อย ยิ่งอยากได้
การที่อิเกียออกแบบเส้นทางให้เดินได้แค่ทางเดียวตามที่กำหนดไว้ ไม่ได้ใช้เพียงแค่สร้างประสบการณ์ที่แตกต่างเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึง ‘ความเสียดาย’ เนื่องจากอิเกียมีพื้นที่มากกว่า 40,000 ตารางเมตร และมีเส้นทางเดินแบบเขาวงกต ดังนั้นลูกค้าจะมีโอกาสซื้อสินค้าที่สนใจทันที ด้วยเหตุผลที่ว่า สินค้านั้นอาจจะมีน้อย หรือเราก็ไม่อยากเหนื่อย หรือเสียเวลาเพื่อเดินวนกลับมาซื้ออีกครั้ง
1
3. Bulla Bulla การสร้างความรู้สึกเชิงบวก
เทคนิคนี้น่าสนใจตรงที่อิเกียใช้ควบคู่ไปกับ Scarcity Effect นอกเหนือจากทำให้เกิดการขาดแคลนหรือเสียดายที่ไม่ได้ซื้อแล้ว ยังเสริมเทคนิคการขาย ‘Bulla Bulla’ เพื่อสร้างความรู้สึกเชิงบวกถึงสินค้าที่มีราคาไม่แพง และมีให้เลือกมากมาย กระตุ้นให้ลูกค้าอยากหยิบจับ เราจะเห็นสิ่งนี้ได้จากตุ๊กตาตัวเล็ก ๆ ที่ IKEA ซุกซ่อนไว้ตามตะกร้ามากมาย เพราะการที่จะซื้อสินค้าชิ้นใหญ่อย่างเฟอร์นิเจอร์ คนส่วนใหญ่จะใช้เวลาตัดสินใจค่อนข้างนาน แต่กลับกันสินค้าชิ้นเล็กชิ้นน้อย และราคาก็ไม่แพง จะถูกซื้อได้ง่ายกว่า
4. Sunk Cost Fallacy ยิ่งอยู่ไกลยิ่งเสียดาย
ในมุมเศรษฐศาสตร์นั้น Sunk Cost หมายถึงต้นทุนจม หรือ มูลค่าที่เสียไปและไม่อาจเรียกกลับคืนมาได้ ซึ่งเทคนิคนี้ อิเกียใช้เพื่อทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงความกลัวที่จะขาดทุน เพราะมาอิเกียทั้งทีก็ต้องช็อปปิงแบบจัดเต็ม มาครั้งเดียวเอาให้คุ้ม
1
อิเกียไม่ได้ให้ความสำคัญแค่โปรดักต์ที่ดีเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับพื้นที่ หรือ Location ซึ่ง IKEA จะไม่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง แต่มักจะไปตั้งที่ห่างไกล อย่างในเมืองไทยก็อยู่แถวบางนา และบางใหญ่ ซึ่งมีระยะทางที่ไกล และลำบากในการเดินทาง แต่ทำไมวิธีการนี้ถึงได้ผลกับอิเกีย
โดยมีงานวิจัยจาก The IKEA Experience ของคุณ rebecka และคุณ mirela ไว้ว่า ลูกค้าส่วนใหญ่ต้องวางแผนก่อนมาอิเกียเสมอ เนื่องจากระยะทางที่ไกล ดังนั้นการจะมาทั้งทีต้องคุ้มค่าเวลา คุ้มค่าเงิน และคุ้มค่ากับของที่ได้ ดังนั้นลูกค้าส่วนใหญ่จึงใช้เวลาในการอยู่อิเกียค่อนข้างนาน เพราะมาทั้งทีแล้วก็ต้องคุ้มค่าที่สุดเพื่อไม่ให้เสียดายเวลาทั้งวัน แถมยังเป็นการให้ลูกค้าได้ใช้เวลาอยู่ในอีเกีย เพื่อโน้มน้าวซื้อของได้มากขึ้นเช่นกัน
5. The Diderot Effect ยิ่งรู้จักยิ่งซื้อใหม่เรื่อย ๆ
ปรากฏการณ์นี้เราเรียกว่า The Diderot Effect คือการทำให้ลูกค้าซื้อสินค้าใหม่เรื่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่อาจจะไม่จำเป็นด้วยซ้ำ โดยเทคนิคนี้เชื่อว่าหลายคนมักจะโดนกันแน่ ๆ หากเรามีเป้าหมายอยากไปซื้อเตียงนอนใหม่ ในพื้นที่ของอิเกียจะไม่ได้มีแค่เตียงนอน แต่ทำเป็นโซนห้องนอน ออกแบบให้เป็นห้องนอนจริง ๆ ทำให้เราได้เห็นภาพชัดมากขึ้น ว่าห้องนอน 1 ห้องครบประกอบด้วยอะไรบ้าง
1
แต่ยังไม่หมดแค่นั้น ในห้องนอนนี้ก็จะมีโต๊ะทำงาน, เก้าอี้, ของตกแต่งชิ้นเล็กชิ้นน้อยเต็มไปหมด ยิ่งเราเห็นสินค้ามากขึ้น ตรงนั้นก็ดูดี ตรงนี้ก็สวย เราก็จะเกิดความอยากซื้อมากขึ้น จากเป้าหมายที่จะมาซื้อแค่เตียงนอน แต่ตอนนี้กลับไปพร้อมสินค้าอื่นอีกมากมาย
1
6. Anchoring Effect ความประทับใจแรกพบ
เพราะข้อมูลแรกที่เราเห็นมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของเราในภายหลัง ซึ่งในพื้นที่อิเกียจะมีโซนที่ชื่อว่า ‘Open the Wallet’ ชื่อก็ตรงตัว นี่คือโซนละลายทรัพย์ที่แท้ทรู เราจะพบของดีราคาถูกมากมาย เช่น สลิปเปอร์, กระถางต้นไม้, ถาดน้ำแข็ง, ถังขยะพลาสติก หรือของใช้ครัวเรือนอื่น ๆ
2
ซึ่งพื้นที่นี้มีการกระตุ้นยอดขายได้ดีมาก อันเนื่องมาจาก สินค้าในพื้นที่นี้ถูกมาก ตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยากซื้อกระถางต้นไม้ A ราคา 200 บาท และวางกระถาง B ไว้ข้าง ๆ ราคา 400 บาท แน่นอนว่าลูกค้าส่วนใหญ่จะซื้อกระถาง A มากกว่า เพราะเห็นว่าไม่แพงนะ และเกิดการซื้อได้ง่ายกว่า เพราะฝังใจแล้วว่ากระถาง A ราคาดีต้องรีบซื้อ
มุมมองของอิเกียคือกระตุ้นให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้ามากขึ้น ยิ่งกระตุ้นให้ซื้อชิ้นเล็กได้ ก็จะมีแนวโน้มซื้อสินค้าชิ้นที่ใหญ่กว่าเดิมได้เช่นกัน
1
7. Endowment Effect จิตวิทยาของมันต้องมี
หรือ ความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของในจินตนาการ เพราะอิเกียเป็นแบรนด์ที่ดีไซน์จากความต้องการลูกค้า แบรนด์ได้วาดฝันผ่านภาพโปรโมทมากมาย ให้ลูกค้ารู้สึกอยากได้ อยากเป็นเจ้าของสินค้าเหล่านั้นในจินตนาการ หรือลูกค้ารู้สึกผูกพันทางอารมณ์ร่วมกับสินค้านั้น
ความรู้สึกของการอยากได้อะไรสักอย่างเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ ยิ่งลูกค้ามีการแพลนไว้ว่าจะมาอิเกียแล้วอยากได้ของชิ้นนั้นจริง ๆ โอกาสในการซื้อสินค้าของลูกค้าก็เพิ่มขึ้น
8. Priming Effect หรือ ‘Meatball effect’
เทคนิคนี้คือการที่ลูกค้ารับรู้ หรือมีความรู้สึกนึกคิดต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตัวอย่างเช่น
👉 หากนึกถึง KFC เราจะนึกถึงไก่ทอด
👉 หากนึกถึง Starbucks เราจะนึกถึงกาแฟ
👉 หากนึกถึง Creative talk เราจะนึกถึงพี่เก่ง
👉 และเมื่อนึกถึงอิเกีย เราจะนึกถึงมีตบอล หรือ เฟอร์นิเจอร์
1
IKEA ขายลูกชิ้นมากกว่า 1 ล้านลูกทั่วโลก จากการสำรวจของบริษัทพบว่า 30% ของลูกค้าที่มาอิเกียเน้นมากินมีตบอลเท่านั้น ซึ่งนั่นก็เป็นกลยุทธ์ของอิเกีย เพราะอาหารไม่ได้แค่ส่งผลต่อความสุขลูกค้า และกำไรของบริษัทเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของลูกค้าเช่นกัน ยิ่งลูกค้ามีความสุข ก็มีโอกาสแวะมาซื้อสินค้าของอิเกียเช่นกัน
แปล เรียบเรียง: กิตติภพ ปานล้ำเลิศ ​
โฆษณา