Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
27 ก.ย. 2023 เวลา 02:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รัฐกำลังแบก ค่าน้ำมัน ค่าไฟฟ้า ถ้าแบกไม่ไหว คนไทยก็ต้องจ่ายแพงขึ้น
เมื่อไม่นานมานี้ เราคงเห็นข่าวว่า จะมีการลดค่าน้ำมันและค่าไฟฟ้าลง เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของคนไทยทั่วประเทศ
แต่รู้ไหมว่า นโยบายการลดค่าน้ำมันและค่าไฟฟ้า อาจแก้ปัญหาได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น
เพราะการลดราคาทั้งค่าน้ำมันและค่าไฟฟ้า ไม่สามารถทำได้นาน เพราะเมื่อมีผู้ได้ประโยชน์จากการใช้ค่าไฟฟ้าถูกลง ก็จะมีคนที่คอยมาแบกค่าใช้จ่ายก้อนนี้เอาไว้อยู่
แล้วใครเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจก่อนว่า โครงสร้างราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้าของไทย ในปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง
เริ่มกันที่ราคาน้ำมัน ซึ่งราคาน้ำมันคิดมาจาก 4 ต้นทุนหลัก ได้แก่
- ราคาหน้าโรงกลั่น
- ภาษี เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- กองทุน เช่น กองทุนน้ำมัน กองทุนอนุรักษ์พลังงาน
- ค่าการตลาดของผู้ค้าน้ำมัน
โดยราคาหน้าโรงกลั่น จะเป็นต้นทุนเดียวที่ไม่สามารถควบคุมได้ เพราะต้องอ้างอิงกับราคาหน้าโรงกลั่นน้ำมันที่ประเทศสิงคโปร์
3
แตกต่างจากต้นทุนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษี กองทุน หรือค่าการตลาดของผู้ค้าน้ำมัน ที่สามารถควบคุมได้ด้วยนโยบายของภาครัฐ
ทีนี้ เราลองมาดูโครงสร้างราคาน้ำมัน 1 ลิตร
ณ วันที่ 19 กันยายน 2566 กัน
2
ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ขายปลีก 40.18 บาท
- ราคาหน้าโรงกลั่น 25.2938 บาท
- ภาษีสรรพสามิต 5.8500 บาท
- ค่าการตลาดของผู้ค้า 2.9726 บาท
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม 2.4205 บาท
- กองทุนน้ำมัน 2.8000 บาท
- อื่น ๆ 0.8431 บาท
2
ราคาน้ำมันดีเซล B7 ขายปลีก 31.94 บาท
- ราคาหน้าโรงกลั่น 29.0679 บาท
- ภาษีสรรพสามิต 5.9900 บาท
- ค่าการตลาดของผู้ค้า 3.1236 บาท
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1.8709 บาท
- กองทุนน้ำมัน -8.9800 บาท
- อื่น ๆ 0.8676 บาท
จะเห็นได้ว่า รัฐมีการควบคุมราคาขายปลีกน้ำมัน ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า “กองทุนน้ำมัน”
1
ซึ่งกองทุนน้ำมัน จะมีรายรับหลัก ๆ จากภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร รวมไปถึงส่วนของผู้ค้าน้ำมัน และผู้รับสัมปทานที่ทำธุรกิจก๊าซ
ส่วนรายจ่ายจะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อราคาน้ำมันในประเทศแพงเกินไป ก็จะนำเงินจากกองทุนน้ำมัน ออกมาชดเชยนั่นเอง
1
ย้อนกลับไปดูโครงสร้างราคาน้ำมัน จะเห็นว่า ตัวเลขกองทุนน้ำมันของน้ำมันดีเซลติดลบ ซึ่งหมายความว่า รัฐนำเงินจากกองทุนน้ำมัน มาตรึงราคาน้ำมันดีเซล
แต่ในทางกลับกัน ตัวเลขกองทุนน้ำมันของน้ำมันแก๊สโซฮอล์เป็นบวก ก็หมายความว่า รัฐไม่ได้นำเงินมาตรึงราคา แต่เก็บเข้ากองทุนน้ำมันตามเดิม
สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ สถานะของกองทุนน้ำมันในช่วงที่ผ่านมา โดยจะพบว่า
- 1 มกราคม 2566 ติดลบ 121,500 ล้านบาท
- 25 มิถุนายน 2566 ติดลบ 57,900 ล้านบาท
- 3 กันยายน 2566 ติดลบ 57,100 ล้านบาท
การติดลบที่ว่านี้ หมายความว่า กองทุนน้ำมันมีหนี้สินรวมมากกว่าสินทรัพย์รวม ทำให้กองทุนไม่มีสภาพคล่องที่จะไปใช้ตรึงราคาน้ำมันได้มากนัก
ซึ่งในที่สุด กองทุนน้ำมันที่ติดลบก็จำเป็นต้องหาเงินเข้ามาชดเชย เช่น การหักเงินเข้ากองทุนน้ำมันตามเดิม ในช่วงที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลง
แต่หากราคาน้ำมันในตลาดโลกไม่ลดลง ก็อาจทำให้กองทุนน้ำมันยังติดลบอยู่อย่างนี้
หรืออีกแนวทางคือ กู้เงินเข้ามาเสริมสภาพคล่อง เพื่อให้กองทุนยังอุดหนุนราคาน้ำมันต่อไปได้
แต่การกู้เงินก็ทำได้จำกัด และมาพร้อมกับภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายคืนให้เจ้าหนี้
ซึ่งต้นปี 2566 กองทุนมีหนี้จากการกู้ยืม 30,000 ล้านบาท แต่ปัจจุบัน หนี้ส่วนนี้เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 50,000 ล้านบาท เข้าไปแล้ว
1
ต่อจากน้ำมัน ก็คือเรื่องของค่าไฟฟ้า โดยคิดจาก 4 ต้นทุนสำคัญ ได้แก่ ค่าไฟฟ้าฐาน ค่าไฟฟ้าผันแปร ภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าบริการ
โดยต้นทุนที่สามารถควบคุมได้บ้าง คือ ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือค่า Ft เพื่อปรับเพิ่มหรือลด ตามต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่เกิดในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งจะมีการปรับทุก ๆ 4 เดือน
1
ซึ่งค่า Ft เกิดจากต้นทุนค่าเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ค่ารับซื้อไฟฟ้าจากเอกชน และต้นทุนนโยบายภาครัฐ เพื่อสนับสนุนโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ที่ใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานหมุนเวียน
1
อย่างไรก็ตาม แม้ที่ผ่านมาต้นทุนค่าเชื้อเพลิงจะสูงขึ้น แต่หากผลักภาระไปให้ประชาชนทั้งหมดเลย ก็อาจทำให้ราคาค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นสูงมาก
ดังนั้น คนที่แบกรับค่า Ft แทน จึงกลายเป็น “การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย” หรือ กฟผ. โดยล่าสุดคิดเป็นจำนวนเงินมากถึง 111,869 ล้านบาท เลยทีเดียว
โดยหาก กฟผ. ไม่แบกรับต้นทุนเอาไว้ ค่า Ft ที่จะเรียกเก็บจากเรา จะอยู่ที่ 249.81 สตางค์ต่อหน่วย และจะทำให้ค่าไฟฟ้า สูงถึง 6.72 บาทต่อหน่วย
ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว เงินที่ กฟผ. แบกอยู่นี้ ก็จำเป็นต้องทยอยจัดการอยู่ดี ไม่ว่าจะเป็นการปรับขึ้นค่า Ft หรือต้องหาเงินมาช่วยอุดหนุน กฟผ. ในส่วนนี้แทน
1
สรุปแล้ว การที่เราจะตรึงราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้า แม้เราจะทำได้ แต่ก็คงทำได้ไม่นานนัก เพราะผู้อยู่เบื้องหลังที่ได้รับผลกระทบ ก็คือ กองทุนน้ำมัน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
หากมองตามคอนเซปต์ของการช่วยพยุงราคา ก็มีเพื่อผ่อนเบาความเดือดร้อนของผู้ผลิต และผู้บริโภคในประเทศ ให้ผ่านพ้นช่วงที่ทั้งราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้าแพงไปให้ได้
แต่ตอนนี้โจทย์ที่ต้องแก้ให้ได้คือ หากต้นทุนค่าไฟฟ้า และน้ำมันไม่ลดลง เราจะทำอย่างไรต่อไป
หาเงินมาเพิ่มเพื่อช่วยพยุงราคาให้ต่ำไปเรื่อย ๆ หรือจะยอมเจ็บแต่จบ ปล่อยให้ราคาขายสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงมากขึ้น
ซึ่งจะช่วยลดภาระหนี้ของกองทุนน้ำมัน และ กฟผ. รวมถึงภาษีและเงินอุดหนุนที่เราต้องจ่ายทางอ้อม และทำให้คนไทยได้รับรู้กับความเป็นจริง ซึ่งก็คือ ค่าน้ำมัน และค่าไฟฟ้า จะต้องแพงกว่านี้..
References
-
https://www.egat.co.th/ft/ft_sep66-dec66
-
https://www.egat.co.th/ft/ft_sep66-dec66/ft-reason_sep66-dec66
-
https://www.egat.co.th/ft/index_3
-
https://www.longtunman.com/45095
-
https://www.prachachat.net/economy/news
-
https://www.eppo.go.th/index.php/th/petroleum/price/structure-oil-price
-
https://www.offo.or.th/th/estimate/fuelfund-
-
https://www.offo.or.th/sites/default/files/estimate
-
https://www.offo.or.th/th/estimate/fuelfund-status/31/22
1
เศรษฐกิจ
22 บันทึก
51
6
26
22
51
6
26
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย