27 ก.ย. 2023 เวลา 12:00 • ธุรกิจ

กรณีศึกษา NITMX บริษัททำ ระบบพร้อมเพย์ ที่คนใช้ทั้งประเทศ

รู้ไหมว่าระบบพร้อมเพย์ที่เราใช้ ๆ กัน มีบริษัทที่พัฒนาและดูแลระบบนี้โดยเฉพาะ
โดยบริษัทที่ว่านี้ชื่อว่า บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด หรือ NITMX
1
ปีที่แล้ว NITMX มีรายได้ 2,885 ล้านบาท กำไร 1,609 ล้านบาท
ซึ่งเจ้าของบริษัทนี้ ก็คือบรรดาธนาคารพาณิชย์ในไทย
3
โมเดลของบริษัทนี้ เป็นอย่างไร ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
5
บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด หรือ NITMX เป็นผู้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับระบบการชำระเงินให้กับธนาคารต่าง ๆ
1
เช่น
- ระบบพร้อมเพย์ (PromptPay)
- ระบบการชำระเงินผ่าน QR Code
- ระบบโอนเงินระหว่างประเทศ Cross-Border Remittance
1
พูดง่าย ๆ ก็คือ NITMX คือผู้ดูแลระบบหลังบ้านในเรื่องระบบพร้อมเพย์, ระบบจ่ายเงินผ่าน QR Code ที่คนไทยใช้กันทุกวัน
1
แล้วบริษัท NITMX มีจุดเริ่มต้นเมื่อไร ?
แต่เดิมบริษัท NITMX ก็เคยเป็นผู้พัฒนาระบบการถอน และโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็มข้ามธนาคาร
ซึ่งก่อนหน้านี้ ใช้ชื่อบริษัทว่า บริษัท เอทีเอ็ม พูล จำกัด
1
โดยบริษัท เอทีเอ็ม พูล จำกัด ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2536 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย
1
ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย ได้พยายามผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ รวมตัวกันจัดตั้งเป็นบริษัทชื่อ ATM Pool ขึ้นมา
เพื่อทลายข้อจำกัดในการกดถอนเงินจากตู้ ATM
ที่จากเดิม เราสามารถทำได้เพียงแค่ กดเงินจากตู้ ATM ของธนาคารเดียวกันเท่านั้น
1
จนกระทั่งบริษัท ATM Pool สามารถพัฒนาระบบการถอนและโอนเงิน ผ่านตู้ ATM ข้ามธนาคารได้สำเร็จ
ทำให้เราสามารถใช้บัตร ATM เพียง 1 ใบ ในการถอนและโอนเงินจากตู้ ATM ได้ทุกธนาคาร
ต่อมาในปี 2548 บริษัท ATM Pool ก็ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด
เพื่อเริ่มพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน การชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์
3
ซึ่งโปรเจกต์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการชำระเงิน NITMX ก็ได้เป็นผู้ริเริ่มพัฒนา เช่น
- ระบบ Single Payment ซึ่งเป็นระบบโอนเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ทีละรายการ
ซึ่งต่อมาระบบ Single Payment ก็เป็นต้นแบบของระบบพร้อมเพย์ในปัจจุบัน
2
- ระบบ Bulk Payment เป็นบริการโอนเงินเข้าบัญชีรายย่อยอัตโนมัติ ครั้งละหลายรายการ
ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
ในเวลาต่อมา ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกแบบระบบชิปการ์ดมาตรฐาน สำหรับบัตรเดบิต
1
- จึงทำให้บริษัท NITMX ได้ออกแบบระบบ Prompt Card เพื่อรองรับชิปการ์ดแบบมาตรฐานบนบัตรเดบิต
เพื่อให้บัตรเดบิต สามารถใช้งานกับเครื่องรูดบัตรได้ทั่วประเทศ
1
ต่อมาในปี 2559 บริษัท NITMX ได้เริ่มคิดค้นระบบพร้อมเพย์ขึ้นมา
แล้วเริ่มเปิดให้บริการกับประชาชนในปี 2560
เมื่อพร้อมเพย์ เริ่มเป็นที่นิยมใช้งานสำหรับคนทั่วไป
ทำให้ต่อมาปี 2561 บริษัท NITMX ก็ได้ต่อยอดระบบชำระเงิน ระหว่างบุคคลกับนิติบุคคลได้อีก
ปี 2562 บริษัท NITMX ได้คิดค้นระบบพร้อมเพย์ รูปแบบใหม่ หรือ MyPromptQR กับร้านค้าต่าง ๆ
ทำให้ตั้งแต่ตอนนั้น เวลาไปรับประทานอาหาร หรือช็อปปิงที่ไหน ก็สามารถสแกน QR Code เพื่อจ่ายเงินได้ทันที
ซึ่งต้องบอกว่า สำหรับกลไกการโอนเงิน ผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร
บริษัท NITMX จะทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการบันทึกข้อมูลการโอนเงิน ระหว่างยอดเงินเข้า และยอดเงินออกของทั้ง 2 ธนาคาร
3
แต่ถ้าหาก โอนเงินภายในธนาคารเดียวกัน ก็สามารถบันทึกข้อมูล ผ่านระบบของธนาคารนั้นได้เลย
1
นอกจากระบบพร้อมเพย์แล้ว
บริษัท NITMX ยังเป็นตัวกลางในการให้บริการอื่น ๆ อีก
อย่างเช่น
- บริการระบบ Cross-Border Remittance
ซึ่งเป็นการโอนเงินระหว่างประเทศแบบ Real-Time ผ่านช่องทาง Mobile Banking
- บริการระบบ Digital Supply Chain Finance
เป็นบริการที่ช่วยให้ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนง่ายขึ้น ผ่านระบบ PromptBiz
โดยบริษัทเปิดเผยข้อมูลว่า ในปี 2565 มียอดธุรกรรมโอนเงินและชำระเงิน ผ่านบริการพร้อมเพย์ รวมทั้งหมด 13,705 ล้านรายการ เลยทีเดียว
สำหรับกรณีที่โอนเงินข้ามธนาคาร ข้อมูลการโอนเงินดังกล่าว
จะต้องไปผ่านระบบตัวกลางของบริษัท NITMX ก่อนที่ยอดเงินจะไปเข้าบัญชีอีกบัญชีหนึ่ง
2
นั่นทำให้ธนาคารทุกแห่ง จำเป็นต้องใช้ระบบโครงสร้างพื้นฐานของบริษัท
เพื่ออำนวยความสะดวก ให้กับลูกค้าของตัวเอง
ดังนั้นถ้าถามว่าลูกค้าของ NITMX นั้นเป็นใคร ?
คำตอบก็คือ ธนาคารต่าง ๆ ในประเทศไทย นั่นเอง
2
ปัจจุบัน บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด หรือ NITMX มีลูกค้าเป็นกลุ่มธนาคารพาณิชย์กว่า 19 แห่ง
ซึ่งธนาคารทั้ง 19 แห่งนี้ เป็นธนาคารสมาชิก ที่ต้องใช้บริการระบบของบริษัท NITMX
โดยรายได้หลัก ๆ ของ NITMX ก็คือค่าธรรมเนียมตามสัญญาที่ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ได้ทำไว้กับ NITMX สำหรับใช้บริการ อย่างเช่น พร้อมเพย์
1
ถ้าเราไปดูรายได้และกำไรของ บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด ในแต่ละปี
ปี 2564 มีรายได้ 2,107 ล้านบาท กำไร 1,080 ล้านบาท
ปี 2565 มีรายได้ 2,885 ล้านบาท กำไร 1,609 ล้านบาท
แต่รู้หรือไม่ว่า กำไรของบริษัทนั้น ก็ไม่ได้หายไปไหน
นอกจากจะเก็บไว้ไปลงทุนเพื่อต่อยอด และพัฒนาเทคโนโลยี ที่เกี่ยวกับระบบการชำระเงินต่อ
2
หรือเอาไปจ่ายปันผล ให้กับบริษัทผู้ถือหุ้น
ซึ่งผู้ถือหุ้นนั้น ก็ไม่ใช่ใครที่ไหนอีก นอกจาก ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย
โดยผู้ถือหุ้นของบริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด ก็ได้แก่
1. ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ถือหุ้น 26.73%
2. ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ถือหุ้น 22.85%
3. ธนาคารกรุงไทย (KTB) ถือหุ้น 19.97%
4. ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ถือหุ้น 12.55%
5. ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB) ถือหุ้น 11.26%
6. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ถือหุ้น 5.86%
7. ธนาคารยูโอบี (UOB) ถือหุ้น 0.44%
8. ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) ถือหุ้น 0.35%
3
และกรรมการของบริษัท NITMX ก็คือบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิจากธนาคารต่าง ๆ
3
โดยมีประธานกรรมการของบริษัท คือ คุณผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย
1
โฆษณา