27 ก.ย. 2023 เวลา 11:00 • การตลาด

GrabAds กับแผนการ “แจ้งเกิด” ในตลาดโฆษณาออนไลน์

Grab X ลงทุนแมน
จุดเริ่มต้นจากปัญหาการเรียกแท็กซี่ ที่แสนยากลำบากในมาเลเซีย
ทำให้คุณ Anthony Tan และคุณ Tan Hooi Ling สร้าง Application ที่ชื่อว่า Grab ในปี 2012
แม้ช่วงเริ่มต้น Grab ที่มีโมเดลธุรกิจสตาร์ตอัป จะยอมขาดทุน
เพื่อสร้างฐานลูกค้าใน App ตัวเอง พร้อมกับขยายธุรกิจด้วยโมเดล Super App ที่มีบริการหลากหลาย เข้าไปอยู่ในทุกจังหวะชีวิตของผู้คน
หากเราหิว ก็สั่ง GrabFood
อยากเดินทาง ก็เรียก GrabCar
อยากซื้อของสด ก็ใช้ GrabMart
พฤติกรรมเหล่านี้ ทำให้ Grab กลายเป็น Generic Name หรือคำแทนที่ในการขนส่งต่าง ๆ
เป็นการเติบโตทางธุรกิจ ที่มาพร้อมกับตัวเลขขาดทุนที่ลดลงเรื่อย ๆ จนในที่สุด ธุรกิจก็มีกำไร
แล้วหลังจากนั้น Grab สร้างอะไรใหม่ ๆ ที่น่าสนใจอีกบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
รู้หรือไม่ว่า ที่มาของ “กำไร” ก็คือ “ผู้คน”
โดย Grab มีจำนวนผู้ใช้จ่ายผ่าน 8 ประเทศ รวม 34.9 ล้านคนต่อเดือน
โดยหนึ่งประเทศที่มีผู้ใช้จ่ายเป็นอันดับต้น ๆ คือ ประเทศไทย นั่นเอง
ด้วยจำนวนผู้ใช้งานต่อเดือนมหาศาล
ทำให้ Grab ต่อยอดธุรกิจมายังสื่อโฆษณา เป็นการแตกไลน์ธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ใหม่ ๆ
โดยเริ่มต้นจากกลุ่ม “ร้านอาหารและเครื่องดื่ม”
จากนั้นต่อยอดมายัง GrabAds เน้นไปยังกลุ่มธุรกิจ FMCG - รถยนต์ - การเงิน
นอกจากการมี User ใช้งานมหาศาล
สงสัยไหมว่า GrabAds มีโซลูชันอะไรที่มาตอบโจทย์เทรนด์โฆษณาในโลกดิจิทัล..
เมื่อรายได้จากโฆษณาของ Grab กำลังโตระเบิด
และถูกประเมินว่า Grab น่าจะมีรายได้จากโฆษณาราว ๆ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
โดยกลุ่มแบรนด์ร้านอาหาร และเครื่องดื่ม มีสัดส่วนมากกว่าลูกค้ากลุ่มอื่น ๆ
เวลาเดียวกันนั้น เทรนด์โฆษณาทั่วโลกกำลังเปลี่ยนเกม..
เมื่อสื่อโฆษณาบนแพลตฟอร์มค้าปลีกต่าง ๆ โตแบบติดจรวด
โดยคาดว่าจะมีมูลค่ารวมกันทั่วโลก สูงถึง 125.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
และในปี 2028 เม็ดเงินโฆษณา อาจจะแซงหน้าสื่อ TV
พอทุกอย่างเป็นใจขนาดนี้
หากเราเป็นเจ้าของ Grab ก็ต้องมองว่านี่คือ “โอกาส”
ที่จะขยายธุรกิจโฆษณาที่ไม่จำกัดแค่ลูกค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ต้องอยู่ในสถานะ Mass
โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจ FMCG - รถยนต์ - การเงิน
ที่ในภาพรวมหลาย ๆ ประเทศ เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาติดอันดับต้น ๆ
รวมถึงในประเทศไทยด้วย
ข้อมูลจาก Nielsen ระบุว่า ในปี 2022 ที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาติด 1 ใน 10 อันดับแรก
มีทั้ง Unilever, P&G ที่เป็นธุรกิจ FMCG และกลุ่มรถยนต์ TOYOTA และ ISUZU
และหากเทียบภาพรวมแยกเป็นอุตสาหกรรมต่าง ๆ
จะพบว่า กลุ่มสถาบันการเงิน ใช้งบโฆษณาเป็นอันดับ 7
ทีนี้ Grab ในประเทศไทย มีเป้าหมายเดียวกับบริษัทแม่
คือ เร่งขยายฐานลูกค้าโฆษณาไปยังธุรกิจ FMCG - รถยนต์ - การเงิน
ที่เป็น เค้กก้อนใหญ่ ในอุตสาหกรรมโฆษณาเมืองไทย
แล้ว Grab มีไม้ตายอะไร ที่จะชนะใจลูกค้ากลุ่มนี้ มาลงโฆษณากับตัวเอง ?
แน่นอนว่า เรื่องจำนวนผู้ใช้บริการต่อวัน ไม่ใช่ปัญหา
เพราะ ณ วันนี้ ใคร ๆ ก็รู้ว่า Grab คือเบอร์หนึ่งในตลาด Super App เมืองไทย
มีการใช้งานต่อวันหลายแสนครั้ง
โจทย์เลยมาอยู่ที่ว่า Grab จะเลือกใช้จุดแข็งอะไรมาเสริมความแข็งแกร่งตรงนี้
เพื่อให้ทุก ๆ การโฆษณาของแบรนด์สินค้าเข้าถึงผู้คนได้อย่าง Impact
ไม่ว่าจะเป็นการสร้างการจดจำ, ความรู้สึกที่ดีต่อแบรนด์ จนถึงสร้างยอดขายในทันที
คำตอบนี้ แบ่งเป็น 3 จุดแข็งหลัก ๆ คือ
1. ข้อมูลพฤติกรรมการใช้จ่ายจริงของ User
คือ ความได้เปรียบ ในการเข้าถึงเป้าหมายได้ตรงจุด
Grab มีข้อมูลพฤติกรรมการใช้จ่ายจริงของ User ที่ใช้บริการต่าง ๆ ใน App
ครอบคลุมหลายมิติในการใช้ชีวิตประจำวัน
แน่นอนว่า แบรนด์ต่าง ๆ สามารถเลือกกลุ่มเป้าหมาย
จากข้อมูลพฤติกรรมการใช้จ่ายจริง ไม่ใช่แค่ความสนใจ
พอลงโฆษณา ก็สามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ
จึงแตกต่างจากสื่อโฆษณาดิจิทัลอื่น ๆ ที่ระบุกลุ่มเป้าหมาย ผ่านความสนใจของผู้บริโภค
แต่ไม่ใช่ข้อมูลพฤติกรรมที่แท้จริงเหมือน Grab ผลที่ตามมาคือ ความคลาดเคลื่อน นั่นเอง
2. ลักษณะพิเศษของ User ที่สื่อดิจิทัลอื่น ๆ ไม่มี
 
ฐานลูกค้าหลักของ Grab ที่ใช้งานประจำคือ กลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง
ที่ยอมจ่ายเงินซื้อความสะดวกสบาย และเวลาที่คนกลุ่มนี้ใช้บริการใน App ก็ยังมองไปที่สินค้าอื่น ๆ
1
พอเป็นแบบนี้ เลยทำให้อัตราการคลิกดูโฆษณาใน Grab สูงกว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ
ในเมืองไทย 3-5 เท่าเลยทีเดียว
ส่วนข้อมูลที่น่าสนใจกว่านั้นคือ เมื่อ User เปิด App Grab กว่า 60% มีการใช้จ่ายจริง
เพื่อซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ แตกต่างจากสื่อโฆษณาดิจิทัลอื่น ๆ
ที่ User อาจแค่เปิดดู แต่ไม่ได้ซื้อสินค้าก็ได้
3. เชื่อมโลกออนไลน์และออฟไลน์ แบบไร้รอยต่อ
ยุคนี้ เรามีโลกอยู่ 2 ใบ คือ ออนไลน์ กับ ชีวิตจริง
โดยโลกทั้ง 2 ใบนี้ ได้ผสมผสานกันอย่างไร้รอยต่อ
ทำให้การวางแผนโฆษณาในยุคนี้ ก็ต้องสื่อสารไปทั้ง 2 รูปแบบ และเชื่อมต่อกัน
GrabAds มีโซลูชันโฆษณาครบวงจร ตั้งแต่ การสร้างแบรนด์จนถึงปิดการขาย
ผ่านความหลากหลายทั้งใน App และออฟไลน์ เข้าด้วยกัน
เช่น หากลูกค้าเปิด App ก็จะเจอ Banner โฆษณาสินค้าที่กำลังสนใจอยู่
และเมื่อกดโฆษณาดู ก็สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ทันที
ส่วนโฆษณาบนโลกออฟไลน์ ก็เช่น สื่อโฆษณาบนรถโดยสารที่เราเรียกใช้บริการ กระเป๋าส่งของไรเดอร์ รวมไปถึงการแจกสินค้าทดลองผ่านไรเดอร์
ทำให้แบรนด์สามารถวางแผนการใช้สื่อโฆษณาได้หลากหลาย
เพื่อไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทรงพลัง และคุ้มค่ากับเม็ดเงินโฆษณา
จะเห็นว่า ทุก ๆ จุดแข็งของ GrabAds สร้างข้อเสนอที่เย้ายวนใจให้แก่แบรนด์สินค้าต่าง ๆ
เพื่อมาใช้บริการโฆษณาของตัวเอง
ส่วน GrabAds เองก็รู้ดีว่า โลกโฆษณาดิจิทัล วันนี้คือ Red Ocean แบรนด์มีทางเลือกมากมายในการโฆษณา
ดังนั้น ถ้า GrabAds ต้องการ “แจ้งเกิด” ในอุตสาหกรรมนี้อย่างเต็มตัว
ทางเดียวก็คือ การทำให้แบรนด์สินค้าและเอเจนซี รู้สึกว่า..
เงินทุกบาท ที่โฆษณาผ่าน GrabAds
จะสร้างความคุ้มค่า จนยากที่จะปฏิเสธ นั่นเอง
โฆษณา